Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4480
Title: Participatory Management Guidelines for Automatic Drinking Water Vending Machine Operation, Phetchabun Province
แนวทางการจัดการการประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญอัตโนมัติแบบมีส่วนร่วมจังหวัดเพชรบูรณ์
Authors: Namthip MOOMMALA
น้ำทิพย์ มุมมาลา
NATTIYA KAPOL
ณัฏฐิญา ค้าผล
Silpakorn University
NATTIYA KAPOL
ณัฏฐิญา ค้าผล
KAPOL_N@su.ac.th
KAPOL_N@su.ac.th
Keywords: แนวทางการจัดการ
การประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญอัตโนมัติ
แบบมีส่วนร่วม
MANAGEMENT GUIDELINE
AUTOMATIC DRINKING WATER VENDING MACHINE OPERATING
PARTICIPATORY
Issue Date:  4
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purpose of this research is to study how to manage the operation of automatic drinking water vending machines (ADWVM) in Phetchabun Province. This research used mixed methods consisting of 1) quantitative research that surveyed the sanitary situation of ADWVMs and the quality of water produced from ADWVMs in 7 local government organization areas and 2) qualitative research that used focus group discussion between every stakeholder involved. The research tools used were ADWVM situation record form and questions. The data collected were analyzed using descriptive statistics including percentages and means, along with content analysis from focus group discussion. The study found that 83 of 95 (87.4%) installed ADWVMs were usable, that the amount of business operation between private and village committees did not differ, and that 85 of 95 (89.5%) machines were the type installed on the ground. The most unsanitary item was the quality control of water produced from ADWVMs, followed by maintenance and cleaning of ADWVMs and label presentation on the ADWVMs. The results of water quality analysis collected from ADWVMs show that out of 83 samples tested, 70 (84.3%) did not meet legal standards. The parameter that most frequently exceeded standards was water hardness (71.1%), followed by total dissolved solids (65.1%) and coliform bacteria (36.1%). This study on the participatory management guidelines for ADWVM operation found that proper guidelines for the entrepreneur sector in every area is to 1) collect samples of drinking water routinely from ADWVMs to have it laboratory analyzed in the parameters agreed in each area and also have it analyzed using easy-to-use test kits in the frequency agreed in each area; 2) clean all water dispensers, surfaces, and drains daily and rinse the water tank every month; and 3) show up-to-date information on filter and instrument changes and maintenance of the machines. The proper guidelines for local government organization personnel are to 1) make the business operators’ duty stated in the local law a criterion for issuing or renewing ADWVM business licenses, 2) deliver drinking water samples collected from the ADWVMs to laboratories for the entrepreneurs, 3) publicize the proper selection and the appropriate usage of ADWVMs to consumers, and 4) establish the channels to publicize criteria on how to apply for ADWVM business licenses. The proper guideline for local ministry of health personnel is to assist the local government organization personnel when performing duties involving ADWVM operation.  The proper guidelines for the consumer sector are to 1) publicize the proper usage of ADWVMs to other consumers, 2) inform the entrepreneurs when their ADWVMs are unsanitary, and 3) inform the local government organization personnel when new ADWVMs are found in the area. This research was successful in achieving an acceptable, practical, and economically reasonable participatory management guideline of ADWVM operation that was also in accordance with the law for all involved sectors.
