Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3782
Title: | THE MODEL OF BILINGUAL (THAI-CHINESE) SCHOOL ADMINISTRATION UNDER BANGKOK METROPOLITAN ADMINISTRATION รูปแบบการบริหารโรงเรียนสองภาษา (ไทย-จีน) สังกัดกรุงเทพมหานคร |
Authors: | Krittaphak UNGPINITKUN กฤตภัค อึ้งพินิจกุล Prasert Intarak ประเสริฐ อินทร์รักษ์ Silpakorn University. Education |
Keywords: | การบริหารโรงเรียนสองภาษา / โรงเรียนสองภาษา (ไทย-จีน) สังกัดกรุงเทพมหานคร BILINGUAL SCHOOL ADMINISTRATION / BILINGUAL (THAI-CHINESE) SCHOOL UNDER BANGKOK METROPOLITAN ADMINISTRATION |
Issue Date: | 1 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: |
The research aimed to determine: 1) the model of bilingual (Thai-Chinese)
school administration under Bangkok metropolitan administration and 2) confirm the
model of bilingual (Thai-Chinese) school administration under Bangkok metropolitan
administration. The population of this research were 14 schools. There were
15 respondents from each school with a total of 210 respondents. The research instruments were focus group discussions. The descriptive statistics used for data analysis were frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, Confirmatory Factor Analysis and content analysis.
The findings of this study were as follows:
1. The model of bilingual (Thai-Chinese) school administration consisted of
five models which were; 1) planning 2) organizing 3) acting 4) budgeting and
5) monitoring.
2. The confirmation on the model of bilingual (Thai-Chinese) school administration under Bangkok metropolitan administration consisted of 1) planning
2) organizing 3) acting 4) budgeting and 5) monitoring. The model in accordance was
fit with the empirical data with (X2) = 0.777, (X2/df) = 0.777, p-value = 0.378,
(RMR) = 0.000, (GFI) = 0.999, (AGFI) = 0.978, (CFI) = 1.000, (RMSEA) = 0.000. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อทราบรูปแบบของการบริหารโรงเรียนสองภาษา (ไทย-จีน) สังกัดกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อทราบผลการยืนยันรูปแบบของการบริหารโรงเรียนสองภาษา (ไทย-จีน) สังกัดกรุงเทพมหานคร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ประกอบด้วย โรงเรียนสองภาษา (ไทย-จีน) สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 14 โรง โดยมีผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 15 คน รวมทั้งสิ้น 210 คน เป็นหน่วยวิเคราะห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม (Focus group discussion) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการบริหารโรงเรียนสองภาษา (ไทย-จีน) สังกัดกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1) การวางแผน (planning) 2) การจัดองค์กร (organizing) 3) การดำเนินการ (acting) 4) การบริหารงบประมาณ (budgeting) และ 5) การติดตามและรายงานผล (monitoring) 2) ผลการยืนยันรูปแบบการบริหารโรงเรียนสองภาษา (ไทย-จีน) สังกัดกรุงเทพมหานคร พบว่า รูปแบบการบริหารโรงเรียนสองภาษา (ไทย-จีน) สังกัดกรุงเทพมหานคร อันได้แก่ 1) การวางแผน (planning) 2) การจัดองค์กร (organizing) 3) การดำเนินการ (acting) 4) การบริหารงบประมาณ (budgeting) และ 5) การติดตามและรายงานผล (monitoring) มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูล เชิงประจักษ์ พิจารณาจากค่าดัชนีความสอดคล้องกลมกลืน ดังนี้ ค่าไคสแควร์ (X2) เท่ากับ 0.777 ค่าไคสแควร์สัมพัทธ์ (X2/df) เท่ากับ 0.777 ค่า p-value เท่ากับ 0.378 ค่าดัชนีรากของค่าเฉลี่ย กำลังสองของเศษ (RMR) เท่ากับ 0.000 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.999 ค่าดัชนี วัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.978 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ 1.000 ค่าดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่า (RMSEA) เท่ากับ 0.000 |
Description: | Doctor of Philosophy (Ph.D.) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3782 |
Appears in Collections: | Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
59252901.pdf | 5.6 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.