Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3747
Title: JATAKA ON THE GILT LACQUERED SCRIPTURE CABINETS IN PHRA VAJIRAYANA ROYAL LIBRARY
จิตรกรรมลายรดน้ำเรื่องวรรณคดีชาดกบนตู้พระธรรมในหอพระสมุดวชิรญาณ
Authors: Chichaya DENTRAKULWONG
ฌิชญา เด่นตระกูลวงศ์
Patsaweesiri Preamkulanan
พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์
Silpakorn University. Archaeology
Keywords: วรรณคดีชาดก
ภาพเล่าเรื่อง
ตู้พระธรรม
หอพระสมุดวชิรญาณ
Jataka Literatures
Narrative Paintings
Dharma Cabinet
Wachirayan Library
Issue Date:  1
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The objectives of this research are to study and analyze Thai lacquer work paintings of Jataka literatures in Dharma Cabinet in Wachirayan Library and study the connection and relationship of Jataka stories in Dharma Cabinet with contemporary literatures, as well as conduct analysis of Jataka stories written in the Dharma Cabinet in order to clearly determine the age of Jataka stories. From the study, it was found that narrative painting of Thai lacquer work paintings of Jataka literatures in Wachirayan Library has two forms of expressions including symbolic narrative Jataka paintings and continuous narrative Jataka paintings. Whereas, the classifications of narrative paintings of Jataka literatures on Dharma Cabinet are based on the style of Jataka paintings which can be classified into 4 types namely 1) Single-story Jataka paintings, divided into Nibhatjataka and Panyasajataka; 2) Jataka illustrations in door-keeper paintings; 3) Mixed-story Jataka paintings, divided into Buddhist mythology, stories from important literatures, and Buddhist mythology combined with important literatures; and 4) Integrated-storytelling Jataka paintings divided into Nibhatjataka integrated with Great Jataka story, Great Jataka story, Panyasajataka integrated with Great Jataka story, and Panyasajataka story. Scenes depicting Jataka narrative paintings would often be selected from great asceticism scenes. In case of co-written with other Jataka stories, Jataka stories with the same asceticism practices would be chosen together. The positioning of compositions and scenes of Jataka narrative paintings were mainly based on events in the stories using background pattern to represent contexts of the locations. Dharma Cabinet from the late Ayutthaya period to the early Rattanakosin period (during the reign of King Rama I) consisted of Jataka paintings which conveyed and illustrated Dharma teachings and merit-making of Buddha in each life. Jataka paintings were developed around the reign of King Rama II who was fond of literary works according to the royal favorite Jataka paintings. As a result of the influence, during this period, dramatic Jataka literatures were invented. Dharma Cabinet in the reign of King Rama III - IV often depicted Great Jataka story of the ten lives of Buddha emphasizing on architectural paintings and sceneries. Meanwhile, the paintings of Panyasajataka, which had been found continuously since the Ayutthaya period, began to decline in the Dharma Cabinet around the reigns of King Rama III - IV. This may be due to the emergence of new literatures and plays which were based on Panyasajataka but with more interesting contents, coupled with the influence of Western arts that began to influence the Thai society.
