Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4074
Title: OPEN SPACE SYSTEM IN OLD TOWN OF NAKHON RATCHASIMA  AND ADJACENT  AREAS
ระบบพื้นที่โล่งว่างในเขตเมืองเก่านครราชสีมาและพื้นที่ต่อเนื่อง
Authors: Vuttikai UTHAISA
วุฒิไกร อุทัยสา
Chaisit Dankitikul
ชัยสิทธิ์ ด่านกิตติกุล
Silpakorn University. Architecture
Keywords: ระบบพื้นที่โล่งว่าง
เมืองเก่า
นครราชสีมา
Open space system
Old town
Nakhonratchasima
Issue Date:  25
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The main objective of this research is to study the characteristics of the open space system and how it affects the areas in The Old Town of Nakhon Ratchasima including studying the problem, potential and solutions for open space systems existing in the area by studying the theory of relevant concepts along with a preliminary survey of the area for information to be classified and select the open spaces and the contiguous area that exist there. The researchers categorized open spaces according to their use in all 5 types: (1) Open spaces in the type of roads, (2) Open space in the type of car park, (3) Open space in the type of water resource, (4) Open space in the type that people use to relax, (5) Open spaces in the type that are not accessible to people. The categories of the open spaces had led to a study exploring the location study the role, importance and activities that occur in different types of open spaces. Take notes to see people's behavior towards accessing open spaces. To be shown on the map and to make it easier to study and understand. The data shows the relationship of the open space in the form of the diagram for analyzing and comparing theoretical. It shows that the open spaces in the type of traffic are important elements to the layout of the chart as a Grid pattern allows access to multiple points. As a result, the open space system of The Old Town of Nakhon Ratchasima is very conducive to the use of cars as a vehicle for people's travel and daily life. This will result in insufficient open space for traffic or roads to accommodate the number of vehicles. This will cause congestion problems in the future. Including causing air pollution problems in the city, making the city unlivable. Lack of shady lacking the vitality of the people in the future. The results of the study led to a proposal for improvements by add shade from the trees on the roadside area. Create a natural environment for the city, reduce the various pollution that may occur in the future, which will help to create a natural environment for the city, make it easy for people to access support people's activities and help to boost the economy and improve the quality of life of the people who use it.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะของระบบพื้นที่โล่งว่างที่เป็นอยู่ว่าส่งผลอย่างไรต่อเมือง ในเขตเมืองเก่านครราชสีมา โดยทำการศึกษาทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่โล่งว่าง เพื่อเป็นข้อมูลนำไปจำแนกประเภทพื้นที่โล่งว่างที่มีอยู่ในเขตเมืองเก่าและพื้นที่ต่อเนื่อง สามารถจำแนกได้เป็น 5 ประเภท คือ 1) ประเภททางสัญจร หรือ ถนน 2) ประเภทที่จอดรถยนต์ 3) ประเภทที่แหล่งน้ำ 4) ประเภทที่ว่างที่ผู้คนเข้าใช้พักผ่อน 5) ประเภทที่ว่างที่ผู้คนไม่เข้าใช้งาน และทำการวิเคราะห์ ด้านลักษณะรูปแบบ ประเภท ตำแหน่งที่ตั้ง การเข้าถึงพื้นที่และการใช้งานพื้นที่ของผู้คนซึ่งสะท้อนถึงความสัมพันธ์ของคนกับพื้นที่โล่งว่าง นำมาสู่เสนอแนะแนวทางการแก้ไขและส่งเสริมระบบพื้นที่โล่งว่างที่มีอยู่ในพื้นที่ โดยอาศัยการเก็บข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม การเดินสำรวจและเครื่องมือถ่ายภาพ ในการจดบันทึกและระบุตำแหน่ง รวมทั้งลักษณะของพื้นที่โล่งว่าง เพื่อบันทึกเป็นหลักฐานประกอบการอธิบายของการวิจัย ซึ่งผลการวิจัยพบว่าปัจจุบันลักษณะระบบพื้นที่โล่งว่างประเภททางสัญจรซึ่งเป็นพื้นผิวดาดแข็ง แบ่งพื้นที่เป็นแบบตาราง ช่วยให้การเข้าถึงพื้นที่โล่งว่างประเภทต่าง ๆ ได้หลายจุด ผู้คนใช้รถยนต์ส่วนตัวเป็นหลักเพราะมีความสะดวกสบายมากกว่าการสัญจรด้วยระบบทางเท้า ส่งผลให้ระบบพื้นที่โล่งว่างเอื้อต่อการใช้รถยนต์เป็นยานพาหนะทำให้เกิดปัญหากับพื้นที่โล่งว่างประเภททางสัญจรหรือถนนไม่เพียงพอที่จะรองรับปริมาณรถยนต์ในที่สุด ซึ่งจะเกิดปัญหาการจราจรติดขัดในอนาคต รวมทั้งจะก่อให้เกิดปัญหามลภาวะทางอากาศให้แก่เมือง ทำให้เมืองไม่น่าอยู่ขาดความร่มรื่น ทั้งนี้การใช้รถยนต์ทำให้ผู้คนขาดปฏิสัมพันธ์ มีแนวโน้มที่ขาดความมีชีวิตชีวาของเมืองและผู้คนในอนาคต วิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนวทางแก้ไข คือ การแทรกความร่มรื่นจากต้นไม้เข้าไปในพื้นที่ถนน ในส่วนของช่องจราจรที่ใช้จอดรถริมฟุตบาท การปรับปรุงพื้นที่โล่งว่างประเภทที่ผู้คนไม่เข้าใช้งาน ซึ่งส่วนใหญ่มีพันธุ์ไม้ปกคลุมหนาแน่นตรงใจกลางของแต่ละบล็อก มาพัฒนาเป็นจุดเชื่อมต่อเป็นโครงข่ายระหว่างสวนสาธารณะภายในเมืองเข้าด้วยกัน จะช่วยสร้างสภาพแวดล้อมธรรมชาติและลดมลภาวะต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น ช่วยทำให้ผู้คนเข้าถึงได้สะดวก การส่งเสริมทางเดินเท้าให้น่าเดิน ช่วยดึงดูดผู้คนเข้ามาอาศัยเกิดธุรกิจใหม่ ๆ ส่งเสริมเศรษฐกิจซึ่งช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้คนด้วย
Description: Master of Landscape Architecture (M.L.A.)
ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (ภ.สถ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4074
Appears in Collections:Architecture

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60060202.pdf10.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.