Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4100
Title: Thai Wisdom to Creative Systemin Dimension of Knowledge Base on Abstract to Design the Contemporary Textile
ภูมิปัญญาผืนผ้าสู่การสร้างสรรค์ระบบในมิติการรับรู้เชิงนามธรรมเพื่อต่อยอดศิลปะการออกแบบสิ่งทอร่วมสมัย
Authors: Kengpukdee KLINTED
เก่งภักดี กลิ่นเทศ
Rueanglada Punyalikhit
เรืองลดา ปุณยลิขิต
Silpakorn University. Decorative Arts
Keywords: น่าน
อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม
คุ้มเจ้านายเมืองน่าน
ภูมิปัญญาผ้าซิ่น
สิ่งทอร่วมสมัย
NAN
CULTURAL IDENTITY
THE ROYAL HOUSE OF NAN
THE WISDOM OF SARONG
CONTEMPORARY TEXTILES
Issue Date:  25
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This study aimed 1) to study the story of the royal house of Nan related to the culture of wearing a sarong, 2) to employ the idea from the story to develop patterns through a process related to the wisdom of Sarong in Nan, and 3) to propose the development of cultural identity from the wisdom of Sarong in the royal house of Nan to convey contemporary textiles. Nan or Nanthaburi Srinakorn Nan is a city with ethnic diversity, such as Tai Yuan, Tai Lue, and Thai Lao until became a distinctive identity of Nan. One of the interesting diversities is “Nan fabric”. In this study, a case study was the royal house of Nan which is the royal house of Chao Rajabutr, Mok Fa Na Nan to understand the story of life and traditions in the royal house related to the culture of wearing a sarong that has influenced people from past to present, and the weaving community enterprise was Ban Sao Luang weaving village to learn the technique and textile manufacturing process as a guideline for learning cultural identities from such areas through the pattern designs of the textile model to suit perfectly the way of life and stories of the locals, resulting in a contemporary textile in the form of apparel that focuses on the comfortable everyday use of the wearer and meets the needs of the international market and the target group who are interested in textiles from local wisdom. The assessment results of contemporary textiles found that the participants were satisfied at a high level. They learned and understood the process of transferring identity presented by the researcher very well. A business model development plan was also added based on textile products designed by the researcher to be in accordance with local wisdom and practices of the weaving community sample harmoniously and perfectly with the dynamic way of life in today's society.
งานวิจัยฉบับนี้ได้นํามาสร้างสรรค์การออกแบบ จากกรณีศึกษาที่สื่อถึงเรื่องราวและวัฒนธรรมการทอผ้าของจังหวัดน่าน ถ่ายทอดการรับรู้เชิงนามธรรมโดยใช้การถอดอัตลักษณ์จากพื้นที่ผ่านลวดลายและเทคนิคของสิ่งทอให้เกิดความร่วมสมัย โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาเรื่องราวในคุ้มเจ้านายเมืองน่าน ที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมการสวมใส่ผ้าซิ่น 2) เพื่อใช้แนวคิดจากเรื่องราวดังกล่าว มาพัฒนาลวดลายในการออกแบบผืนผ้า โดยใช้กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาในการทอผ้าซิ่นเมืองน่าน 3) เพื่อนำเสนอการพัฒนาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมจากภูมิปัญญาผ้าซิ่นในคุ้มเจ้านายเมืองน่าน มาใช้ในการสื่อสารในรูปแบบสิ่งทอร่วมสมัย โดยเมืองน่าน หรือ นันทบุรีศรีนครน่าน เป็นเมืองที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ เช่น  ไทยวน ไทลื้อ ไทลาว จนกลายเป็นอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของจังหวัดน่าน และหนึ่งในความหลากหลายที่น่าสนใจก็คือ “ผ้าน่าน” โดยในการศึกษาครั้งนี้ได้ทำการค้นคว้าและเลือกกรณีศึกษาจากคุ้มเจ้านายเมืองน่าน คือ คุ้มเจ้าราชบุตร หมอกฟ้า ณ น่าน เพื่อให้ทราบถึงเรื่องราว วิถีชีวิต และธรรมเนียมปฏิบัติในคุ้มที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมการสวมใส่ผ้าซิ่นที่มีอิทธิพลต่อผู้คนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และเลือกแหล่งวิสาหกิจชุมชนทอผ้าบ้านซาวหลวง เพื่อให้ทราบถึงเทคนิคการมัดก่านและกระบวนการในการทอ เพื่อเป็นแนวทางในการถอด อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมจากพื้นที่ดังกล่าว ผ่านการออกแบบลวดลายของสิ่งทอต้นแบบ ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตและเรื่องราวของผู้คนในพื้นที่ได้อย่างลงตัว จนเกิดเป็นสิ่งทอร่วมสมัยในรูปแบบเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายที่คำนึงถึงลักษณะของการใช้งานได้อย่างสะดวกสบายในชีวิตประจำวันของผู้สวมใส่ ตรงตามความต้องการของตลาดสากลและกลุ่มเป้าหมายที่มีความสนใจในสิ่งทอจากภูมิปัญญาท้องถิ่นมากยิ่งขี้น ผลจากการประเมินการออกแบบต้นแบบสิ่งทอร่วมสมัย พบว่า สิ่งทอดังกล่าวกลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจในระดับสูง เกิดการเรียนรู้และเข้าใจในกระบวนการถ่ายทอดอัตลักษณ์ของผู้วิจัยได้เป็นอย่างดี โดยได้เพิ่มเติมแผนการพัฒนาโมเดลธุรกิจจากสินค้าสิ่งทอที่ผู้วิจัยได้ออกแบบ ให้สอดคล้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่นและแนวทางปฏิบัติของตัวอย่างกลุ่มชุมชนทอผ้า เข้ากับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปในสังคมปัจจุบันได้อย่างกลมกลืนและลงตัว
Description: Master of Fine Arts (M.F.A.)
ศิลปมหาบัณฑิต (ศล.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4100
Appears in Collections:Decorative Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
630420006.pdf25.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.