Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4601
Title: The study on deterioration and conservation of Niello ware. case studies of Wat Rajathiwasvihara, Bangkok.
การศึกษาความเสื่อมสภาพและการอนุรักษ์เครื่องถม กรณีศึกษาของวัดราชาธิวาสวิหาร กรุงเทพมหานคร
Authors: Janjittra VANGSAN
จันทร์จิตรา แวงแสน
Radchada Buntem
รัชฎา บุญเต็ม
Silpakorn University
Radchada Buntem
รัชฎา บุญเต็ม
Buntem_R@su.ac.th
Buntem_R@su.ac.th
Keywords: เครื่องถม
ความเสื่อมสภาพของโลหะ
สนิมโลหะ
Niello wares
Metal deterioration
Metal rust
Issue Date:  4
Publisher: Silpakorn University
Abstract:           The niello wares are the important Thai artworks using various techniques. The conservation of these objects helps keep and maintain these prestigious artistic techniques. In this research, study on the causes of deteriorations and rust formation on the neillo wares of Wat Rajathiwasvihara, Bangkok, including the plausible way of conservation is performed. After thorough investigation on one set of niello objects (4 pieces), the deteriorations like scratch, stain, discoloring of the metal and metal rust were found all over the surface. These chemical changes occurred both inside and outside. The details were recorded in the condition report composed of general information and object conditions. The images were recorded by digital camera and portable digital microscope in order to analyze the detailed deterioration. On the silver metallic area, the black rust, defective traces, long scratches including green, brown rusts.  While in the niello area, the detachment and bubbles including green, white and brown rusts were found all over the surface. The sampling on the surface of the niello wares was performed for SEM-EDX to study on the morphology and elemental composition of rust. Cu, Ag and S were found on the surface of niello wares. The new silver and gold niello models were prepared in order to study on the materials and detailed techniques. The model samples were kept in 100% RH container for 105 days. Rusts in green (copper(II) oxide), white (lead(II) oxide) and brown (Silver(I) oxide) colors were observed all over the model samples as evidenced from a portable digital microscope. Hydrogel was applied to clean rust on the niello surface. The EDX analysis on the hydrogel after cleaning show the existence of elements used in making niello model.  The plausible preventive conservation for the niello wares is to keep them in a controllable relative humidity (< 60%) and dustless place.
          เครื่องถมโบราณเป็นงานศิลปกรรมที่มีความสำคัญของไทย ใช้เทคนิคเชิงช่างที่หลากหลาย การอนุรักษ์วัตถุโบราณเหล่านี้จะเป็นการสืบสานเทคนิคเชิงช่างชั้นสูงนี้ให้คงอยู่ ขั้นตอนที่สำคัญของการอนุรักษ์คือการศึกษาความเสื่อมสภาพ ในงานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความเสื่อมสภาพ สนิมที่เกิดขึ้นบนเครื่องถมและหาแนวทางการอนุรักษ์เครื่องถมของวัดราชาธิวาสวิหาร กรุงเทพมหานคร โดยการสำรวจเครื่องถม 1 ชุดมี 4 ชิ้น พบว่ามีรอยขีดข่วน คราบสกปรก การเปลี่ยนเฉดสีของโลหะ สนิมโลหะ การเปลี่ยนแปลงทางเคมีทั้งในและนอกวัตถุ รายละเอียดของเครื่องถมถูกเก็บในบันทึกรายงานความเสื่อมสภาพ โดยรายงานจะประกอบไปด้วยข้อมูลเบื้องต้น สภาพของวัตถุ ภาพถ่ายถูกบันทึกด้วยกล้องดิจิตอล และกล้อง Portable Digital Microscope เพื่อนำมาวิเคราะห์รายละเอียดความเสื่อมสภาพ พบว่าพื้นผิวบริเวณในส่วนของเนื้อเงินมีคราบสกปรกหนา พบร่องรอยชำรุด รอยขูดขีดเป็นแนวยาว พบคราบสนิมสีเขียว น้ำตาล และพื้นผิวบริเวณยาถม จะพบร่องรอยการกะเทาะ รอยเดือดของยาถม มีคราบสนิมสีเขียว,ขาว,น้ำตาล ในการสำรวจเครื่องถมได้ทำการเก็บตัวอย่างบริเวณที่มีคราบบนเครื่องถมเพื่อนำไปวิเคราะห์ด้วยเทคนิค Scanning Electron Microscopy-Energy Dispersive X-ray (SEM-EDX) เพื่อตรวจสอบลักษณะพื้นผิวและชนิดของสนิมบนพื้นผิวของเครื่องถม พบสนิมของ Cu และ Ag รวมทั้งพบธาตุ S ซึ่งเป็นองค์ประกอบของยาถม           นอกจากนี้ยังได้ผลิตเครื่องถมตัวอย่างเพื่อศึกษาวัสดุและกระบวนการในการทำเครื่องถมเงินและถมทอง จากนั้นได้นำตัวอย่างเครื่องถมมาจำลองการเกิดสนิมในโถความชื้น (100% RH)  เป็นเวลา 105 วัน พบการเกิดสนิทกระจายทั่วบริเวณชิ้นงาน การทำความสะอาดเครื่องถมวัดราชาธิวาสวิหาร กรุงเทพมหานครมีการทำความสะอาดเบื้องต้นโดยใช้ไฮโดรเจล ตรวจสอบพื้นผิวของเครื่องถม (ก่อนและหลังทำความสะอาดด้วยไฮโดรเจล) ด้วยกล้อง Portable Digital Microscope พบว่าเครื่องถมที่จำลองความชื้นนั้นเกิดสนิมสีเขียว (สนิมทองแดง) ขาว (สนิมตะกั่ว) และสีน้ำตาล (สนิมเงิน) กระจายทั่วทั้งบริเวณ ตรวจสอบไฮโดรเจลหลังดูดสนิมจากเครื่องถมด้วยเทคนิค Energy Dispersive X-ray (EDX) พบว่าคราบสนิมที่เกิดขึ้นบนเครื่องถมนั้นเป็นธาตุเดียวกันกับวัสดุที่นำมาผลิต อีกทั้งยังพบว่าเครื่องถมวัดราชาธิวาสวิหาร กรุงเทพมหานครนั้นเป็นเครื่องถมทอง แนวทางการอนุรักษ์เชิงป้องกันเครื่องถมคือการเก็บในสถานที่ที่มีการควบคุมความชื้น (ความชื้นสัมพัทธ์น้อยกว่า 60 %) และปลอดฝุ่น
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4601
Appears in Collections:Painting Sculpture and Graphic Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
626020002.pdf13.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.