Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4287
Title: THE ADMINISTRATION OF INCLUSIVE EDUCATION AND INTERNAL QUALITY ASSURANCE IN INCLUSIVE SCHOOL UNDER RACHABURI PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 1
การบริหารจัดการเรียนร่วมกับการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนเรียนรวมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1
Authors: Rinrada LERBTHAISONG
รินรดา เลิบไธสง
Saisuda Tiacharoen
สายสุดา เตียเจริญ
Silpakorn University
Saisuda Tiacharoen
สายสุดา เตียเจริญ
saisuda@su.ac.th
saisuda@su.ac.th
Keywords: การบริหารจัดการเรียนร่วม
การประกันคุณภาพภายใน
THE ADMINISTRATION OF INCLUSIVE EDUCATION
INTERNAL QUALITY ASSURANCE IN INCLUSIVE SCHOOL
Issue Date:  4
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purposes of this study were to know 1) the administration of inclusive education in inclusive schools under the Ratchaburi primary educational service area office 1. 2) the internal quality assurance in inclusive schools under the Ratchaburi primary educational service areaoffice 1. 3) the relationship between administration of inclusive education and internal quality assurance in inclusive schools under Ratchaburi primary educational service area office 1. The schools under Ratchaburi primary educational service area office 1 were used as unitor analysis. The respondent in each school consisted 1) school administrators and 2) teachers who are responsible for inclusive education. The research instrument was opinionaire on the administration of inclusive education based on  Benja Chonthanon and internal quality assurance based on Special Education Administration office.  The statistics used to analyze the data were frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, and Pearson’s product moment correlation Coefficient. The findings indicated that: 1. The administration of inclusive education in inclusive schools under Ratchaburi primary educational service area office 1 in overall and each aspect were at a high level. The arithmetic mean values were arranged in the following order: students’ aspect, teaching and learning activities aspect, environment aspect, and tools aspect. 2. The internal quality assurance in inclusive schools under Ratchaburi primary educational service area office 1 in overall and each aspect were at a high level. 3. The administration of inclusive education and internal quality assurance in inclusive schools under Ratchaburi primary educational service area office 1 in overall and each aspect were  high positive correlated with statistical significance at the .01 level.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การบริหารจัดการเรียนร่วมของโรงเรียนเรียนรวมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 2) การประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนเรียนรวมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการเรียนร่วมกับการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนเรียนรวม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 โดยใช้โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 เป็นหน่วยวิเคราะห์ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน และ ครูที่รับผิดชอบงานเรียนรวม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการเรียนร่วมตามแนวคิดของ เบญจา ชลธาร์นนท์ และการประกันคุณภาพภายในตามแนวคิดของสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารจัดการเรียนร่วมของโรงเรียนเรียนรวมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านนักเรียน ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านสภาพแวดล้อม และด้านเครื่องมือ 2. การประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนเรียนรวม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้านระบบการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิผล ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา และด้านคุณภาพของผู้เรียน           3. การบริหารจัดการเรียนร่วมกับการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนเรียนรวม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในลักษณะคล้อยตามกัน โดยเรียงลำดับค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์จากมากไปน้อย 5 อันดับแรก ได้แก่ นักเรียนกับคุณภาพของผู้เรียน กิจกรรมการเรียนการสอนกับคุณภาพของผู้เรียน เครื่องมือกับกระบวนการบริหารและการจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา และสภาพแวดล้อมกับคุณภาพของผู้เรียน
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4287
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61252325.pdf4.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.