Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4679
Title: FINE ARTS ALONG THE KHWAE OM CANAL IN RATCHABURI AND SAMUT SONGKHRAM: HISTORICAL DEVELOPMENT OF THE LOCAL COMMUNITY DURING THE 15th  - 20th CENTURY
ศิลปกรรมตามลำคลองแควอ้อม จังหวัดราชบุรี และ สมุทรสงคราม: พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของชุมชนในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20-25  
Authors: Witsawa CHINYO
วิศวะ ชินโย
Praphat Chuvichean
ประภัสสร์ ชูวิเชียร
Silpakorn University
Praphat Chuvichean
ประภัสสร์ ชูวิเชียร
CHUVICHEAN_P@SU.AC.TH
CHUVICHEAN_P@SU.AC.TH
Keywords: คลองแควอ้อม
จังหวัดราชบุรี
จังหวัดสมุทรสงคราม
KHWAE OM
RATCHABURI
SAMUT SONGKHRAM
Issue Date:  4
Publisher: Silpakorn University
Abstract: Khwae Om canal is an ancient waterway which was believed to be the old Mae Klong River before it was changing the direction of the current river. It flows away from the main Mae Klong River at the Pak Bamru, a little below from Ratchaburi, then flows into the plain at Muang District and Wat Phleng District in Ratchaburi. After that the canal flows into the orchard areas at Bang Khonthi and Amphawa district in Samut Songkhram. And then connects to the Mae Klong River at Pak Nam Bang Kung, nearby Bang Chang, a little north of the city of Samut Songkhram. Along the Klong Khwae Om, it has been found the evidences since the late prehistoric period, continuing with the ancient city, Khu Bua, which is an important city during the Dvaravati period. The study found that the artworks along the Khwae Om canal, after the Khmer culture, The oldest evidences can be dated around the 15th century or during the early Ayutthaya period, according to the Buddha images in U-Thong style (both the 2nd and 3rd generations) that were found. Therefore, it was believed that during this period, there should be a small community returning to settle down in Khwae Om canal and build the temples as the center of the community which have the vihara as the main building. In the middle of the Ayutthaya period, around the middle to late of the 16th century, it found that many temples were formally binding the boundary of ubosot. In the late Ayutthaya period, during the 18th-19th century, ubosots have become the main building of the temple, and semas have been built in the late Ayutthaya style, including the repair of the Buddha images may be the reflection of the wealth of the community before the 2nd fallen of Ayutthaya Kingdom in 1767.   In the Thonburi to early Rattanakosin period, around the 19th century, most of the evidences shown up the artistic character of the late Ayutthaya period. Therefore, it was believed that there were still the small community along the Khwae Om canal after the fallen of the kingdom. And then became stability during the 20th century the new inspiration from Bangkok that may be related to the transportation routes during that time
คลองแควอ้อม เป็นเส้นทางน้ำโบราณเชื่อว่าเป็นแม่น้ำแม่กลองสายเก่า ก่อนที่จะเปลี่ยนทิศทางดังในปัจจุบันโดยไหลแยกตัวออกจากแม่น้ำแม่กลองสายหลักที่บริเวณปากบำหรุ ใต้เมืองราชบุรีลงมาเล็กน้อย เข้าสู่เขตท้องทุ่ง ในอำเภอเมืองและอำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี จากนั้นจึงเข้าสู่พื้นที่สวน ในเขตอำเภอบางคนที และอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม และออกสู่แม่น้ำแม่กลองสายหลักที่ปากน้ำบางกุ้ง เหนือเมืองสมทุรสงครามเล็กน้อย โดยบริเวณริมคลองสายนี้พบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในช่วงยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย รวมทั้งเมืองโบราณคูบัวในสมัยทวารวดี จากการศึกษาพบว่า งานศิลปกรรมบริเวณริมคลองแควอ้อมหลังวัฒนธรรมเขมร สามารถกำหนดอายุเก่าที่สุดได้ในราวพุทธศตวรรษที่ 20 หรือในช่วงสมัยอยุธยาตอนต้น คือกลุ่มพระพุทธรูปแบบอู่ทองรุ่นที่ 2 และ 3 จึงน่าเชื่อว่าในระยะนี้ในคลองแควอ้อมอาจเป็นชุมชนขนาดเล็ก มีวัดที่ประดิษฐานพระพุทธรูปในพระวิหารเป็นศูนย์กลางของชุมชนเท่านั้น ต่อมาในสมัยอยุธยาตอนกลางในราวครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ 21 จึงพบหลักฐานการผูกพัทธสีมาขึ้นอย่างเป็นกิจจะลักษณะ กระทั่งในสมัยอยุธยาตอนปลายในช่วงพุทธศตวรรษที่ 23-24 จึงพบหลักฐานงานสถาปัตยกรรม ใบเสมา รวมถึงการซ่อมแปลงพระพุทธรูป จำนวนมาก เชื่อว่าในระยะนี้เป็นช่วงที่มีการสร้างอาคารพระอุโบสถขึ้นใหม่และผูกพัทธสีมาตามที่นิยมมีพระอุโบสถเป็นประธานของวัด และการบูรณะซ่อมแปลงพระพุทธรูปอาจเป็นภาพสะท้อนของความมั่งคั่งของชุมชนก่อนการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ในปี 2310 ในสมัยธนบุรี-ต้นรัตนโกสินทร์ ราวพุทธศตวรรษที่ 24 ส่วนมากเป็นการบูรณปฏิสังขรณ์งานศิลปกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย จึงน่าเชื่อว่าชุมชนบริเวณริมคลองแควอ้อมน่าจะยังคงมีการอยู่อาศัยอยู่แต่อาจมีขนาดเล็กลง และกลับมามีความมั่นคงมากขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 25 จึงมีหลักฐานศิลปกรรมที่สร้างขึ้นใหม่มากขึ้น โดยมีรูปแบบที่ได้แรงบันดาลใจ รวมทั้งกลุ่มช่างจากราชธานีกรุงเทพฯ ที่อาจสัมพันธ์กับเส้นทางคมนาคมที่สะดวกในช่วงเวลาดังกล่าว
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4679
Appears in Collections:Archaeology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
620320008.pdf28.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.