Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4098
Title: EMOTIONAL ATTACHMENT: REDESIGN FASHION WASTE FOR LONGEVITY
การออกแบบขยะแฟชั่นใหม่ให้มีอายุยืนยาวด้วยการสร้างความผูกพันทางอารมณ์
Authors: Jirapan WONGTONGSANGUAN
จิราพรรณ วงศ์ทองสงวน
Supavee Sirinkraporn
สุภาวี ศิรินคราภรณ์
Silpakorn University. Decorative Arts
Keywords: เศรษฐกิจหมุนเวียน / การออกแบบแฟชั่นหมุนเวียน / การนำกลับมาใช้ใหม่อย่างมีความหมาย
CIRCULAR ECONOMY / CIRCULAR FASHION DESIGN / MEANINGFUL UPCYCLING
Issue Date:  25
Publisher: Silpakorn University
Abstract:   Humanity had awareness of the environmental crisis caused by human action from accelerating production and consumption for more than 30 years, various Manifesto, Memorandum of Agreement, Agenda and Goals were set globally and nationally to solve the situation. The velocity of improvement is incomparable to the acceleration of consumption. The environmental crisis is getting worse reflected in Climate Change, Natural Disasters, and even PM2.5 dust, as well as the Pandemic Coronavirus Disease 2019 (COVID-19). Is it time to look through a different lens? The thesis originates from an extensive comprehension of the environmental crisis caused by the fashion industry associated with circular economy and sustainability as a solution to construct a Circular Transformation Framework. An alternative solution is emerging from a micro perspective, combining Psychology and Circular Design Principles to achieve behavioral shaping to conscious consumption. When the micro perspective approach converges with the macro approach, humans sustainably coexist with nature. The profound studies on person-product attachment extended to the psychology of consumption, socio-culture and anthropology accumulated the conclusion of post-modern consumption infer that people tend to consume meaning; immateriality of things rather than the thing itself. Semiology implied the consumption of connotation beyond denotation. The Meaningful Upcycling Design Principle is a psychology-based design principle considering an appropriation of attachment theory: person-product attachment to enhance an object’s value in the individual upcycling process. Objects or Things that have a strong emotional bonding yet are unusable were introduced to the process as an input and a tool including a multisensory technique which integrated a conception of aesthetic experience and process art to comprehend the significant inner value. The object, visual and verbal is a means to bridge inner value and person in the meaningful upcycling process. The inner discernment in the significant value is beyond social or fashion norms. The new circular design strategy conceptualizes the dualism perspective of change in a circular design. A new function embraces the continuity of change over time.
ตลอดระยะเวลากว่า 30 ปีที่มนุษยชาติตระหนักรู้เรื่องปัญหาวิกฤติสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการทำของ มนุษย์ จากการเร่งผลิต เร่งบริโภค มีความพยายามในการแก้ปัญหาทั้งในระดับโลกและระดับประเทศ มีแถลงการณ์ ข้อตกลง นโยบาย ข้อปฏิบัติ มากมายที่ถูกผลักดันเพื่อเป็นทางออกของปัญหา ทว่าอัตราเร็วการแก้ปัญหาอาจจะ ไม่เท่าอัตราเร่งในการบริโภค ธรรมชาติได้แสดงความรุนแรงของปัญหาในรูปความผันผวนทางสภาวะแวดล้อม ภัยธรรมชาติ หรือแม้กระทั่ง ฝุ่น PM2.5 ตลอดจนการระบาดใหญ่ของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อาจจะถึงเวลาแล้ว ที่ต้องทบทวนวิธีการ หรือปรับเปลี่ยนมุมมองต่อปัญหา จุดเริ่มต้นของดุษฎีนิพนธ์นี้คือความพยายามทำความเข้าใจ สภาวะของปัญหาสภาพแวดล้อมที่เกิดจากอุตสาหกรรมแฟชั่นอย่างรอบด้าน นำแนวทางการแก้ปัญหา ด้วยกระบวนทัศน์เศรษฐกิจหมุนเวียนและการพัฒนาที่ยั่งยืน สังเคราะห์กรอบแนวคิดในการเปลี่ยนผ่าน สู่เศรษฐกิจหมุนเวียน ทำให้พบช่องว่างจากการปรับมุมมองในการแก้ปัญหา การทำจากจุดที่เล็กที่สุดคือพฤติกรรม ของปัจเจกบุคคล โดยอาศัยองค์ความรู้ทางด้านจิตวิทยากับการออกแบบหมุนเวียนเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สู่การบริโภคอย่างเข้าใจสร้างแรงกระเพื่อมจากจุดเล็กขยายวงเพื่อมาบรรจบกับแนวทางมหภาคที่กลางทางเพื่อให้มนุษย์สามารถอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติอย่างยั่งยืนและสมดุล การศึกษาลงลึกถึงรากเหง้าของจิตวิทยาความผูกพันทางอารมณ์ระหว่างบุคคลและสิ่งของนำพา ขยายขอบเขต อย่างรอบด้าน สู่ข้อค้นพบที่เป็นการบูรณาการความรู้ทั้ง จิตวิทยา สังคมวิทยา และ มานุษยวิทยา คือ หัวใจของการบริโภคในศตวรรษที่ 21 ที่ว่าบุคคลเลือกบริโภคคุณค่า ความหมายที่บรรจุอยู่ในสิ่งของมากกว่า การบริโภควัตถุภาวะสิ่งของนั้น ในทางสัญญะวิทยาจะกล่าวว่าเป็นการบริโภคความหมายแฝง มากกว่าการบริโภค ความหมายตรง นำมาสู่การสร้างหลักการนำกลับมาใช้ใหม่อย่างมีความหมาย และการสร้างเครื่องมือที่ใช้สิ่งของ ที่ไม่สามารถใช้ได้แต่เปี่ยมคุณค่าเชิงความหมายและการมีส่วนร่วมในกระบวนการทางพหุผัสสะมีการใช้ วัตถุ ภาพ และภาษา สร้างประสบการณ์ทางสุนทรียะ โดยอาศัยฐานคิดจากศิลปะกระบวนการมาเป็นเครื่องมือเข้าสู่ ความหมายที่ลึกซึ้งกว่า ที่จะนำไปสู่การหมุนเวียนใช้ในเชิงคุณค่า เป็นการบริโภคที่หลุดพ้นจากกรอบบรรทัดฐาน ทางแฟชั่น และกระบวนการทางสังคม โดยสังเคราะห์กลยุทธ์การออกแบบหมุนเวียนใหม่ เพื่อนำคุณค่าในเชิง ความหมายมายึดเหนี่ยวและย้ำเตือนผู้สวมใส่ถึงคุณค่าใหม่ที่ได้เรียนรู้ ด้วยกลยุทธ์การออกแบบที่ยืนหยัดและโอบรับ กับการเปลี่ยนแปลง เป็นการหมุนเวียนใช้ซ้ำอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับความหมายหรือคุณค่าที่เปลี่ยนแปลงได้ ในอนาคต
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4098
Appears in Collections:Decorative Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
620430030.pdf9.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.