Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4626
Title: | Cultural Sustainability Assessment Framework for Buildings กรอบการประเมินความยั่งยืนของอาคารจากมิติทางวัฒนธรรม |
Authors: | Sulawun THANJAICHON สุลาวัลย์ ทันใจชน Pimolsiri Prajongsan พิมลศิริ ประจงสาร Silpakorn University Pimolsiri Prajongsan พิมลศิริ ประจงสาร PRAJONGSAN_P@SILPAKORN.EDU PRAJONGSAN_P@SILPAKORN.EDU |
Keywords: | เกณฑ์การประเมินอาคาร เกณฑ์การประเมินความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อมไทย ความยั่งยืน การพัฒนาที่ยั่งยืน วัฒนธรรม Building Assessments TREES Sustainability Sustainable Development Culture |
Issue Date: | 4 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | The study of building sustainable assessment from a culture dimension for developing and presenting tools in building sustainability assessment through culture dimension focuses on supporting the design building industry with culture building considerations, especially small and low-cost buildings, by four steps. The first is reviewing the issues and restrictions of building assessment criteria present. The study of building assessment criteria indicators nowadays compares with four mains of sustainability. The last steps are the development of alternatives and the estimation of the criteria presented. The findings of a survey of 25 people about the criteria presented in the questionnaire discovered that the criteria's goal is to save power and lessen environmental consequences, including increasing the level of credibility and the overall image of the organization. Also, prioritize this item above the project's sustainability and social impact. The majority of respondents agree with the criteria that pay attention to environmental issues (68 percent), followed by community and local development (64 percent), spatial context diversity consideration, and local culture (60 percent). Also included in the criteria are geography (64 percent), compatibility with the way of life, and spatial context. Respondents agree with the local employment and identity issue, although not as much as the environmental issue (24 percent). Moreover, the specialist recommends more conceptual criteria idea should have that “It should have sustainability assessment from beginning of every architectural element is pure.” Also, the specialist mentioned the criteria characteristics at present that “too much consider about efficiency, and overlooking about building sustainability, environmental, society, local context, and appropriate technology with the project.” The study indicated that almost all building assessment criteria currently pay attention to ecology, with the main criteria setting the comprehensive indicator subdimension six from seven of Circles of Sustainability. While some standards, such as BREEAM (1 indication), CASBEE (1 indicator), HQE (1 indicator), Estidama (3 indicators), DGNB (1 indicator), and VERDE (1 indicator), are specified in the cultural dimension. After the poll and review of the indicator design guidelines for the criteria at present, the researcher developed building sustainable criteria assessment from the culture dimension through building the assessment form, setting the primary scale, set of indicators and definition, and score calculation by AHP (Analytic Hierarchical Process) for prioritizing and agreeable with each indication. So alternative assessment consists of four dimensions, including eight indicators, 1) Environmentalism emphasizes the issue of integrating cultural factors, knowledge, culture, and action in environmental design areas about geography, context, and local materials. 2) The emphasis on an economic strategy for sustainability and local economic growth, which is local employment, is emphasized in the economy. 3) Local history-related concerns, such as community participation with structure and changes in societal considerations, are emphasized in society. 