Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4066
Title: AN ANALYTICAL STUDY OF THAI ROYAL CREMATORIUM DESIGN THROUGH ARCHITECTURAL DRAWINGS OF PRINCE NARISARA NUWATTIWONG
การศึกษาวิเคราะห์ผลงานการออกแบบสถาปัตยกรรมพระเมรุมาศ พระเมรุ ผ่านตัวแบบของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
Authors: Boonyakorn WACHIRATIENCHAI
บุณยกร วชิระเธียรชัย
Somkid Jiratutsanakul
สมคิด จิระทัศนกุล
Silpakorn University. Architecture
Keywords: พระเมรุมาศ
พระเมรุ
แบบสถาปัตยกรรม
แบบต้นร่าง
แบบร่าง
แบบจริง
royal crematorium
crematorium
architectural drawing
conceptual drawing
preliminary drawing
construction drawing
Issue Date:  25
Publisher: Silpakorn University
Abstract: Being known as the great craftsman of Siam, Prince Narisara Nuwattiwong (Prince Naris for short) had created a number of architectural designs for several buildings in Thailand. Furthermore, he was assigned to do architectural drawings of crematoriums of royal family members and monks. According to historical documents, he had designed thirteen crematoriums and his architectural drawings of ten crematoriums were conserved. The architectural work on royal crematoriums has been considered the work of high dignity and great prestige since Ayutthaya period. This form of architecture also lies in profound beliefs among Thai people regardless of architectural changes over time. The crematorium design of Prince Naris had gained wide acceptance as the changes in design thinking were reflected through a variety of architectural forms. Therefore, researcher intended to study ideas behind the crematorium design of Prince Naris based on his architectural drawings and circumstantial evidence. The objectives of this thesis were to 1) study process and procedure for designing crematoriums as well as distinctive features of each crematorium, 2) analyze factors affecting crematorium designs of Prince Naris through his architectural drawings and historical documents, 3) analyze key concepts behind his crematorium designs in both area planning and building by collecting architectural drawings of the crematoriums to explore his work process, evaluate the importance of the drawings, create complete images of the crematoriums in isometric three-dimensional view, and conduct an in-depth study of the designs in terms of principles, ideas and forms.   The thesis results portrayed 1) process and procedure of Prince Naris for designing each crematorium, 2) complete images of the ten crematoriums created based on the traces of architecture, 3) structural elements of the crematoriums in separate sections, and 4) how the separate sections were designed and formed into the crematoriums, such as proportion, pillar span, base, as well as gable and spire elements. 
แบบสถาปัตยกรรมพระเมรุมาศ และพระเมรุ ผลงานฝีพระหัตถ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นแบบที่ปรากฏรายการและจำนวนแบบมาก เนื่องด้วยเป็นประเภทงานสถาปัตยกรรมที่พระองค์ทรงงานไว้หลายชิ้นซึ่งมีจำนวนถึง 13 ชิ้นงาน และปรากฏแบบถึง 10 ชิ้นงาน โดยงานสถาปัตยกรรมไทยประเภทพระเมรุ ถือเป็นงานฐานานุศักดิ์สูง มีแบบแผนที่แฝงด้วยคติความเชื่อและรูปแบบทางสถาปัตยกรรมสืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยมีการปรับเปลีี่ยนเรื่อยมาตามยุคสมัย จนมาถึงช่วงที่สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เข้ามามีบทบาทในการออกแบบงานพระเมรุ ซึ่งเป็นที่ยอมรับในวงกว้างว่าเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงทางความคิดด้านการออกแบบ และมีความหลากหลายในเชิงรูปแบบอย่างมาก จึงเป็นประเด็นที่ผู้วิจัยให้ความสนใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการศึกษาวิเคราะห์ถึงรูปแบบและวิธีคิดในการออกแบบผ่านตัวแบบสถาปัตยกรรมประกอบกับหลักฐานแวดล้อม โดยมีวัตถุประสงค์โดยสังเขป คือ 1) ศึกษาขั้นตอน วิธีการทำงาน และคุณลักษณะของแบบสถาปัตยกรรมประเภทพระเมรุ 2) ศึกษาวิเคราะห์ที่มาของรูปแบบและปัจจัยที่ส่งผลต่อรูปลักษณ์ทางสถาปัตยกรรม ผ่านตัวแบบ เอกสารและบันทึกต่างๆ 3) ศึกษาวิเคราะห์หลักคิดสำคัญในการออกแบบพระเมรุ ทั้งงานผังบริเวณ และงานอาคาร โดยขั้นตอนการดำเนินงานที่สำคัญ คือการค้นคว้ารวบรวมแบบสถาปัตยกรรมพระเมรุเพื่อค้นหาขั้นตอนและวิธีการทำงานแบบของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศฯ และประเมินคุณค่าความสำคัญของตัวแบบ เพื่อสร้างจินตภาพความสมบูรณ์ของงานพระเมรุให้เกิดขึ้นด้วยภาพจำลองสามมิติในมุมมองแบบ isometric แล้วจึงทำการศึกษาวิเคราะห์งานออกแบบถึงหลักการ วิธีคิด และรูปแบบในเชิงลึก ผลลัพธ์ของงานวิจัยนี้ได้ฉายภาพให้เห็นถึง 1) ขั้นตอนและวิธีการทำงานแบบสถาปัตยกรรมพระเมรุชิ้นหนึ่งๆ ของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ 2) จินตภาพสมบูรณ์ของมณฑลงานพระเมรุทั้ง 10 ชิ้นงาน จากร่องรอยแบบสถาปัตยกรรม 3) หลักการมองและการทำความเข้าใจงานพระเมรุแบบแยกส่วน และท้ายที่สุด คือ 4) หลักคิดในการขึ้นรูปแบบ 5 ประการ ได้แก่ 1) หลักสัดส่วนสัมพันธ์ 2) หลักห้องเสา การล้มสอบเสาและรูปแบบหลังคา 3) หลักฐานชาลา 4) หลักองค์ประกอบส่วนจั่ว และ 5) หลักองค์ประกอบส่วนยอด
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4066
Appears in Collections:Architecture

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59052801.pdf50.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.