Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3679
Title: THINGS AND TRACES IN MEMORY
วัตถุและร่องรอยในความทรงจำ
Authors: Patipon SUPANPONG
ปฏิพล สุพรรณพงศ์
PHATYOS BUDDHACHAROEN
พัดยศ พุทธเจริญ
Silpakorn University. Painting Sculpture and Graphic Arts
Keywords: วัตถุและร่องรอยในความทรงจำ
Thing and Traces in Memory
Issue Date:  1
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This thesis “Things and Traces in Memory” is based on the concept of creating artwork with a balanced aesthetic harmony that concerns memories of an emotionally disturbing experience that affects the state of mind. The sea and sand that normally brings joy and happiness to families and friends on their holidays had, during the Tsunami incident, suddenly turned into a nightmare as a result of the natural disaster that took away numerous lives of loved ones and brought pains and sorrows while destroying houses, possessions and communities, leaving everything devastated and scattered in all directions. I was amongst those affected by the disaster and lost loved ones, flushed away by giant waves, never to return. The aftermath left deep scarred traces of ruins, debris, cars and ship wreckages that were swept far inland. Fifteen years have passed since then, but the memory still remains and the place is still a reminder that slowly brings back the disturbing images as if it was only not long ago. Such images are deeply rooted like a memorial monument, and are a constant reminder of the tragic event which time alone is incapable of healing the wounds of all those who were affected. But due to the law of impermanence, instability, and nothingness, everything must disintegrate. So we must “let go” in order to be at peace. If we accept the fact that what happened was a natural phenomenon according to the law of nature and do not allow our minds to become attached to the past, we can then overcome our sorrows and everything shall be better. This means “accept it, face it, and live with it” mindfully. I have taken this as the inspiration for creating my work and express my emotional feelings in the style of surrealism to help heal my wounds in the process. Remains of boats and wreckages from the event that float around in my memory represent the shattered state of mind while woodcut and relief printing process was used to tell the story of the incident. Symbolically, the memorial is like a monument created as a reminder that all phenomena are a fact of nature and that we can live with suffering as if we have been awakened by joy. It is intended that this notion be shared with other fellow beings in the society or those who are in distress and despair so that they may be encouraged to continue in life with mindfulness.
วิทยานิพนธ์หัวข้อ “วัตถุและร่องรอยในความทรงจำ” เป็นการสร้างเอกภาพทางสุนทรียภาพแห่งรอยประทับความทรงจำจากประสบการณ์ตรงอันนำมาซึ่งความสะเทือนทางอารมณ์และจิตใจกอปรกับทั้งมีนัยเป็นภาษาของอารมณ์ความรู้สึกหรือเป็นภาษาทางจิตใจด้วยนั่นเอง กล่าวในอีกบริบทหนึ่งได้ว่า ธรรมชาติแห่งท้องทะเลที่เคยสร้างความประทับใจให้กับผู้มาเยือนเป็นจุดเริ่มต้นของกิจกรรมความสัมพันธ์ความสุขระหว่างครอบครัวและเพื่อนสนิทมิตรสหาย แต่ทว่าในห้วงขณะหนึ่งได้กลับกลาย “สภาพ” เป็นสถานที่ที่ตราตรึงภาพสะเทือนใจแห่งความทรงจำอันเจ็บปวดโหดร้าย