Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4596
Title: PRESSURE SENSITIVE ADHESIVE TAPE REMOVAL FROM MASTERS ARCHITECTURAL DRAWINGS
การขจัดเทปกาวบนแบบสถาปัตยกรรมของสถาปนิกชั้นครู
Authors: Peerapat SUMRAN
พีระพัฒน์ สำราญ
Kannika Suteerattanapirom
กรรณิการ์ สุธีรัตนาภิรมย์
Silpakorn University
Kannika Suteerattanapirom
กรรณิการ์ สุธีรัตนาภิรมย์
nnikas@hotmail.com
nnikas@hotmail.com
Keywords: การขจัดเทปกาว
แบบสถาปัตยกรรมของสถาปนิกชั้นครู
Removing pressure sensitive tape
Masters Architectural Drawings
Issue Date:  4
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purpose of this study was to find a solution to the issue of adhesives tape's impact on the master architectural designs in the Thai Architectural Art Institute's collection, which consists of 5 works and is peculiar to the kinds of architectural drawings made on wax paper. or transparent paper and offer recommendations for protecting artwork in accordance with preventative conservation principles. being used as a planning tool for the future protection of architectural designs kept in the institute's archives. scientific analysis results It turned out to be a clear tape made of cellophane, acrylic and rubber. Experiments and practices in conservation made use of a variety of approaches and problem-solving methodologies. The rate of glue breakdown varies depending on the type of adhesive tape and how it appears. using four formulations' worth of ingredients as a help (Solvent A, B, C, and D) Each recipe produced unique outcomes, and (Solvent A) produced good results for the new sticky tape. nevertheless ineffective on ancient glue stains. (Solvent B) is effective for old masking tape that has a highly sticky residue. Both (Solvent C) and (Solvent D) work well with used masking tape. To maintain it clean, it has to be frequently cleaned with a cotton swab. but leave a faint shadow, after which it was framed. In accordance with the idea of preventative conservation, strengthen the support plate to ensure its durability when being moved and stored in various ways.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาผลกระทบจากเทปกาวที่มีต่อแบบสถาปัตยกรรมชั้นครูในคลังสะสมของสถาบันศิลปะสถาปัตยกรรมไทยเฉลิมพระเกียรติ และเสนอแนวทางจัดเก็บรักษาตามหลักการอนุรักษ์เชิงป้องกัน เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนดำเนินงานอนุรักษ์แบบสถาปัตยกรรมที่จัดเก็บอยู่ในคลังของสถาบันฯ ต่อไปในอนาคต จากการวิจัยพบว่า ผลงานออกแบบสถาปัตยกรรมไทยและศิลปกรรมไทย จากคลังสะสมของสถาบันศิลปสถาปัตยกรรมไทยเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับมอบจากอาจารย์ประเวศ ลิมปรังษี ซึ่งมีทั้งผลงานของท่านเองและรับมาจากครูรุ่นก่อนในกรมศิลปากร มีอายุ 50 - 100 ปี จัดเก็บซ้อนทับและม้วนใส่ในลังไม้ จากการสำรวจจัดทำทะเบียนพบว่าชำรุดเสียหายด้วยปัญหาต่าง ๆ ทั้งจากการเสื่อมสภาพของวัสดุเอง ตลอดจนการนำไปใช้งาน ปัญหาสำคัญจากการดูแลจัดเก็บผลงานที่ผ่านมา คือ การเสื่อมสภาพของเทปกาวที่ใช้ในอดีต สำหรับติดปะซ่อมแซมรอยฉีกขาดบนกระดาษและการยึดติดผลงานกับวัสดุรองรับด้วยเทปชนิดต่าง ๆ ซึ่งส่งผลกระทบมาสู่ผลงาน ผู้วิจัยคัดเลือกตัวอย่างจำนวน 5 ผลงาน เฉพาะประเภทที่เขียนลงบนกระดาษไข หรือกระดาษโปร่งแสง ผลการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ พบว่าเทปกาวที่นำมาใช้ซ่อมแซมรอยฉีกขาดบนกระดาษไขใช้เทปใส ซึ่งมีส่วนประกอบของกาวยาง, อะครีลิค และเซลโลเฟน จากกระบวนการทดลองและปฏิบัติงานอนุรักษ์ใช้วิธีการแก้ปัญหาร่วมกันหลายขั้นตอน ขึ้นอยู่กับลักษณะของเทปกาวและคราบกาวบนกระดาษที่เสื่อมสภาพแตกต่างกัน โดยใช้ตัวทำละลาย (solvent) เป็นตัวช่วยจำนวน 4 สูตร (solvent A, B, C และ D) แต่ละชนิดให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันทั้ง (solvent A) ได้ผลดีสำหรับเทปกาวใหม่ แต่ไม่ได้ผลกับคราบกาวเก่า (solvent B) ได้ผลดีสำหรับเทปกาวเก่าที่มีปัญหาคราบเหนียวมาก แต่มีกลิ่นระเหยรุนแรง (solvent C) ได้ผลดีสำหรับเทปกาวเก่า และ (solvent D) ได้ผลดีสำหรับเทปกาวเก่า ต้องใช้สำลีเช็ดซ้ำหลายครั้งจึงสะอาด แต่ทิ้งความเงาเล็กน้อย จากนั้นจึงได้นำผลงานแบบสถาปัตยกรรมเข้ากรอบผลงาน เสริมแผ่นรองรับเพื่อความแข็งแรงในการเคลื่อนย้ายและจัดเก็บตามหลักการอนุรักษ์เชิงป้องกันต่อไป
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4596
Appears in Collections:Painting Sculpture and Graphic Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61904203.pdf14.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.