Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4605
Title: | Representation of Women on Nazi Party’s Propaganda Poster During 1933-1945 ภาพตัวแทนของผู้หญิงที่ปรากฏบนโปสเตอร์โฆษณาชวนเชื่อของพรรคนาซี ค.ศ.1933 - 1945 |
Authors: | Putamaporn POOLPERM พุทธมาพร พูลเพิ่ม Chaiyosh Isavorapant ชัยยศ อิษฎ์วรพันธุ์ Silpakorn University Chaiyosh Isavorapant ชัยยศ อิษฎ์วรพันธุ์ chaiyosh@gmail.com chaiyosh@gmail.com |
Keywords: | การโฆษณาชวนเชื่อทางการเมือง โปสเตอร์ ผู้หญิง พรรคนาซี ภาพตัวแทน Political Propaganda Poster Women Nazi Party Representation |
Issue Date: | 4 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | The objectives of this research were to study the concepts, styles and factors that influenced the presentation of female representation on the Nazi Party's political propaganda posters from 1933 - 1945 and analyze the meaning of female representation that appeared on the Nazi Party political propaganda posters from 1933 - 1945. The sample was 18 Nazi Party's political propaganda posters from 1933 - 1945 depicting the roles of mother, the League of German Girls, athletes, government officers, nurses and farmers by choosing to examine 3 of the posters for each role.
Stuart Hall's theory of representation was used for analysis focusing on the concept of constructionist approach along with studying the events that occurred in Germany during that period and the art styles that were used to create the posters.
The finding of the research revealed that female representation appearing on the Nazi Party-political propaganda posters from 1933 – 1945 was created the meaning from image and language perceived within society. It is mainly related to the Nazi Party's concepts and policies regarding the Aryan race that women should be taking care of their children, being good wives and supporting males. As for the art styles, there is a variety appearing such as realism, romanticism, heroic realistic, Art Deco, Art Nouveau and Film Noir where the common feature can be seen as realistic portraits to convey the integrity and distinctive characteristics of the Aryan race. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิด รูปแบบ และปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำเสนอภาพตัวแทนของผู้หญิงบนโปสเตอร์โฆษณาชวนเชื่อทางการเมืองของพรรคนาซีในช่วง ค.ศ.1933 – 1945 2) วิเคราะห์ความหมายของภาพตัวแทนของผู้หญิงที่ปรากฎบนโปสเตอร์โฆษณาชวนเชื่อทางการเมืองของพรรคนาซีในช่วง ค.ศ.1933 – 1945 โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือโปสเตอร์โฆษณาชวนเชื่อทางการเมืองของพรรคนาซีในปี 1933 – 1945 ที่ปรากฏบทบาทแม่ ยุวชนหญิงเยอรมัน นักกีฬา บุคลากรของรัฐ พยาบาล และชาวนาหรือเกษตรกร โดยเลือกศึกษาบทบาทละ 3 ภาพ รวมทั้งสิ้น 18 ภาพ โดยจะทำการศึกษาวิเคราะห์ผ่านทฤษฎีภาพตัวแทนของสจวร์ต ฮอลล์ โดยมุ่งเน้นในแนวทางการประกอบสร้างความหมายควบคู่ไปกับการศึกษาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศเยอรมนีในช่วงเวลาดังกล่าว รวมไปถึงศึกษาด้านรูปแบบทางศิลปะที่ถูกนำมาสร้างเป็นโปสเตอร์ จากการศึกษาวิจัยค้นพบว่าภาพตัวแทนผู้หญิงที่ปรากฏบนโปสเตอร์โฆษณาชวนเชื่อทางการเมืองของพรรคนาซีในปี 1933 – 1945 นั้นเป็นการประกอบสร้างความหมายขึ้นผ่านภาพและภาษาให้เป็นที่รับรู้กันภายในสังคม โดยเนื้อหาของภาพมีความสอดคล้องเชื่อมโยงกับแนวคิด และนโยบายของพรรคเกี่ยวกับเชื้อชาติอารยันบริสุทธิ์เป็นหลัก ผู้หญิงให้ความหมายในการดูแลลูก เป็นภรรยาที่ดี ผู้ที่คอยสนับสนุนและช่วยเหลือเพศชาย ส่วนรูปแบบทางศิลปะที่ปรากฏนั้นค่อนข้างหลากหลาย อาทิ รูปแบบสัจนิยม โรแมนติก วีรบุรุษสัจนิยม อาร์ต เดโก อาร์ต นูโว ฟิล์มนัวร์ ซึ่งลักษณะร่วมของรูปแบบที่กล่าวมาข้างต้นนั้นจะเห็นได้ว่าเป็นภาพคนที่ดูสมจริง เพื่อถ่ายทอดความสมบูรณ์และลักษณะเด่นของเชื้อชาติอารยัน |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4605 |
Appears in Collections: | Painting Sculpture and Graphic Arts |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
630120031.pdf | 5.86 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.