Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4378
Title: THE DEVELOPMENT OF SCIENCE INSTRUCTIONAL MODEL TO ENHANCE CREATIVE INNOVATION AND INNOVATOR OF UPPER SECONDARY SCHOOL STUDENTS
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมและความเป็นนวัตกรของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
Authors: Rati CHIRANIRATISAI
รติ จิรนิรัติศัย
Chanasith Sithsungnoen
ชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน
Silpakorn University
Chanasith Sithsungnoen
ชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน
sithchon@hotmail.com
sithchon@hotmail.com
Keywords: รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
การสร้างนวัตกรรม
ความเป็นนวัตกร
Science Instructional Model
Creative Innovation
Innovator
Issue Date:  4
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purposes of this study were 1) to develop and find the quality of science instructional model to enhance creative innovation and innovator of upper secondary school students 2) to evaluate the effectiveness of an instructional model as follows: 2.1) achievement 2.2) creative innovation 2.3) innovator 2.4) satisfaction towards instructional model and 3) to disseminate the implementation of the instructional model. The sample of the research were 28 upper secondary school students of Thamakavitthayakom School by simple random sampling. The instruments of the research were the instructional model, usage manual, learning management plan, achievement test, creative innovation assessment form,  innovator assessment form and student satisfaction interview form towards instructional model. Data were collected and analyzed by mean, standard deviation, content analysis, and a dependent t-test The research findings were as follows: 1. The instructional model consisted of 5 components; 1) principle 2) objective 3) instructional process as it can be names KRUVIT model consisting of 6 stages as follows: 3.1) Keenness 3.2) Reviewing 3.3) Utilization 3.4) Viable to Innovation 3.5) Inspection and 3.6) Transference 4) measurement and evaluation 5) factors affecting the success. It was evaluated by experts and found that the appropriateness was at highest level. (M = 4.88, SD = 0.32) 2. The effectiveness of the instructional model were as follows: 2.1) the students’achievement after implementing the instructional model were higher than before attending to the class, 2.2) students have creative innovation at highest level (M = 2.71, SD = 0.46), 2.3) students have innovator at highest level (M = 2.62, SD = 0.48), and 2.4) students have satisfaction towards instructional model at highest level (M = 4.88, SD = 0.32) 3. The effectiveness of disseminating the instructional model were as follows: 3.1) the students’achievement after implementing the instructional model were higher than before attending to the class, 3.2) students have creative innovation at highest level (M = 2.64, SD = 0.48), 2.3) students have innovator at highest level (M = 2.69,SD = 0.46), and 2.4) students have satisfaction towards instructional model at highest level (M = 4.82, SD = 0.38)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาคุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมและความเป็นนวัตกรของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ 2.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2.2) การสร้างนวัตกรรม 2.3) ความเป็นนวัตกร 2.4) ความคิดเห็นของนักเรียน และ 3) ขยายผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนท่ามะกาวิทยาคม ปีการศึกษา 2565 จำนวน 28 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการจัดการเรียนรู้ คู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินการสร้างนวัตกรรม แบบประเมินความเป็นนวัตกร และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย (M) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) และการทดสอบค่าที (t-test) แบบ Dependent ผลการวิจัย พบว่า 1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมและความเป็นนวัตกรของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) จุดมุ่งหมาย 3) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ 3.1) การสร้างความสนใจ (Keenness) 3.2) การสำรวจและค้นหา (Reviewing) 3.3) การสร้างองค์ความรู้ Utilization) 3.4) การนำไปสู่นวัตกรรม (Viable to Innovation) 3.5) การตรวจสอบและประเมินผล (Inspection) และ 3.6) การนำเสนอและเผยแพร่ (Transference) 4) การวัดและประเมินผล และ 5) เงื่อนไขการนำไปใช้ ซึ่งประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิพบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.88, SD = 0.32) 2. ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมและความเป็นนวัตกรของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย พบว่า 2.1) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2) นักเรียนมีการสร้างนวัตกรรม อยู่ในระดับดีมาก (M = 2.71, SD = 0.46) 2.3) นักเรียนมีความเป็นนวัตกร อยู่ในระดับดีมาก (M = 2.62, SD = 0.48) และ 2.4) นักเรียนมีความคิดเห็นต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.88, SD = 0.32) 3. ผลการขยายผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมและความเป็นนวัตกรของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย พบว่า 3.1) นักเรียนกลุ่มขยายผลมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.2) นักเรียนกลุ่มขยายผลมีการสร้างนวัตกรรม อยู่ในระดับดีมาก (M = 2.64, SD = 0.48) 3.3) นักเรียนกลุ่มขยายผลมีความเป็นนวัตกร อยู่ในระดับดีมาก (M = 2.69, SD = 0.46) และ 3.4) นักเรียนกลุ่มขยายผลมีความคิดเห็นต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.82, SD = 0.38)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4378
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
630630003.pdf19.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.