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการการประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญอัตโนมัติแบบมีส่วนร่วมจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณทำการสำรวจสถานการณ์สุขลักษณะของตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญอัตโนมัติและคุณภาพของน้ำดื่มจากตู้หยอดเหรียญอัตโนมัติในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จำนวน 7 แห่ง และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้กระบวนการสนทนากลุ่มระหว่างผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลสถานการณ์ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญอัตโนมัติ และข้อคำถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาในการสนทนากลุ่ม ผลการศึกษาพบว่า ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญอัตโนมัติสามารถใช้งานได้ 83 ตู้ จากทั้งหมด 95 ตู้ คิดเป็นร้อยละ 87.4 การประกอบกิจการในรูปแบบเอกชนและคณะกรรมการหมู่บ้านในจำนวนที่ใกล้เคียงกัน และเป็นตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญอัตโนมัติประเภทแบบติดตั้งบนพื้น จำนวน 85 ตู้ คิดเป็นร้อยละ 89.5 หัวข้อที่ไม่ผ่านเกณฑ์สุขลักษณะมากที่สุด ได้แก่ การควบคุมคุณภาพมาตรฐานน้ำบริโภคจากตู้หยอดเหรียญอัตโนมัติ รองลงมา ได้แก่ การบำรุงรักษาและการทำความสะอาดตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญอัตโนมัติ และการแสดงฉลากบนตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญอัตโนมัติ ตามลำดับ ผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำดื่มจากตู้หยอดเหรียญอัตโนมัติ พบว่าไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 70 ตัวอย่าง จากทั้งหมด 83 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 84.3 หัวข้อที่พบไม่ผ่านเกณฑ์มากที่สุด ได้แก่ ความกระด้าง ร้อยละ 71.1 รองลงมา ได้แก่ ปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายน้ำ ร้อยละ 65.1 และเชื้อจุลินทรีย์โคลิฟอร์ม ร้อยละ 36.1 ตามลำดับ การศึกษาแนวทางการจัดการการประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญอัตโนมัติแบบมีส่วนร่วมนี้ พบว่าแนวปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญอัตโนมัติที่เหมาะสม แต่ละพื้นที่มีการกำหนดให้ผู้ประกอบกิจการต้องปรับปรุงสุขลักษณะที่พบไม่ผ่านเกณฑ์ โดยมีการกำหนด 1) เก็บตัวอย่างน้ำดื่มจากตู้หยอดเหรียญอัตโนมัติส่งตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ในหัวข้อที่เป็นข้อตกลงของพื้นที่ และตรวจวิเคราะห์ด้วยชุดตรวจอย่างง่าย ในความถี่ที่เป็นข้อตกลงของพื้นที่ 2) ทำความสะอาดหัวจ่ายน้ำ พื้นผิวตู้ และช่องระบายน้ำทุกวัน ล้างถังพักน้ำอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง และต้องมีฝาปิดช่องจ่ายน้ำที่สะอาด ไม่ชำรุด และพร้อมใช้งาน และ 3) แสดงวัน เดือน ปี ที่เปลี่ยนไส้กรองแต่ละชนิด ให้ครบถ้วนและเป็นปัจจุบันทุกราย แนวปฏิบัติสำหรับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในส่วนของเจ้าหน้าที่ อปท. ได้แก่ 1) กำหนดหลักเกณฑ์ที่ผู้ประกอบกิจการต้องปฏิบัติตามแนวปฏิบัติของผู้ประกอบกิจการเป็นเงื่อนไขในการออกใบอนุญาตหรือต่ออายุใบอนุญาต 2) นำส่งตัวอย่างน้ำดื่มตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการให้แก่ผู้ประกอบกิจการ 3) ประชาสัมพันธ์วิธีการเลือกและวิธีใช้บริการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญอัตโนมัติที่ถูกต้องให้แก่ผู้บริโภค และ 4) กำหนดช่องทางประชาสัมพันธ์หลักเกณฑ์การขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญอัตโนมัติได้ทราบ แนวปฏิบัติของเจ้าหน้าที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุขในพื้นที่ ได้แก่ ออกปฏิบัติงานร่วมกับ อปท. เมื่อได้รับการประสานงาน แนวปฏิบัติของผู้บริโภค 1) ประชาสัมพันธ์วิธีใช้ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญอัตโนมัติที่ถูกต้องให้แก่ผู้บริโภครายอื่น ๆ ได้ทราบ 2) แจ้งผู้ประกอบกิจการเมื่อพบตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญอัตโนมัติไม่ถูกสุขลักษณะ และ 3) ช่วยแจ้งเบาะแสแก่ อปท. เมื่อพบตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญอัตโนมัติใหม่ในพื้นที่ ผู้วิจัยประสบความสำเร็จในการมีส่วนร่วมดำเนินการจัดทำแนวทางการจัดการการประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญอัตโนมัติจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง อันเป็นที่ยอมรับของพื้นที่ สามารถปฏิบัติได้จริง มีความสมเหตุผลทางด้านเศรษฐศาสตร์ และเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4480
Appears in Collections:Pharmacy

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
620820031.pdf3.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.