Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4647
Title: | KEY FACTORS RELATED TO PEDESTRIAN THAT CREATE OPPORTUNITIES FOR LOCAL RETAIL BUSINESSES IN THE NEIGHBORHOOD : THE CASE STUDY OF SAMPHENG NEIGHBORHOOD ปัจจัยสำคัญที่สัมพันธ์กับการเดินเท้าที่ส่งเสริมธุรกิจค้าปลีกในย่าน : กรณีศึกษาย่านสำเพ็ง |
Authors: | Montree SOMBUTWICHATORN มนตรี สมบัติวิชาธร Nattawut Preyawanit ณัฐวุฒิ ปรียวนิตย์ Silpakorn University Nattawut Preyawanit ณัฐวุฒิ ปรียวนิตย์ preyawanit@gmail.com preyawanit@gmail.com |
Keywords: | คนเดินเท้า กิจกรรมบนพื้นที่ริมทาง ชีวิตสาธารณะ พื้นที่สาธารณะ Pedestrian Streetside activities Public life Public space |
Issue Date: | 4 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | The objectives of this study were 1) to study the attributes of the four study factors consisting of the environment that corresponds to human perception and proportion, area identity, pedestrian accessibility, and public life 2) to analyze relationships between the study factors 3) to analyze the difference among the roads and 4) to propose neighborhood development guidelines for pedestrians that create opportunities for local retail businesses in the Sampheng neighborhood. The study areas include a section of each road that parallels others, the road sections are Charoen Krung Road, Yaowarat Road, Soi Vanich 1st, and Song Wat Road. The target population is the people and environment that appear in the study area. Data were collected from secondary sources, observations, interviews, and questionnaires. The qualitative data were analyzed by content analysis, and the quantitative data were analyzed by statistical methods.
The findings revealed that 1) the attributes of the study factors of the four roads were significantly different, consisting of varieties of shops and street networks. 2) the four study factors had many significant positive and negative correlation attributes, consisting of annual festivals, public life, religious places, mixed land use, the semi-private area in front of the store, transit point, street networks, varieties of the shop, and the identity of the place and 3) development of the Sampheng neighborhood to improve the pedestrian environment that creates opportunities for retail businesses should aim at creating street networks and transit points that comfortable for pedestrian access, creating a neighborhood landscape that reflects public life, a variety of stores, easily recognizable places and routes, mixed land uses, great importance to the management of religious places and the transmission of traditions and beliefs to the next generations, and the collaboration between the traditional community and outer stakeholders in the development of this traditional old town to remain alive. การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะของปัจจัยศึกษาทั้ง 4 ปัจจัย ได้แก่ สภาพแวดล้อมที่สอดคล้องกับการรับรู้และขนาดสัดส่วนของมนุษย์ อัตลักษณ์ของพื้นที่ การเข้าถึงด้วยการเดินเท้า และชีวิตสาธารณะที่ปรากฏบนถนนแต่ละเส้น 2) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกันของปัจจัยศึกษาดังกล่าวข้างต้น 3) วิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของถนนแต่ละเส้น และ 4) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาย่านสำเพ็งเพื่อสร้างการเดินเท้าที่ส่งเสริมธุรกิจค้าปลีกในย่าน โดยเลือกพื้นที่ 1 ช่วงของถนน 4 เส้น ที่วางแนวคู่ขนานกันประกอบด้วยส่วนของถนนเจริญกรุง ถนนเยาวราช ซอยวานิช ๑ และถนนทรงวาด มีประชากรเป้าหมาย คือ ผู้คนและสภาพแวดล้อมที่ปรากฏอยู่ในพื้นที่ศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสืบค้นจากแหล่งข้อมูล การสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์ และการตอบแบบสอบถาม นำข้อมูลเชิงคุณภาพมาวิเคราะห์เนื้อหา ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางสถิติ ผลการศึกษาพบว่า 1) คุณลักษณะของปัจจัยศึกษาของถนนทั้ง 4 เส้น ที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ประเภทของร้านค้าและโครงข่ายเส้นทาง 2) ปัจจัยศึกษาทั้ง 4 ปัจจัยมีคุณลักษณะที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันทั้งในเชิงบวกและในเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญหลายคุณลักษณะ ได้แก่ เทศกาลประจำปี ชีวิตสาธารณะ ศาสนสถาน การใช้ประโยชน์ที่ดินแบบผสมผสาน พื้นที่กึ่งส่วนตัวหน้าร้านค้า จุดเปลี่ยนวิธีการเดินทาง โครงข่ายเส้นทาง ประเภทของร้านค้า และอัตลักษณ์ของสถานที่ และ 3) การพัฒนาย่านสำเพ็งเพื่อสร้างการเดินเท้าที่ส่งเสริมธุรกิจค้าปลีกในย่านควรมุ่งเป้าหมายที่การสร้างโครงข่ายเส้นทางและจุดเปลี่ยนวิธีการเดินทางเพื่อให้เดินเท้าได้ใกล้และสะดวกสบาย มีร้านค้าหลากหลายประเภท มีพื้นที่กึ่งภายในกับภายนอกร้านค้าที่ดูสบาย ๆ แวะทำกิจกรรมได้หลากหลาย มีสถานที่และเส้นทางที่จดจำได้ง่าย จัดเทศกาลประจำปีของชาวไทยเชื้อสายจีนและเทศกาลร่วมสมัยอื่น ๆ ใช้ประโยชน์ที่ดินแบบผสมผสาน ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งกับการบริหารจัดการศาสนสถานและการถ่ายทอดประเพณีความเชื่อสืบต่อไปยังรุ่นลูกหลาน และการร่วมมือกันทำงานระหว่างชุมชนดั้งเดิมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากภายนอกในการพัฒนาย่านเมืองเก่าชุมชนดั้งเดิมแห่งนี้ให้มีชีวิตชีวาอยู่ต่อไป |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4647 |
Appears in Collections: | Architecture |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
620220061.pdf | 20.24 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.