Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4279
Title: EFFECTS OF USING DACIR INSTRUCTIONAL PROCESS ON HISTORICAL REASONING OF EIGHTH GRADE STUDENTS
ผลของการจัดการใช้กระบวนการเรียนการสอนแดคีร์ที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผลทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Authors: Pongpol WICHADEE
ปองพล วิชาดี
Sasiphat Champa
ศศิพัชร จำปา
Silpakorn University
Sasiphat Champa
ศศิพัชร จำปา
pp_pises@yahoo.com
pp_pises@yahoo.com
Keywords: กระบวนการเรียนการสอนแดคีร์
ความสามารถในการให้เหตุผลทางประวัติศาสตร์
การจัดการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์
DACIR INSTRUCTIONAL PROCESS
HISTORICAL REASONING
TEAHCHING HISTORY
Issue Date:  4
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purpose of this research were to 1) compare academic achievements on the development of the Ayutthaya Kingdom. before and after classes of eight-graders using  DACIR instructional process, 2) compare the ability to reason historically, before and after classes of eight-graders using DACIR instructional process. The sample of this research consisted of 45 students of Secondary 2 studying in the first semester of the academic year 2021 in Ayutthaya Witthayalai school, Ayutthaya Province. The instrument used in the experiment is the unit learning plan using DACIR instructional process. The tools used for collecting data were the learning achievements on an Ayutthaya Kingdom test and the abilities of historical reasoning measurements tool. The data were analyzed by arithmetic mean, standard deviation and t-test The research finding found that: 1) The learning achievements gained on an Ayutthaya Kingdom test by students after using DACIR instructional process were higher than before learning at .05 level of significance. 2) The abilities of historicalreasoning of students using DACIR instructional process were at high level.
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องพัฒนาการอาณาจักรอยุธยาก่อนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้กระบวนการเรียนการสอนแดคีร์ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลทางประวัติศาสตร์ก่อนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้กระบวนการเรียนการสอนแดคีร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 1 ห้องเรียนจำนวน 45 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้กระบวนการเรียนการสอนแดคีร์ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความรู้เรื่องอาณาจักรอยุธยา และ 3) แบบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางประวัติศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย (M) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติทดสอบค่า t-test แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent) ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้กระบวนการเรียนการสอนแดคีร์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 2) ความสามารถในการให้เหตุผลทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้กระบวนการเรียนการสอนแดคีร์ สูงกว่าก่อนเรียน
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4279
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60262305.pdf12.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.