Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4541
Title: | Impact and Adjustment of Food and Beverage Restaurant Business Operation At COVID-19 Crisis Situation ผลกระทบและการปรับตัวของการดำเนินธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่ม ในสภาวะวิกฤติจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 |
Authors: | Tanawat MANGWAHA ธนวรรธน์ เหม่งเวหา Pitak Siriwong พิทักษ์ ศิริวงศ์ Silpakorn University Pitak Siriwong พิทักษ์ ศิริวงศ์ innjun@yahoo.com innjun@yahoo.com |
Issue Date: | 4 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | The purpose of research was to study the impact and adaptation of food and beverage business operation in a critical situation caused by the Coronavirus Disease 2019 (COVID-19), which is qualitative research conducted to study the impact and adaptation with a case study. The key informants are food and beverage business entrepreneurs. The research was conducted to collect data from interviews and observations, including information from literature and theory to be analyzed to conclusions according to the objective. The situation of the spread of the Coronavirus Disease 2019, is considered an urgent crisis that affects all over the world including Thailand, the rapid spread of the disease affected the economy. Therefore, measures are needed to control the situation of the disease. There are limitations in many aspects. As a result, many business sectors are affected and some businesses are forced to shut down. Entrepreneurs must find new ways to adapt for the business can continue. There is also a general behavioral adaptation of people which affects business operation. The research study found that food and beverage business, which is a part of business in the service industry, has been directly affected by the spread of the disease control measures. Consumer behavior changes affect profits and income but at the same time, some costs remain constant. Therefore, it is necessary to adjust for continuing the business in the face of the crisis. However, the adjustment of entrepreneurs must be primarily concerned with their business model. This will require a strategy adjustment, employee role restructure, and additional channels to modify communication with customers in response to consumer behavior and changing situations. การวิจัยครั้งนี้ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบและการปรับตัวของการดำเนินธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่ม ในสภาวะวิกฤตจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งเป็นการดำเนินการวิจัยในรูปแบบเชิงคุณภาพโดยศึกษาเรื่องผลกระทบและการปรับตัว ด้วยวิธีวิทยาการศึกษากรณีเฉพาะ (Case Study Approach) ซึ่งผู้ให้ข้อมูลหลักเป็น ผู้ประกอบการในธุรกิจบริการประเภทร้านอาหารและเครื่องดื่ม มีการดำเนินการวิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์และสังเกตการณ์ รวมทั้งการรวบรวมข้อมูลจากวรรณกรรม ทฤษฎี เพื่อนำมาวิเคราะห์หาข้อสรุปตามวัตถุประสงค์ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ถือเป็นวิกฤตเร่งด่วนที่กระทบไปทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย การกระจายแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของโรคส่งผลต่อสภาพเศรษฐกิจ จึงจำเป็นต้องมีมาตรการเพื่อควบคุมสถานการณ์ของโรค มีข้อจำกัดในหลากหลายด้านเกิดขึ้นเป็นผลให้ภาคธุรกิจมากมายได้รับผลกระทบบางธุรกิจจำเป็นต้องปิดกิจการลง ผู้ประกอบการจึงต้องหาวิธีการแนวทางใหม่ ๆ ในการปรับตัวเพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินการต่อไปได้ นอกจากนี้ยังมีการปรับตัวทางพฤติกรรมของประชาชนโดยทั่วไป ซึ่งส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจ และจากผลการวิจัยครั้งนี้พบว่าธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่มซึ่งเป็นธุรกิจประเภทหนึ่งในภาคอุตสาหกรรมบริการได้รับผลกระทบโดยตรงจากมาตรการควบคุมการกระจายแพร่ระบาดของโรค และจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ปรับเปลี่ยนไป ส่งผลต่อกำไรและรายได้ แต่ในขณะเดียวกันต้นทุนบางอย่างยังคงที่ จึงจำเป็นต้องมีการปรับตัวเพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ในสภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้น ทั้งนี้การปรับตัวของผู้ประกอบการจะต้องคำนึงถึงรูปแบบธุรกิจของตนเป็นหลัก โดยจะต้องมีการปรับกลยุทธ์ ปรับโครงสร้าง บทบาทการทำงานของพนักงาน มีการเพิ่มช่องทางปรับเปลี่ยนการสื่อสารกับกลุ่มลูกค้าให้ตอบสนองต่อพฤติกรรมผู้บริโภคและสถานการณ์ที่ปรับเปลี่ยนไป |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4541 |
Appears in Collections: | Management Sciences |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
641220001.pdf | 3.47 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.