Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3683
Title: | SAFE PLACE : MEMORIES OF TRAUMA พื้นที่ปลอดภัย : ภาพจำจากบาดแผล |
Authors: | Prach PIMARNMAN ปรัชญ์ พิมานแมน Pishnu Supanimit พิษณุ ศุภนิมิตร Silpakorn University. Painting Sculpture and Graphic Arts |
Keywords: | พื้นที่ปลอดภัย ความทรงจำและประสบการณ์ระดับปัจเจก สื่อผสม วีดีโอสารคดี ศิลปะจัดวาง Safe Place individual memory and experience mixed media documentary video installation art |
Issue Date: | 1 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | The objective of the thesis artwork: Safe Place : memories of Trauma is to present the perspective on life in the current society which is under the environment that we have to adapt and struggle in life. This depends on the situation of violence and conflicts occurring in the provinces of Pattani, Yala and Narathiwat. These three southern border provinces of Thailand have the way of life, historical stories, and unique identities presenting a state of feeling that affects collective memory and individual memory that allow the audience to look back on the relationship of feelings from memories and experiences of stories in the 3 southern border provinces in a personal perspective. The content of the work offers a view of the history of the area that affect living conditions, incidents of violence, conflicts that affect the safety of life which has led to losses since 2004. These are combined with personal trauma of the researcher through creating experiences in the perception of aesthetics to create visual arts in the form of media works, arrangement with elements of Readymade and Found Objects, and documentary video. These include changing the exhibition area to create partially shared memories in the current situation through the study, researches, concepts, and presentation methods of contemporary artists from various disciplines presenting the composition of stories from memories and historical stories. They are involved with the city in which they live used as a conceptual framework in the study leading to the development of artistic practice in the art thesis artwork “Safe Place : Memories of Trauma”. The works are developed throughout the course of 5 sets to present the results to the public. This led to the discovery of achievement in the study in 3 issues; 1) the audience engaged in specific issues which can be pieced altogether own experience and experiences of the 3 southern border provinces through the presentation of the work in a form of reconstructing the emotional space allowing the audience to participate in the interaction with the created visual artworks. 2) The discovery of concepts and theories can present the features of Readymade and Found Objects, sound and animation in the form of a piece of art arranged to present in the form of experience from memory both privately and collectively. 3) The visual artworks can be created to make the audience open the perspective of experiences that occur in a different way for each person, including the audience themselves, to bring back to consider the environment and live in the current situation. It must be considered from a variety of perspectives on the state of the events that are still happening today. This is linked to their personal history in many different types of time loops in the present circumstances. ผลงานศิลปนิพนธ์ชุด พื้นที่ปลอดภัย : ภาพจำจากบาดแผล มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอมุมมองการดำรงชีวิตในสังคมปัจจุบัน ที่ขึ้นอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ต้องปรับตัว และต่อสู้ดิ้นรนในการดำเนินชีวิตที่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของความรุนแรงและความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในพื้นที่ จังหวัด ปัตตานี ยะลาและนราธิวาส หรือ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ที่มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่มีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และอัตลักษณ์เฉพาะตัว โดยนำเสนอสภาวะของความรู้สึกที่มีผลต่อความทรงจำและประสบการณ์ร่วมในสังคม (Collective Memory) และความทรงจำระดับปัจเจก (Individual Memory) ที่ให้ผู้ชมได้เกิดมองย้อนความสัมพันธ์ของความรู้สึกจากความทรงจำและประสบการณ์ต่อเรื่องราวในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในมุมมองส่วนตัว เนื้อหาในผลงานนำเสนอมุมมองของประวัติศาสตร์ในพื้นที่ที่ส่ง ผลต่อสภาพความเป็นอยู่ เหตุการณ์ความรุนแรง ความขัดแย้ง ที่ส่งผลต่อความปลอดภัยต่อชีวิตที่นำมาซึ่งความสูญเสียตั้งแต่ปี 2547 กับความสะเทือนใจส่วนตัวของผู้ศึกษาผ่านการสร้างประสบการณ์ในการรับรู้ทางสุนทรียะในการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ในรูปแบบผลงานสื่อการจัดวางโดยมีองค์ประกอบของวัตถุสำเร็จรูป (Ready made) และวัสดุเก็บตก (Found Object) วีดีโอสารคดี รวมไปถึงการเปลี่ยนพื้นที่จัดแสดงเพื่อสร้างความทรงที่มีบางส่วนร่วมกันในสภาวการณ์ปัจจุบัน ผ่านการศึกษาวิจัยแนวคิดวิธีการนำเสนอของศิลปินร่วมสมัยหลากหลายแขนงที่นำเสนอการร้อยเรียงเรื่องราวจากความทรงจำและเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่มีส่วนร่วมกับเมืองที่ตนเองอาศัยอยู่ นำมาเป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา เพื่อนำไปพัฒนาสู่การปฏิบัติการทางศิลปะในผลงานศิลปนิพนธ์ชุด “พื้นที่ปลอดภัย : ภาพจำจากบาดแผล” ซึ่งได้พัฒนาผลงานตลอดหลักสูตร จำนวน 5 ชุด และได้นำเสนอผลงานสู่สาธารณชน นำไปสู่การค้นพบ ผลสัมฤทธิ์ในการศึกษาใน 3 ประเด็นคือ 1). ผู้ชมมีส่วนร่วมในประเด็นที่เป็นลักษณะเฉพาะเจาะจงที่สามารถปะติดปะต่อประสบการณ์ของตนเองและประสบการณ์ของพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ผ่านการนำเสนอผลงานในรูปแบบการสร้างพื้นที่ทางความรู้สึกขึ้นมาใหม่ให้ผู้ชมได้มีส่วนในการปฏิสัมพันธ์กับผลงานทัศนศิลป์ที่สร้างบรรยากาศทางประสบการณ์ต่อความทรงจำ 2). การค้นพบแนวคิดและทฤษฎีที่สามารถนำเสนอลักษณะของวัตถุสำเร็จรูปวัสดุเก็บตก เสียงภาพเคลื่อนไหวในลักษณะของการปะติดปะต่อเรียบเรียงมานำเสนอในลักษณะของประสบการณ์จากความทรงจำส่วนตัวและส่วนรวมได้ 3). สามารถสร้างผลงานทัศนศิลป์ที่ทำให้ผู้ชมได้เปิดมุมมองจากประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในลักษณะที่แตกต่างกันออกไปของแต่ละผู้คนรวมถึงผู้ชมเองให้เกิดการนำกลับมาพิจารณาถึงสภาวะแวดล้อมและความเป็นอยู่ในสถานการณ์ของปัจจุบันที่ต้องพิจารณาจากมุมมองหลากหลายด้านถึงสภาวะของเหตุการณ์ที่ยังคงเกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบันที่เชื่อมโยงถึงประวัติศาสตร์ส่วนตนในหลากหลายลักษณะของห่วงเวลาในสภาวการณ์ปัจจุบัน |
Description: | Doctor of Philosophy (Ph.D.) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3683 |
Appears in Collections: | Painting Sculpture and Graphic Arts |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
60007802.pdf | 19.18 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.