Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4370
Title: The Effect of Task-based Instruction on Prathomsuksa 6 Students' Reading Comprehension Enhancement
ผลการใช้การจัดการเรียนรู้ที่เน้นภาระงานที่มีต่อการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Authors: Thiraphab MAPRANGWAN
ถิรภาพ มะปรางหวาน
BARAMEE KHEOVICHAI
บารมี เขียววิชัย
Silpakorn University
BARAMEE KHEOVICHAI
บารมี เขียววิชัย
barameek436@gmail.com
barameek436@gmail.com
Keywords: การจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน
การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ
Task-based Instruction
Reading Comprehension
Issue Date:  4
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purposes of this research were: 1) to compare students’ abilities of English reading comprehension before and after the use of task-based instruction to enhance reading comprehension and 2) to survey students’ opinions toward the effect of task-based instruction to enhance reading comprehension. The sample group, selected by purposive sampling technique, comprised 11 sixth-grade students. The instruments used for gathering both quantitative and qualitative data consisted of: 1) lesson plans of task-based instruction, 2) pre-and post-tests of English reading, 3) a questionnaire on students’ opinion towards the activities, 4) an observation form and 5) students’ self-evaluation form completed after receiving the instruction. The percentage, mean, and standard deviation (S.D.) were used to analyze the students’ English reading comprehension abilities before and after the use of task-based instruction. Mean and standard deviation (S.D.) were used to analyze the questionnaire, the observation form, and the self-evaluation form. The duration of this research cover 100 minutes of four-class sessions over four weeks of the experiment. The results of this research were as follows. 1) The students’ English reading comprehension after using the task-based instruction to enhance reading comprehension for Prathomsuksa 6 Students was higher and most of the students cooperated in group work, improved their English communication skills, and helped their classmates improve English in communication. Furthermore, they developed learning strategies by communicating and asking the teacher. 2) The students’ opinion toward the task-based instruction to enhance reading comprehension was highly positive and students found the differences between the traditional methods used in the previous semester and the task-based instruction activities during the experiment. They were engaged in more activities and had opportunities to use the language to complete the tasks, exchange their opinions, and support their classmates to understand the instruction.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนทั้งก่อนและหลังเรียนจากการใช้การจัดการเรียนรู้ที่เน้นภาระงานที่มีต่อการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ที่เน้นภาระงานเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนบ้านหนองสานแตร ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 11 คน ได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ 1) แผนจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษโดยการจัดการเรียนรู้ที่เน้นภาระงานที่มีต่อการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษ 3) แบบวัดความคิดเห็นของผู้เรียนหลังจากเรียนด้วยบทเรียนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นภาระงานที่มีต่อการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ 4) แบบสังเกตผู้เรียนหลังจากเรียนด้วยบทเรียนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นภาระงานที่มีต่อการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ และ5) แบบประเมินตนเองของผู้เรียนหลังจากเรียนด้วยบทเรียนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นภาระงานที่มีต่อการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจการ ผู้วิจัยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในการเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียน จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบวัดความคิดเห็น แบบสังเกตผู้เรียน และแบบประเมินตนเอง ดำเนินการทดลองการใช้การจัดการเรียนรู้ที่เน้นภาระงานที่มีต่อการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ จำนวน 4 บท เป็นเวลา 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 คาบเรียน คาบเรียนละ 50 นาที ผู้เรียนทำแบบสังเกต และผู้วิจัยใช้แบบสังเกตผู้เรียนในการสังเกตพฤติกรรมและสอบถามข้อมูลจากผู้เรียนหลังจากเรียนรู้ ทุกครั้งหลังสอน หลังทำการสอนจนครบ 4 บท ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ในการอ่านภาษาอังกฤษ หลังจากการจัดการเรียนรู้ที่เน้นภาระงานที่มีต่อการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นภาระงานที่มีต่อการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ นอกจากนี้ผู้เรียนเกือบทั้งหมดให้ความร่วมมือในการทำงานกลุ่ม สามารถพัฒนาการใช้ภาษาอังกฤษได้ดีขึ้นและช่วยเพื่อนในการใช้ภาษาอังกฤษได้ดีขึ้น ผู้เรียนได้พัฒนากลยุทธ์การเรียนรู้โดยการสื่อสารและสอบถามประเด็นต่าง ๆ จากผู้สอน  2) ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ที่เน้นภาระงานที่มีต่อการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจมีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นรวมอยู่ในระดับมาก และผู้เรียนพบความแตกต่างระหว่างกิจกรรมการเรียนรู้ในภาคเรียนที่ผ่านมาและกิจกรรมในช่วงทดลองเนื่องจากผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมมากขึ้นและได้มีโอกาสได้ใช้ภาษาในการปฏิบัติงาน แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และได้ช่วยเพื่อนในการเรียนรู้
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4370
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
630620099.pdf3.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.