Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4646
Title: Reuse of Materials in Architecture by Upcycle Processes
การใช้ซ้ำของวัสดุในงานสถาปัตยกรรมโดยกระบวนการ Upcycle
Authors: Kamonphorn ROONGSAENG
กมลภรณ์ รุ่งแสง
Janeyut Lorchai
เจนยุทธ ล่อใจ
Silpakorn University
Janeyut Lorchai
เจนยุทธ ล่อใจ
janeyutlorchai@yahoo.com
janeyutlorchai@yahoo.com
Keywords: อัพไซเคิล
กระบวนการออกแบบ
สถาปัตยกรรมอัพไซเคิล
Upcycle
Design process
Upcycle architecture
Issue Date:  4
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This thesis is a study of the upcycle process in architecture especially the starting materials from food packaging. From questioning the difference between the architecture design process and the upcycle architecture design process.The purpose of analyzing and synthesising upcycle processes is to reduce the risk of failure in architecture. It is assumed that the upcycle architectural design process is different from the traditional architectural design process, especially in the material related process. Upcycle evolved from recycling where upcycle process is one of the mechanisms of re-material in architecture. Factors affecting upcycled architecture are: 1) The design process is different from the traditional architectural design process. 2) Designer's knowledge of processes and materials 3) Materials not designed for use in architecture. The aforementioned factors overlap and are interrelated. The results of the study revealed that the upcycle design process in architecture is caused by the above factors that are different as follows: 1) The designer has experience with materials and upcycle methods. proficient and successful They are performed in architecture in the same or slightly different way. 2) Designers have experience in using materials, but the methods are different. There may be some factors in which traditional methods cannot be applied to the material, or the designer's decision to create a new experience and new approach to the material. 3) The designer has no experience in upcycle. The designer has experience in general design but has never used upcycled materials in architecture. In this case, the design process is the most complex. The details of the upcycle process in architecture start from the Outline design / Concept Design. From this step, the characteristics of the material are partially defined in order to narrow the scope of material selection. Then identify likely component / material needs. For designers with no knowledge of materials, studying material potential is the next step. When specifying the type of material required The designer will be able to Identify likely sources. Attribution shortens the seek/purchase good, which is carried out in tandem with other steps that take place thereafter until construction. If the procurement of materials is unsuccessful or not as desired, resulting in the process of finding alternatives if necessary, designers often select materials that are similar to the original materials. to modify the design (Revise design) as little as possible. May be renovated or reconditioned (Refurbish / recondition if necessary) before entering the detailed design process. Projects with complex or rethinking details are executed by modelling (mock-up). But in case the designer has experience with the same material in the same way. The designer can carry out material preparation and construction. The Goal-oriented design process from Addis (2012) used in architectural design. is less complex than the upcycled design process. This process cannot be applied to upcycled architecture designs. Goal-oriented design process with reclaimed materials from Addis (2012) also differs from the upcycled architectural design process in the detail and complexity of the steps. However, upcycling in architecture depends on the material. and knowledge of the designer's process
