Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4298
Title: The development of an instructional model using blendedlearning with collaborative learning to enhance Englishreading ability of English Teaching Program studentsin the faculty of Education, Rajabhat universities
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักศึกษาสาขาการสอนภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ
Authors: Patthaporn LANGPRAYOON
ภัธภร หลั่งประยูร
Ubonwan Songserm
อุบลวรรณ ส่งเสริม
Silpakorn University
Ubonwan Songserm
อุบลวรรณ ส่งเสริม
Ubonwan.su@gmail.com
Ubonwan.su@gmail.com
Keywords: การเรียนการสอนแบบผสมผสาน
การเรียนรู้แบบร่วมมือ
การอ่านภาษาอังกฤษ
Blended learning
Collaborative learning
English reading
Issue Date:  4
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The objectives of this research were 1. to study English reading problems of university students 2. to develop the instructional model 3. to try out the instructional model to develop reading abilities 3.1) to survey the use of reading strategies and guessing words from context clues 3.2) to study the ability to find the main idea 3.3) to study the ability to analyze patterns of organization 3.4) to study the opinions from the university students toward the instructional model and 4. to evaluate the feasibility and the usability of the model. The sampling group consisted of 28 first-year students at Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University. The sampling group was selected by cluster random sampling. The research instruments were 1) the instructional model 2) the instructional model manual 3) lesson plans 4) survey reading forms 5) test 6) task evaluation 7) questionnaire and 8) feasibility and the usability form. This research used research and development design and the statistical used in this research were means, standard deviation, t-test and content analysis. The results of the study showed that 1. The students are having difficulty reading English at the highest level. 2.“PICCA Model” consisted of 4 elements: 1) Concept and theory 2) Objective 3) Steps of teaching consisted of 5 steps: (1) Prepare (2) Instruct (3) Collaborate (4) Check and (5) Assess and 4) Assessment and evaluation. 3. The ability in English reading were as follows: 3.1) the use of reading strategies and guessing words were at high level (M=4.49, S.D.=0.53) 3.2) the ability of the students in finding the main idea after learning was higher than before learning 3.3)  The analyzing ability of patterns of organization was at high level (M=3.28, S.D.=0.87) 3.4) The opinions of the students after learning “PICCA Model” was at high level (M=4.62, S.D.=0.50) and 4. the feasibility and the usability of the model was at high level (M=4.60, S.D.=0.45).
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพและปัญหาเกี่ยวกับการอ่านภาษาอังกฤษของนักศึกษา 2. พัฒนารูปแบบการเรียนการสอน 3. เพื่อทดลองใช้รูปแบบโดยกำหนดความสามารถในการอ่าน ดังนี้ 3.1) ศึกษาการใช้กลวิธีการอ่านและการเดาคำศัพท์จากข้อความแวดล้อม 3.2) ศึกษาความสามารถในการอ่านเพื่อจับใจความสำคัญหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 3.3) ศึกษาความสามารถในการวิเคราะห์รูปแบบและโครงสร้างของบทอ่าน 3.4) ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการใช้รูปแบบ และ 4. ประเมินรับรองรูปแบบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษาสาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 จากมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา จำนวน 28 คน สุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่  1) รูปแบบการเรียนการสอน 2) คู่มือรูปแบบการเรียนการสอน 3) แผนการจัดการเรียนรู้ 4) แบบสำรวจการใช้กลวิธีการอ่าน 5) แบบทดสอบ 6) แบบประเมินความสามารถในการวิเคราะห์โครงสร้างและรูปแบบของบทอ่าน 7) แบบสอบถามความคิดเห็น และ 8) แบบประเมินรับรองรูปแบบ ดำเนินการวิจัยด้วยรูปแบบวิจัยและพัฒนา (Research and Development) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย (M) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-test) แบบ Dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. นักศึกษามีปัญหาในการอ่านภาษาอังกฤษ โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด (M=4.54, S.D.=0.60) 2. รูปแบบการเรียนการสอนมีชื่อว่า “PICCA Model” ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) ขั้นตอนการสอน ได้แก่ (1) ขั้นเตรียม (Prepare) (2) ขั้นสอน (Instruct) (3) ขั้นทำกิจกรรมกลุ่ม (Collaborate) (4) ขั้นตรวจสอบผลงานและการทดสอบ (Check) (5) ขั้นสรุปบทเรียนและประเมินผลการทำงาน (Assess) และ 4) การวัดและประเมินผล 3. ผลการทดลองใช้รูปแบบมีดังต่อไปนี้ 3.1) การใช้กลวิธีการอ่านและการเดาคำศัพท์จากข้อความแวดล้อม อยู่ในระดับ มาก (M=4.49, S.D=0.53) 3.2) ความสามารถในการอ่านเพื่อจับใจความสำคัญหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 3.3) ความสามารถในการวิเคราะห์รูปแบบและโครงสร้างของบทอ่าน อยู่ในระดับมาก (M=3.28, S.D.=0.87) 3.4) ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการใช้รูปแบบ อยู่ในระดับมาก (M=4.62, S.D=0.50) และ 4. ความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอนอยู่ในระดับมาก (M=4.60, S.D.=0.45)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4298
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61253913.pdf4.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.