ความตายและการพลัดพรากมีสาเหตุมาจากหายนะภัยพิบัติทางธรรมชาติซึ่งได้ลบล้างภาพแห่งความงดงามที่ประทับใจให้แปรเปลี่ยนด้วยผืนน้ำที่ก่อเกิดเป็นมวลรูปของกำแพง“สึนามิ” (tsunami) และรุกคืบถาโถมคร่าชีวิตให้มีอันต้องพลัดพรากจากกันไป ข้าพเจ้าก็เป็นบุคคลหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติคลื่นยักษ์ในครั้งนี้รวมทั้งครอบครัวและบุคคลอันเป็นที่รักที่ต้องประสบเหตุแห่งความทุกข์และนำมาสู่การจากกันไปอย่างไม่หวนคืน จากวันนั้นจวบจนถึงปัจจุบัน 15 ปีล่วงเลยมาแล้ว หากทว่าร่องรอยความหายนะที่ยังคงตราตรึงประทับอยู่ทั้งในความคิดและจิตใจเรื่อยมา ประกอบกับกายภาพพื้นที่และสภาพของวัตถุสิ่งของในบริบทพื้นที่แห่งนั้นยังคงกระตุ้นเร้าความรู้สึกและเผยให้เห็นเค้าลางของความทรงจำที่ค่อย ๆ ปรากฏเป็นรูปลักษณ์จากส่วนลึกในจิตสำนึกแห่งความทรงจำ ซากนวัตวิถี “เรือ” ที่หลงเหลือเพียงโครงร่างกระดูกงูกับเศษไม้ที่ไม่สมประกอบซึ่งมีอยู่อย่างดาษดื่นทั่วไปเป็นเสมือนอนุสรณ์สถานแห่งการรำลึกถึงช่วงเวลาอันเศร้าสลด กาลเวลาก็ไม่สามารถเยียวยาจิตใจข้าพเจ้ารวมถึงผู้คนรอบข้างที่ร่วมในประสบการณ์เดียวกันนี้ได้ ทว่าหากเมื่อสำรวจพิจารณาด้วยสติปัญญาย่อมเข้าใจหลักความจริงที่ว่าทุกสิ่งบนโลกใบนี้ล้วนแต่เคลื่อนไปตามกฎแห่งอนิจจัง “ทุกสรรพสิ่งไม่เที่ยง (อนิจจัง) ต้องเปลี่ยนแปลง (ทุกขัง) และไม่มีตัวตน (อนัตตา)” หรือทุกอย่างบนโลกนี้ย่อมเคลื่อนไปสู่การสลายรูปทั้งสิ้น ... ไม่ยึด (ติด) ไม่ทุกข์ ไม่สุข ละได้ย่อมสงบหากเราตระหนักรู้ในสิ่งที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นความจริงและเป็นกฎแห่งธรรมชาติรวมถึงไม่ยึดโยงเหนี่ยวรั้งจนปล่อยให้อารมณ์ของจิตจดจ่อถลำลงไปเกี่ยวกระหวัดกับเรื่องราวความทุกข์ในอดีตของชีวิต คือต้องรู้จักหักห้ามและปล่อยวางหรือขัดเกลาสิ่งที่ไร้คุณค่าปราศจากสาระออกไปอันเป็นวิถีทางที่สามารถจะทำให้ทุกอย่างดีขึ้นได้ ประเด็นสาระโดยนัยนี้ย่อมคือ “การยอมรับและเตรียมพร้อมต่อการตั้งรับหรืออยู่ร่วมกับความจริงนั้นให้ได้ด้วยสติปัญญา” อย่างรู้เท่าทันซึ่งเป็นวิถีการดำเนินชีวิตที่ข้าพเจ้าได้น้อมนำ “คติธรรม” แห่งพุทธปรัชญามาเป็นหลักคิดหรือเป็นอนุสติสร้างการยอมรับในพลวัตรแห่งสภาพวัตถุและร่องรอยอดีตเหล่านั้นรวมถึงนำมาเป็น กุศโลบายสู่การปล่อยวางความรู้สึกแห่งทุกข์ในแบบที่สร้างสรรค์หรือนำมาเป็นข้อมูลแรงบันดาลใจถ่ายทอดเป็นจินตภาพภายใต้สำนึกแห่งห้วงความคิดความรู้สึกอันสะเทือนจิตใจและอารมณ์ด้วยการสร้างจินตนาการแห่งรูปลักษณ์ของร่องรอยจากความทรงจำที่เป็นเสมือนรูปธรรมของกฏแห่งสัจธรรมด้วยกลวิธีทางทัศนศิลป์สร้างสรรค์เป็นผลงานศิลปะภาพพิมพ์ “วัตถุแห่งศิลปะ” รูปแบบเหนือจริง (Surrealism) เพื่อให้เป็นสื่อแห่งศิลปะที่โน้มน้าวเยียวยาจิตใจและเติมเต็มในสิ่งที่ขาดหายจากไปกอปรกับเพื่อทดแทนความรู้สึกที่สูญเสียให้กลายเป็นผลงานซึ่งเป็นการก่อรูปแห่งความหมายทางนามธรรมด้วยเศษซากของ “นวัตวิถี” หรือ “เรือ” วัตถุและร่องรอยในความทรงจำที่ “ลอย” ตระหง่านอยู่บนพื้นที่สมมติเชิงสภาวะแห่งจิตโดยอาศัยกระบวนการพิมพ์ภาพพิมพ์ผิวนูน (Relief Printing Process) หรือภาพพิมพ์แกะไม้ (woodcut) เป็นเครื่องมือให้ก่อเกิดเป็นรูปแทนเชิงสัญลักษณ์ของเนื้อหาแห่งรอยประทับในความทรงจำหรืออุปมาอุปไมยเป็นเสมือนอนุสรณ์แห่งอนุสติที่จะโน้มไปสู่การปล่อยวางความทุกข์ของชีวิตและให้พึงตระหนักรู้ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นล้วนเป็นสัจธรรมทว่าเราสามารถอยู่ร่วมกับความทุกข์นี้ได้อย่างผู้รู้ตื่น  รู้เบิกบาน  และแบ่งปันความคิดโดยนัยนี้ไปยังเพื่อนมนุษย์ในสังคมหรือผู้ที่ประสบปัญหากำลังเผชิญกับความทุกข์เพื่อจักได้มีสติและใช้สติปัญญาเป็นพลังขับเคลื่อนดำเนินชีวิตต่อไปอย่างรู้เท่าทันในปัจจุบันขณะ        
Description: Master of Fine Arts (M.F.A.)
ศิลปมหาบัณฑิต (ศล.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3679
Appears in Collections:Painting Sculpture and Graphic Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60003204.pdf8.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.