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ภาพจิตรกรรมลายรดน้ำเรื่องวรรณคดีชาดกบนตู้พระธรรมในหอพระสมุดวชิรญาณ โดยได้ทำการศึกษาหาความเชื่อมโยงและความสัมพันธ์ของเรื่องราวชาดกบนตู้พระธรรมกับวรรณคดีร่วมสมัย ประกอบไปกับการวิเคราะห์เรื่องราวชาดกที่นำมาเขียนบนตู้พระธรรม เพื่อช่วยในการกำหนดอายุให้ชัดเจนยิ่งขึ้น จากการศึกษาพบว่าภาพเล่าเรื่องจิตรกรรมลายรดน้ำวรรณคดีชาดกบนตู้พระธรรมหอพระสมุดวชิรญาณมีรูปแบบการแสดงออกของงานจิตรกรรม 2 แบบ คือ ภาพชาดกเล่าเรื่องเชิงสัญลักษณ์ และ ภาพชาดกเล่าเรื่องสืบเนื่องกัน อนึ่ง เมื่อทำการจำแนกภาพเล่าเรื่องชาดกบนตู้พระธรรมโดยอาศัยรูปแบบลักษณะการเขียนภาพชาดกเป็นเกณฑ์สามารถจำแนกได้ทั้งหมด 4 ประเภท ได้แก่ 1) ภาพชาดกแบบเรื่องเดี่ยว แบ่งออกเป็นประเภทนิบาตชาดก และ ปัญญาสชาดก 2) ภาพชาดกประกอบภาพทวารบาล 3) ภาพชาดกแบบผสมผสานกับเรื่องอื่นๆ แบ่งออกเป็นเรื่องราวในพุทธศาสนา เรื่องราวจากวรรณคดีสำคัญ และ เรื่องราวพุทธศาสนาผสมผสานวรรณคดีสำคัญ 4)ภาพแบบรวมเรื่องประเภทชาดก แบ่งออกเป็นรวมเรื่องนิบาตชาดกกับทศชาติ รวมเรื่องในทศชาติ รวมเรื่องทศชาติกับปัญญาสชาดก และ รวมเรื่องปัญญาสชาดก การเลือกเขียนฉากภาพเล่าเรื่องชาดกพบว่ามักเลือกจากฉากที่แสดงถึงการบำเพ็ญบารมีอันยิ่งยวด กรณีเขียนร่วมกับชาดกเรื่องอื่นมักเลือกชาดกที่มีการบำเพ็ญบารมีเป็นไปในทิศทางเดียวกัน สำหรับการจัดวางองค์ประกอบภาพเล่าเรื่องชาดกและฉากต่างๆพบว่ามักยึดตามสถานที่เกิดเหตุในเรื่องราวเป็นหลักในการวางตำแหน่งภาพ โดยใช้ลวดลายพื้นหลังแทนบริบทสถานที่ ตู้พระธรรมสมัยปลายอยุธยาถึงต้นรัตนโกสินทร์ราวรัชกาลที่ 1 ภาพชาดกยังเป็นสิ่งที่ถ่ายทอดและเป็นไปเพื่อการสั่งสอนข้อธรรมแก่ผู้พบเห็นยึดโยงที่บุญบารมีแต่ละพระชาติเป็นหลัก ภาพชาดกมีพัฒนาการราวสมัยรัชกาลที่ 2 ซึ่งมีความนิยมในงานวรรณกรรมมากขึ้นตามกระแสพระราชนิยมภาพชาดกในระยะเวลานี้จึงได้รับอิทธิพลสืบเนื่องเป็นผลให้เริ่มมีการเขียนชาดกเชิงบทละครสะท้อนอารมณ์ ตู้พระธรรมราวสมัยรัชกาลที่ 3 – 4 มักเขียนภาพเล่าเรื่องทศชาติจากทั้ง 10 พระชาติโดยมีการให้ความสำคัญกับภาพสถาปัตยกรรมและทัศนียภาพ ขณะที่ภาพปัญญาสชาดกซึ่งพบเรื่อยมาตั้งแต่สมัยอยุธยานั้นเริ่มลดน้อยลงบนตู้พระธรรมราวสมัยรัชกาลที่ 3 – 4 ทั้งนี้อาจเนื่องด้วยมีการเกิดวรรณกรรมบทละครใหม่ๆซึ่งมีเค้าโครงมาจากปัญญาสชาดกแต่มีเนื้อหาที่น่าสนใจมากกว่าประกอบกับอิทธิพลรูปแบบศิลปะตะวันตกที่เริ่มเข้ามามีบทบาทในสังคมไทย  
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3747
Appears in Collections:Archaeology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60107203.pdf60.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.