Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/456
Title: ผลการใช้สื่อมัลติมีเดียร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปาที่มีต่อการเรียนรู้และเจตคติของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง ภาษาถิ่นเมืองเพชรบุรี
Other Titles: THE EFFECT OF UTILIZING THE MULTIMEDIA WITH LEARNING ACTIVITIES CIPPA PROCESS EFFECTING THE LEARNING OUTCOMES AND ATTITUDES OF PRATHOM-SUKSA 3 STUDENTS THAI LANGUAGE LEARNING SUBJECT DIALECT OF PHETCHABURI.
Authors: เพนเทศ, รัตน์ติกานต์
PENTED, RATTIGAN
Keywords: มัลติมีเดีย
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปา
ภาษาถิ่นเมืองเพชรบุรี
MULTIMEDIA
CIPPA MODEL
DIALECT OF PHETCHABURI
Issue Date: 3-Aug-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของสื่อมัลติมีเดียร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปา วิชาภาษาไทย เรื่อง ภาษาถิ่นเมืองเพชรบุรี 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ก่อนเรียนกับหลังเรียนของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยสื่อมัลติมีเดียร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปา วิชาภาษาไทย เรื่อง ภาษาถิ่นเมืองเพชรบุรี 3)เพื่อศึกษาเจคติของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 3 ต่อการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง ภาษาถิ่นเมืองเพชรบุรี 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อสื่อมัลติมีเดีย ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปา วิชาภาษาไทย เรื่อง ภาษาถิ่นเมืองเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอรุณประดิษฐ จังหวัดเพชรบุรี ปีการศึกษา 2558 จำนวน 30 คน ที่ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สำหรับผู้เชี่ยวชาญ ด้านภาษาถิ่นจังหวัดเพชรบุรีและด้านการออกแบบสื่อมัลติมีเดีย 2) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง “ภาษาถิ่นเมืองเพชรบุรี” 3) สื่อมัลติมีเดีย วิชาภาษาไทย เรื่อง “ภาษาถิ่นเมืองเพชรบุรี” 4) แบบประเมินคุณภาพสื่อมัลติมีเดียร่วมกับการจัดกิจกรรมเรียนรู้แบบ ซิปปา วิชาภาษาไทยเรื่อง “ภาษาถิ่นเมืองเพชรบุรี” 5) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง “ภาษาถิ่นเมืองเพชรบุรี” 6) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อมัลติมีเดียร่วมกับการจัดกิจกรรมเรียนรู้แบบซิปปา เรื่อง “ภาษาถิ่นเมืองเพชรบุรี” 7) แบบวัดเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนวิชาภาษาไทย โดยใช้สื่อมัลติมีเดียร่วมกับการจัดกิจกรรมเรียนรู้แบบซิปปา เรื่อง “ภาษาถิ่นเมืองเพชรบุรี” การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( x ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบแบบที (t-test) แบบ Dependent ผลการวิจัยพบว่า 1. สื่อมัลติมีเดียร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปา วิชาภาษาไทย เรื่อง ภาษาถิ่นเมืองเพชรบุรี ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 82.90/80.22 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่ได้ตั้งสมมติฐานไว้ 2. ผลการเรียนรู้ก่อนเรียนกับหลังเรียนของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยสื่อมัลติมีเดียร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปา วิชาภาษาไทย เรื่อง ภาษาถิ่นเมืองเพชรบุรี หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. เจคติของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 3 ต่อการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง ภาษาถิ่นเมืองเพชรบุรี อยู่ในระดับมากที่สุด ( x = 4.54, S.D. = 0.67) 4. ความพึงพอใจของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อสื่อมัลติมีเดีย ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปา วิชาภาษาไทย เรื่อง ภาษาถิ่นเมืองเพชรบุรี อยู่ในระดับมากที่สุด ( x = 4.66, S.D. = 0.57) The purposes of this research were 1) to find out a efficiency of the multimedia with learning activities cippa process, to learn dialect of Phetchaburi 2) to compare learning achievement before and after learning of Prathom-suksa 3 Students to learning multimedia with activies cippa process to learn dialect of Phetchaburi 3) to study students’ attitudes toward learning the Thai language subject dialect of Phetchaburi. 4) to study students’ satisfaction toward the multimedia with activities cippa process to learn dialect of Phetchaburi. The sample of this research were 30 students of Prathom-suksa 3 students of Aroonpradit School, academic year 2015 Acquired by simple random sampling. The instruments used for researching were : 1) Structured interview. 2) lesson plans. 3) multimedia learning dialect of Phetchaburi. 4) Multimedia Performance assessment form. 5) learning achievement tests. 6) Student’s satisfaction testing form. 7) Student’s attitudes testing form. The data were statistically analyzed by using percentage (%), arithmetic mean ( ), standard deviation (S.D.) t-test of dependent. The research findings were as follows: 1. The multimedia with activities cippa process learning dialect of Phetchaburi efficieney at the level of 82.90/80.22 2. The learning achievement pre-test and post-test of prathom-suksa 3 students to learn by the multimedia with activities cippa process learning dialect of Phetchaburi found that the post learning achievement is higher than the pre learning achievement, be statistically significant difference at the level of .05 3. The Students’s Attitudes toward learning the dialect of Phetchaburi were at the most Level ( x = 4.54, S.D. = 0.67) 4. The Students’s Satisfaction toward the multimedia with activities cippa process learning dialect of Phetchaburi were at the most Level ( x = 4.66, S.D. = 0.57)
Description: 54257409 ; สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา -- รัตน์ติกานต์ เพนเทศ
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/456
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
54257409 รัตน์ติกานต์ เพนเทศ.pdf8.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.