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษากระบวนการอัพไซเคิลในงานสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะวัสดุตั้งต้น จากบรรจุภัณฑ์อาหารจากการตั้งคำถามถึงความแตกต่างของกระบวนการออกแบบสถาปัตยกรรมที่ใช้อยู่เดิมกับกระบวนการออกแบบอัพไซเคิลที่มีวัสดุเป็นองค์ประกอบหลักในการออกแบบมีวัตถุประสงค์การวิเคราะห์และสังเคราะห์กระบวนการเพื่อเป็นแนวปฏิบัติและลดความเสี่ยงความล้มเหลวในงานสถาปัตยกรรมอัพไซเคิล โดยมีสมมุติฐานว่า กระบวนอออกแบบสถาปัตยกรรมอัพไซเคิลมีความแตกต่างจากกระบวนการออกแบบสถาปัตยกรรมดั้งเดิม โดยเฉพาะขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับวัสดุ จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่า การอัพไซเคิลเป็นการยกระดับมาจากการรีไซเคิล ซึ่งกระบวนการอัพไซเคิลเป็นตัวขับเคลื่อนหนึ่งของการ re-material ในงานสถาปัตยกรรม จากการศึกษาปัญหาพบว่ามีปัจจัยที่ส่งผลต่องานสถาปัตยกรรมอัพไซเคิล 3 ปัจจัย ได้แก่ 1) กระบวนการออกแบบ การจัดการกับวัสดุซึ่งมีความแตกต่างจากกระบวนการอออกแบบสถาปัตยกรรมดั้งเดิม 2) ผู้ออกแบบต้องมีองค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการและวัสดุ และ 3) วัสดุ ซึ่งไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้กับงานสถาปัตยกรรมโดยตรง ปัจจัยที่กล่าวมาทำงานทับซ้อนและมีความสัมพันธ์กัน ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการออกแบบอัพไซเคิลสามารถเกิดขึ้นได้ 3 รูปแบบ จากปัจจัยข้างต้นที่แตกต่างกัน ได้แก่ 1) ผู้ออกแบบมีประสบการณ์กับวัสดุอัพไซเคิลชนิดเดียวกันในวิธีการเดียวกัน เคยศึกษาหรือเชี่ยวชาญและดำเนินการสำเร็จ โดยดำเนินการทำซ้ำในงานสถาปัตยกรรมในวิธีการเดียวกันหรือแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย 2) ผู้ออกแบบมีประสบการณ์ใช้วัสดุเดียวกันในวิธีการที่แตกต่างกัน โดยผู้ออกแบบเคยมีประสบการณ์อัพไซเคิลในวัสดุชนิดเดิม อาจมีปัจจัยบางประการที่ไม่สามารถจัดการกับวัสดุในแบบเดิมได้ หรือการตัดสินใจของผู้ออกแบบที่ต้องการสร้างประสบการณ์ใหม่ วิธีการใหม่กับวัสดุเดิม และ 3) ผู้ออกแบบไม่มีประสบการณ์ในการอัพไซเคิลโดยผู้ออกแบบมีประสบการณ์ในการออกแบบทั่วไปแต่ไม่เคยใช้วัสดุอัพไซเคิลในงานสถาปัตยกรรม ในกรณีนี้กระบวนการออกแบบจะมีขั้นตอนที่ซับซ้อนมากที่สุดและมีขั้นตอนที่จำเป็นต้องเกิดขึ้นในกระบวนการมากกว่ากระบวนการแบบอื่น รายละเอียดขั้นตอนกระบวนการอัพไซเคิลในงานสถาปัตยกรรมเริ่มต้นจากแนวความคิดการออกแบบ (Outline design / Concept Design) ผู้ออกแบบทำการออกแบบเค้าร่างโครงการ จากขั้นตอนนี้ลักษณะวัสดุจะถูกกำหนดไว้บางส่วนซึ่งส่งผลให้ขอบเขตวัสดุแคบลง จากนั้นระบุส่วนประกอบที่เป็นไปได้และความต้องการวัสดุ (identify likely component / Material needs) ในขั้นตอนนี้สำหรับผู้ออกแบบที่มีความรู้เกี่ยวกับวัสดุไม่เพียงพอจะศึกษาศักยภาพของวัสดุ (Study Material) จึงระบุชนิดวัสดุที่ต้องการได้ แต่ในกรณีที่ผู้ออกแบบมีองค์ความรู้เกี่ยวกับวัสดุอยู่ก่อนแล้ว ผู้ออกแบบสามารถระบุแหล่งที่มาของวัสดุ (Identify likely sources) ได้ การระบุแหล่งที่มาที่ชัดจะร่นระยะเวลาการจัดหาวัสดุ (seek /purchase good) ซึ่งการจัดหารวบรวมวัสดุเป็นกระบวนการที่ดำเนินการคู่ขนาดไปพร้อมกับขั้นตอนอื่นที่เกิดหลังจากนี้จนกว่าจะมีการก่อสร้างจริง ถ้าการรวบรวมวัสดุไม่สำเร็จหรือไม่เป็นไปตามที่ต้องการ ส่งผลให้เกิดขั้นตอนการหาทางเลือกอื่นหากจำเป็น (Find alternatives if necessary) โดยผู้ออกแบบมักเลือกวัสดุที่มีลักษณะทางกายภาพที่คล้ายกันเพื่อให้เกิดการปรับปรุงแก้ไข (Revise design) น้อยที่สุด โดยอาจมีการปรับปรุงหรือปรับสภาพใหม่ (Refurbish / recondition if necessary) ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการออกแบบรายละเอียด แต่ในกรณีที่ผู้ออกแบบจัดหารวบรวมวัสดุสำเร็จจะดำเนินการในขั้นตอนการออกแบบรายละเอียด (Detail design) เป็นขั้นตอนต่อไป ในโครงการที่มีความซับซ้อนหรือมีการคิดรายละเอียดแบบใหม่จะดำเนินงานโดยการสร้างแบบจำลอง (Mock-up) แต่ในกรณีที่ผู้ออกแบบมีประสบการณ์กับวัสดุเดียวกันในวิธีการเดียวกัน หรือการออกแบบรายละเอียดเป็นไปตามแนวทางปฏิบัติการอัพไซเคิลในงานสถาปัตยกรรมเดิม ผู้ออกแบบสามารถดำเนินการเตรียมวัสดุ (Material preparation) และดำเนินการก่อสร้าง (Construction) กระบวนการออกแบบสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิมของ Addis (2012) มีขั้นตอนและความซับซ้อนน้อยกว่ากระบวนการออกแบบอัพไซเคิลมาก ไม่สามารถใช้กระบวนการนี้กับการออกแบบสถาปัตยกรรมอัพไซเคิลได้ และในอีกกรณีหนึ่งกระบวนการออกแบบสถาปัตยกรรมวัสดุใช้ซ้ำของ Addis (2012) เหมือนกันในหลายขั้นตอน แต่ยังมีความแตกต่างจากกระบวนการออกแบบสถาปัตยกรรมอัพไซเคิลในลำดับ รายละเอียด และความซับซ้อนของขั้นตอนที่กระบวนการอัพไซเคิลมีมากกว่า อย่างไรก็ตามกระบวนการอัพไซเคิลในงานสถาปัตยกรรมจะดำเนินการไปในทิศทางใดขึ้นอยู่กับองค์ความรู้เกี่ยวกับวัสดุ และความรู้ในกระบวนการวิธีการของผู้ออกแบบ
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4646
Appears in Collections:Architecture

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
620220040.pdf12.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.