Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3765
Title: “Stand for Strays” The Study of Dogs in Thai Culture to a Model to Elevate Stray Dogs’ Welfare in Thailand Urban area
“จรจัดสรร” วัฒนธรรมการเลี้ยงหมาในสังคมไทย สู่การออกแบบโครงการต้นแบบเพื่อสวัสดิภาพหมาจรจัดในมหานคร
Authors: Yodsaporn JUNTONGJEEN
ยศพร จันทองจีน
Sarawuth Pintong
ศราวุฒิ ปิ่นทอง
Silpakorn University. Decorative Arts
Keywords: หมาจรจัด
วัฒนธรรมการเลี้ยงหมา
สวัสดิภาพ
STRAY DOGS
DOG IN THAI CULTURE
DOG WELFARE
Issue Date:  1
Publisher: Silpakorn University
Abstract: “Stray dogs” have been a structurally complicated problem in Thailand for a long time. Although efforts by many sectors have been made to deal with this problem, the lack of integration in the work has led to redundancies and excessive budgets expenditure. There is also a lack of awareness to the problems from people in the society. As a result, dealing with the issue of stray dogs has not effective resulted. Therefore, it is an academic question in conducting this research, to investigate through all related areas of this problem and to find solution to this problem systematically. This is a mixed methods of study that has been conducted through data collection process by surveying, interviewing, recording data from a sample of population to analyze, synthesize, together with integrating various design arts to meet the objectives of this research. The results of the study revealed that solving the problem of stray dogs in Thai society can be achieved with the application of "Stand for Strays" model which divided into two approaches: first is to create a space to collaborate people involvement to this problems, and to use various forms of design art as a way to improve the welfare of stray dogs to better health. Second is the design of "communication" to encourage people in society to be aware of the problem of stray dogs through.
“หมาจรจัด” เป็นปัญหาที่มีความซับซ้อนในเชิงโครงสร้างทางสังคมของไทยมาเป็นระยะเวลานาน แม้ว่าจะมีความพยายามจากหลายภาคส่วนในการที่จะจัดการกับปัญหานี้ แต่ขาดการบูรณาการในการทำงานทำให้เกิดความซ้ำซ้อน และสิ้นเปลืองงบประมาณเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังขาดความตระหนักรู้ถึงปัญหาของคนในสังคม ทำให้ไม่สามารถจัดการกับปัญหาหมาจรจัดได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร จึงเกิดเป็นคำถามทางวิชาการในการที่จะศึกษาวิจัยเพื่อให้ทราบถึงแนวทางในการที่จะแก้ไขปัญหานี้อย่างเป็นระบบ โดยการศึกษานี้เป็นงานวิจัยแบบผสมผสาน ที่ผ่านกระบวนการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสำรวจ สัมภาษณ์ บันทึกข้อมูลจากกกลุ่มตัวอย่าง เพื่อนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ ร่วมกับการบูรณาการศิลปะการออกแบบศาสตร์ต่างๆ ในรูปแบบที่เหมาะสม เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้  ผลของการศึกษาพบว่า การแก้ปัญหาหมาจรจัดในสังคมไทยสามารถทำได้ด้วยการประยุกต์ใช้ “จรจัดสรรโมเดล” ที่แบ่งออกเป็น  2 แนวทาง คือ 1 การสร้างพื้นที่ให้เกิดในการบูรณาการในการทำงานร่วมกันของกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับปัญหา และการใช้ศิลปะการออกแบบเป็นแนวทางในการยกระดับสวัสดิภาพหมาจรจัดให้มีสุขภาวะที่ดีขึ้น อันเป็นแผนระยะสั้นที่สามารถดำเนินการได้โดยทันที และ 2 คือ การ ออกแบบ “การสื่อสาร” เพื่อกระตุ้นให้ผู้คนในสังคมเกิดความตระหนักรู้ในปัญหาหมาจรจัด ผ่านรูปแบบของการจัดกิจกรรมด้วยเครื่องมือที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการปลูกจิตสำนึก และการเสริมสร้างทัศนคติที่ดีต่อหมาจรจัด ในกลุ่มเด็ก และเยาวชน นำมาซึ่งการรับรู้ และความเข้าใจในปัญหาร่วมกัน ก่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจในการแก้ปัญหาร่วมกันของผู้คนในสังคม ที่อาจเป็นเพียงแนวทางเดียวในการที่จะแก้ปัญหาหมาจรจัดได้ในที่สุด สำหรับในส่วนของกระบวนการและกรอบแนวคิดในการแก้ปัญหาของงานวิจัยนี้ อาจใช้เป็นแนวทางต้นแบบเพื่อนำไปใช้แก้ปัญหาทางสังคมอื่น ๆ ที่มีโครงสร้างซับซ้อนได้อีกด้วย
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3765
Appears in Collections:Decorative Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
620430026.pdf17.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.