Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4628
Title: THE CRITICAL SUCCESS FACTOR IN A CONSTRUCTION COMPANY
ปัจจัยแห่งความสำเร็จของธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง
Authors: Suriyaporn BOONKOSON
สุริยาพร บุญโกศล
Non Khuncumchoo
นนท์ คุณค้ำชู
Silpakorn University
Non Khuncumchoo
นนท์ คุณค้ำชู
khuncumchoo_n@silpakorn.edu
khuncumchoo_n@silpakorn.edu
Keywords: ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง
วิกฤตการณ์
Key Success Factors
Construction Business
Crisis
Issue Date:  4
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The objective of this qualitative research is to study the Key Succuss Factors (KSF) of construction company in Thailand.  It focused on registered construction companies with the Department of Business Development during 1996 - 1998 (the period when the country experienced the economic crisis known as Tom Yum Kung crisis) and still in operation.  Seven-factor questionnaires employed in Arslan and Kiviak (2008) study were applied to collect sixty companies’ data and analyzed later.  According to the sampling,  four out of seven KSFs were the most important factors to have in order to survive in construction businesses. They were: 1) Quality of Work and Workmanship factors (x̄= 4.32) emphasized on the customer satisfaction, 2) Business Management Factors (x̄= 4.31) emphasized on a business plan corresponding to the company’s vision, 3) Financial Condition Factors (x̄= 4.26) emphasized on installment payments and company’s cashflow, 4) Technology Usage Factors (x̄= 4.21) emphasized on employee’s capability and qualification for the job. The three remaining KSFs were deemed importance by the sample group.  They were: 1) Market Selection Factors (x̄= 4.19) emphasized on collecting customers’ needs for business planning and marketing, 2) Sales and Marketing Factors (x̄= 4.18) emphasized on business’s fairness to gain customer’s trusts, 3) Owner-Manager Factors (x̄= 4.17) emphasized on the manager’s trustworthiness in doing business. The study also found that the Thai sampling group treasured all the sub KSFs in the Sales and Marketing Factors, Technology Usage Factors, and Market Selection Factors more than the sampling group in Türkiye.
การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในประเทศไทย ที่จดทะเบียนพาณิชย์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าในกรุงเทพมหานครช่วงปี พ.ศ. 2539 - 2541 (ช่วงเริ่มและช่วงปลายของวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้ง) และยังดำเนินธุรกิจอยู่ในปัจจุบัน จำนวน 60 บริษัท โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล ซึ่งอ้างอิงปัจจัยจากงานวิจัยของ Arslan และ Kiviak (2008) จำนวนทั้งหมด 7 ปัจจัย ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยแห่งความสำเร็จที่กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญระดับมากที่สุด มี 4 ปัจจัย โดยเรียงลำดับความสำคัญตามค่าเฉลี่ยได้ดังนี้ อันดับที่ 1 คือ ปัจจัยด้านคุณภาพงานและทักษะฝีมือ (x̄= 4.32) เรื่องความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อธุรกิจ อันดับที่ 2 คือ ปัจจัยด้านการบริหารธุรกิจ (x̄= 4.31) เรื่องการวางแผนทางธุรกิจที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของบริษัท อันดับที่ 3 คือ ปัจจัยด้านสถานะทางการเงิน (x̄= 4.26) เรื่องการเบิกเงินตามงวดงานที่ทำส่งผลต่อความคล่องตัวทางการเงิน และอันดับที่ 4 คือ ปัจจัยด้านการใช้เทคโนโลยี (x̄= 4.21) เรื่องผู้ปฏิบัติงานมีคุณสมบัติเหมาะสมกับหน้าที่และความรับผิดชอบ ส่วนปัจจัยแห่งความสำเร็จที่กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญระดับมาก มี 3 ปัจจัย คือ อันดับที่ 1 คือ ปัจจัยด้านการเลือกกลุ่มเป้าหมาย (x̄= 4.19) เรื่องการกำหนดความต้องการของลูกค้าเพื่อนำมาวิเคราะห์และวางแผนการตลาดของธุรกิจ อันดับที่ 2 คือ ปัจจัยด้านการขายและการตลาด (x̄= 4.18) เรื่องราคาที่ยุติธรรมสำหรับลูกค้าคือสิ่งที่สำคัญที่จะทำให้ธุรกิจเป็นที่รู้จัก และอันดับที่ 3 คือ ปัจจัยด้านเจ้าของธุรกิจ ผู้จัดการ (x̄= 4.17) เรื่องความซื่อสัตย์สุจริตของผู้บริหาร ตามลำดับ โดยพบว่า ประเทศไทยให้ความสำคัญต่อปัจจัยด้านการขายและการตลาด, ด้านการใช้เทคโนโลยี และด้านการเลือกกลุ่มเป้าหมายมากกว่าประเทศตุรกีในทุก ๆ ประเด็น (ค่าเฉลี่ยสูงกว่าในทุกปัจจัยย่อย)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4628
Appears in Collections:Architecture

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60055304.pdf2.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.