Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4425
Title: THE DEVELOPMENT OF SOLVING MATHEMATICS PROPLEM SKILL USING POLYA TECHNIQUES AND BAR MODEL FOR SIXTH GRADE STUDENTS
การพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคของโพลยาร่วมกับการวาดรูปบาร์โมเดล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Authors: Anuchit KASIRAK
อนุชิต กะสิรักษ์
Suabsagun Yooyuanyong
สืบสกุล อยู่ยืนยง
Silpakorn University
Suabsagun Yooyuanyong
สืบสกุล อยู่ยืนยง
yooynanyong_s@silpakorn.edu
yooynanyong_s@silpakorn.edu
Keywords: การแก้โจทย์ปัญหาการบวก การลบ การคูณ การหาร
เทคนิคของโพลยา
บาร์โมเดล
Problem Solving on Addition Subtraction Multiplication and Division
Polya's Problem Solving
Bar Model
Issue Date:  4
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purposes of this research were to 1) develop lesson plans by using Polya's problem-solving process with the Bar model on Mathematics problem solving; addition, subtraction, multiplication, and division for the sixth-grade students according to the standard criterion of 75/75, 2) develop the sixth-grade students’ learning achievement after studying through Polya's problem-solving process with the Bar model should higher than before studying, 3) compare Mathematics problem-solving skills on addition, subtraction, multiplication, and division of the sixth-grade students after studying through Polya's problem-solving process with the Bar model according to the criterion of 70 percent and 4) survey the sixth-grade students’ satisfaction with Polya's problem-solving process with the Bar model. The research tool was a one group pretest posttest design. The research instruments were 1) lesson plans, 2) a Mathematics problem-solving test, 3) a Mathematics learning achievement test, and 4) a questionnaire to survey the students’ satisfaction toward Polya's problem-solving process with the Bar model. The data were analyzed by mean, standard deviation, t-test for one sample and t-test for dependent sample. The research results revealed the following:1) Lesson plans in the development of mathematics problem-solving skills by using Polya's problem-solving process with the Bar model on Mathematics problem-solving; addition, subtraction, multiplication, and division of the sixth-grade students were significantly higher than the criterion.2) Mathematics learning achievement of the sixth-grade students after studying through Polya's problem-solving process with the Bar model was higher than before studying at the statistical level of .05.3) Mathematics problem-solving skills of the sixth-grade students after studying through Polya's problem-solving process with the Bar model was higher than the criterion of 70 percent at the statistical level of .05.4) Overall, the sixth-grade students’ satisfaction toward Polya's problem-solving process with the Bar model on Mathematics problem solving; addition, subtraction, multiplication, and division for the sixth-grade level for the three aspects was at a good level.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับวาดรูปบาร์โมเดล เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก การลบ การคูณ การหาร และโจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีผลสัมฤทธิ์ตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อพัฒนานักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับการวาดรูปบาร์โมเดล เรื่องโจทย์ปัญหาการบวก การลบ การคูณ การหาร และโจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน ให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก การลบ การคูณ การหารและโจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับการวาดรูปบาร์โมเดล กับเกณฑ์ร้อยละ 70 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยโดยใช้เทคนิคของโพลยาร่วมกับการวาดรูปบาร์โมเดล  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ โดยใช้เทคนิคของโพลยาร่วมกับการวาดรูปบาร์โมเดล เรื่องโจทย์ปัญหาการบวก การลบ การคูณ การหาร และโจทย์ปัญหาการบวก การลบ การคูณ การหารระคน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิคของโพลยาร่วมกับการวาดรูปบาร์โมเดล ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่องโจทย์ปัญหาการบวก การลบ การคูณ การหาร และโจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หาร 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิคของโพลยาร่วมกับการวาดรูปบาร์โมเดล ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิคของโพลยาร่วมกับการวาดรูปบาร์โมเดล  ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่องโจทย์ปัญหาการบวก การลบ การคูณ การหาร และโจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test for one sample และ t-test for dependent sample ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับการวาดรูปบาร์โมเดล เรื่อง การพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ด้วยการจัดการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิคของโพลยาร่วมกับการวาดรูปบาร์โมเดล สำหรับนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับการวาดรูปบาร์โมเดล ซึ่งมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหา การบวก การลบ การคูณ การหารและโจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน ของนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับการวาดรูปบาร์โมเดลสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ผลจากการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่ต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยโดยใช้เทคนิคของโพลยาร่วมกับการวาดรูปบาร์โมเดล ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่องโจทย์ปัญหาการบวก การลบ การคูณ การหาร และโจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจรวมทั้งสามด้านนั้น อยู่ในระดับมาก
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4425
Appears in Collections:Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61316313.pdf9.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.