4) The culture stresses tangible cultural legacy, local identity, and ethnic group, as well as traditional and local architecture in the area. With these dimensions assessment from related parties, the project owner, architect, building users, and people around the area, the process consists of the preparing process (36.6 points), design and construction (10.2 points), and using building process (53.2 points) from related parties, the project owner, architect, building users, and people around the area by the total is 100 points, which is quality assurance score not lower than 55.556 points, by separated four levels from nine, compares from Circles of Sustainability, Use sustainability as a concept, Move toward sustainability, Significant move toward sustainability, and Outstanding to sustainability. For the purpose of studying all indicators through score calculations, the Eigenvector of Metrics and the Largest Eigenvalue will be calculated for prioritizing indicators before checking consistency from the Consistency Ratio (C.R.) calculation in each level until it is an acceptable level of no more than 0.1. Before evaluating the performance of all criteria used for estimating the performance of two 24-hour public case study buildings with different project and geography details, the first is accommodation for practicing dharma (Upasika) in Wat Pa Wachirabanphot in Chonburi, and the second is BUNJOB HOUSE RESORT in Suratthani. Accommodations for practicing dharma in January 2022 and April 2, 2023, can be obtained by accessing the study area twice. Furthermore, while assessing criteria through Cronbach's alpha for BUNJOB HOUSE RESORT in November and December 2023, the result reveals that the standards are more than 0.7 in trusting level, which is high and may apply in re-evaluation in other case study constructions. การศึกษากรอบการประเมินความยั่งยืนของอาคารจากมิติทางวัฒนธรรมมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา และนำเสนอเครื่องมือในการประเมินความยั่งยืนของอาคารผ่านมิติทางวัฒนธรรม โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมการออกแบบก่อสร้างอาคารที่คำนึงถึงมิติทางวัฒนธรรมของถิ่นที่ตั้งของอาคาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาคารขนาดเล็กที่มีต้นทุนการก่อสร้างไม่สูง โดยมีขั้นตอนการศึกษาหลัก 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย การทบทวนปัญหาและข้อจำกัดของเกณฑ์การประเมินอาคารในปัจจุบัน การศึกษาตัวชี้วัดของเกณฑ์การประเมินอาคารในปัจจุบันเปรียบเทียบกับเสาหลักทั้งสี่ของความยั่งยืน การพัฒนาเกณฑ์ทางเลือก และการประเมินประสิทธิภาพของเกณฑ์ทางเลือกที่นำเสนอ ผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องกับเกณฑ์ในปัจจุบันทั้ง 25 คนจากการใช้แบบสอบถามพบว่าวัตถุประสงค์ในการใช้เกณฑ์ฯ เพื่อนำไปสู่การประหยัดพลังงานและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมรวมถึงการเพิ่มระดับความน่าเชื่อถือและภาพลักษณ์ขององค์กรเป็นหลัก และให้ความสำคัญในประเด็นดังกล่าวสูงกว่าความยั่งยืนของโครงการและสังคม ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เห็นด้วยกับเกณฑ์ที่ให้ความสำคัญต่อประเด็นสิ่งแวดล้อม (ร้อยละ 68) รองลงมาคือการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น (ร้อยละ 64) และการคำนึงถึงความหลากหลายของบริบททางพื้นที่ และวัฒนธรรมท้องถิ่น (ร้อยละ 60) และเห็นว่าประเด็นทางวัฒนธรรมที่พึงมีในเกณฑ์ฯ ประกอบด้วยสภาพทางภูมิศาสตร์ (ร้อยละ 64) ความเหมาะสมกับวิถีชีวิตและบริบทของพื้นที่ (ร้อยละ 68) ส่วนประเด็นการจ้างงานในท้องถิ่นและเอกลักษณ์ของท้องถิ่นเป็นประเด็นที่มีผู้ตอบแบบสอบถามแสดงความเห็นด้วยแต่อยู่ในระดับที่ต่ำกว่า (ร้อยละ 24) นอกจากนี้ผู้เชี่ยวชาญยังให้ความคิดเห็นเพิ่มเติมในประเด็นกรอบแนวคิดของเกณฑ์ที่พึงมีว่า “ควรมีเกณฑ์การประเมินความยั่งยืนจากต้นทางขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมทุกส่วนว่ามีที่มาอันบริสุทธิ์ทุกองค์ประกอบ” และกล่าวถึงลักษณะของเกณฑ์ฯ ในปัจจุบันว่า “คำนึงถึงประสิทธิภาพมากเกินไปจนมองข้ามเรื่องอาคารยั่งยืน สภาพแวดล้อม สังคม บริบทท้องถิ่น รวมถึงเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับโครงการ” ผลการศึกษาเปรียบเทียบกับแนวทางของ Circles of Sustainability พบว่าเกณฑ์การประเมินอาคารที่ใช้ปัจจุบันส่วนมากให้ความสำคัญต่อมิติทางสิ่งแวดล้อม (ecology) สูงที่สุดโดยเกณฑ์ส่วนใหญ่กำหนดตัวชี้วัดที่ครอบคลุมมิติย่อย 6 จาก 7 ตัวของ Circles of Sustainability ในขณะที่มีเพียงบางเกณฑ์เท่านั้นที่กำหนดตัวชี้วัดอยู่ในมิติของวัฒนธรรม (culture) เช่น BREEAM (1 ตัวชี้วัด) CASBEE (1 ตัวชี้วัด) HQE (1 ตัวชี้วัด) Estidama (3 ตัวชี้วัด) DGNB (1 ตัวชี้วัด) VERDE (1 ตัวชี้วัด) หลังจากการสำรวจความคิดเห็นและการทบทวนแนวทางการออกแบบตัวชี้วัดของเกณฑ์ฯ ในปัจจุบัน ผู้ศึกษาได้พัฒนากรอบการประเมินความยั่งยืนของอาคารจากมิติทางวัฒนธรรมผ่านการสร้างกรอบในการประเมิน การกำหนดมิติหลัก การกำหนดตัวชี้วัดและนิยาม และการคำนวณค่าน้ำหนักคะแนนโดยใช้วิธีการ AHP (Analytic Hierarchical Process) เพื่อจัดลำดับความสำคัญและความสอดคล้องในแต่ละตัวชี้วัด ทั้งนี้กรอบการประเมินฯ ทางเลือกประกอบด้วยมิติหลัก 4 มิติ โดยมีตัวชี้วัดรวมทั้งหมด 8 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1) สิ่งแวดล้อม ซึ่งเน้นประเด็นการบูรณาการปัจจัยทางวัฒนธรรม ความรู้ ประเพณี และการปฏิบัติของผู้คนในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบสภาพแวดล้อมในประเด็นเกี่ยวกับสภาพภูมิศาสตร์ บริบท และวัสดุท้องถิ่น 2) เศรษฐกิจ ซึ่งเน้นประเด็นในการใช้กลยุทธ์ทางเศรษฐกิจเพื่อความยั่งยืนและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของท้องถิ่นซึ่งได้แก่การจ้างงานในท้องถิ่น 3) สังคม ซึ่งเน้นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น รวมถึงการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยพิจารณาถึงโครงสร้างและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวิถีชีวิตของคนในระดับท้องถิ่น 4) วัฒนธรรม ซึ่งเน้นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้ เอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของท้องถิ่น กลุ่มชาติพันธุ์ รวมถึงสถาปัตยกรรมดั้งเดิมและสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในพื้นที่ โดยจะมีการประเมินมิติดังกล่าวจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งเจ้าของโครงการ สถาปนิก ผู้ใช้งานอาคาร และผู้คนที่อาศัยอยู่โดยรอบในแต่ละขั้นตอนประกอบด้วย ขั้นตอนการเตรียมงาน (36.6 คะแนน) ขั้นตอนการออกแบบและก่อสร้าง (10.2 คะแนน) และขั้นตอนการใช้งานอาคาร (53.2 คะแนน) จากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งเจ้าของโครงการ สถาปนิก ผู้ใช้งานอาคาร และผู้คนที่อาศัยอยู่โดยรอบ โดยมีคะแนนรวมทั้งหมดจากทุกขั้นตอน 100 คะแนน ซึ่งการรับรองคุณภาพจะเริ่มเมื่อคะแนนรวมไม่ต่ำกว่า 55.556 คะแนน โดยแบ่งเป็น 4 ระดับจาก 9 ระดับเทียบเคียงจาก Circles of Sustainability ได้แก่ ระดับการใช้ความยั่งยืนเป็นแนวความคิด (Use sustainability as a concept), ระดับการก้าวไปสู่ความยั่งยืน (Move toward sustainability), ระดับก้าวสำคัญสู่ความยั่งยืน (Significant move toward sustainability) และระดับมีความเป็นเลิศด้านความยั่งยืน (Outstanding to sustainability) ทั้งนี้ ตัวชี้วัดทั้งหมดจะถูกนำมาศึกษาผ่านขั้นตอนในการคำนวณค่าน้ำหนักโดยคำนวณหาค่าเวกเตอร์ลักษณะเฉพาะ (Eigenvector) ของเมตริกซ์และค่าเฉพาะที่มากที่สุด (Largest Eigenvalue) เพื่อจัดลำดับความสำคัญของตัวชี้วัด ก่อนนำมาตรวจสอบความสอดคล้องจากการคำนวณค่าอัตราความสอดคล้อง (Consistency Ratio: C.R.) ในแต่ละลำดับชั้นจนสามารถอยู่ในระดับที่สามารถยอมรับได้ไม่เกิน 0.1 ก่อนนำเกณฑ์ทั้งหมดมาประเมินประสิทธิภาพจากการนำไปใช้เพื่อประเมินอาคารกรณีศึกษา 2 แห่งที่เป็นอาคารสาธารณะมีการใช้สอย 24 ชั่วโมง แต่มีรายละเอียดลักษณะโครงการและมีลักษณะทางสภาพภูมิศาสตร์ต่างกัน ได้แก่ อาคารที่พักสำหรับผู้ที่มาปฏิบัติธรรม วัดป่าวชิรบรรพต จังหวัดชลบุรี และ BUNJOB HOUSE RESORT อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธาน โดยทำการลงพื้นที่ศึกษา 2 ครั้ง กล่าวคือ อาคารที่พักสำหรับผู้ที่มาปฏิบัติธรรม ในช่วงเดือนมกราคม พ.ศ. 2564 และ 2 เมษายน พ.ศ. 2565 และ BUNJOB HOUSE RESORT ในช่วงเดือนพฤศจิกายน และธันวาคม พ.ศ. 2565 เพื่อทำการประเมินคุณภาพของเกณฑ์ผ่านการตรวจสอบความเชื่อมั่นทางสถิติด้วยวิธี Cronbach's alpha ผลการศึกษาพบว่าเกณฑ์ฯ อยู่ในระดับความเชื่อมั่นมีค่าเกิน 0.7 ถือว่ามีค่าความเชื่อมั่นสูงและสามารถนำไปใช่ในการประเมินซ้ำในพื้นที่ศึกษาที่มีบริบทแตกต่างกันได้ |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4626 |
Appears in Collections: | Architecture |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
60054905.pdf | 10.54 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.