Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4681
Title: Drought Adaptation of Ban Huai Oi's Farmer in Dansai, Loei
ชีวิตในความแล้ง: การปรับตัวของเกษตรกรบ้านห้วยอ้อย อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย
Authors: Nitjanan PANAPONG
นิจนันท์ ปาณะพงศ์
Phrae Sirisakdamkoeng
แพร ศิริศักดิ์ดำเกิง
Silpakorn University
Phrae Sirisakdamkoeng
แพร ศิริศักดิ์ดำเกิง
SIRISAKDAMKOENG_P@SU.AC.TH
SIRISAKDAMKOENG_P@SU.AC.TH
Keywords: สถานการณ์ภัยแล้ง
การปรับตัว
การจัดการน้ำ
ด่านซ้าย
Drought
adaptation
water management
Dansai
Issue Date:  4
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The study of Drought Adaptation of Ban Huai Oi's Farmer in Dansai, Loei aims to 1) Study the drought management dynamics of Ban Huai Aoi community. Which is related to the economic and social context of each era. 2) study to social conditions, economic and agricultural conditions of agent farmers. And 3) Study the resilience adaptation to drought of Ban Huai Aoi’s farmers that affecting to daily life planning, Occupation and planting planning, and debt management for each household. This qualitative research using anthropological methods by participant observation, in-depth interview and using questionnaires for interviews to find local history and ethnography with the concept of resilience adaptation. To find out how Ban Huai Aoi’s farmers adapt and resilient under drought. This research shows that Huai Aoi’s farmers had different factors of capital and conditions in life to make them have different level of abilities managing agriculture and access water resource. So these capitals result in intensive adaptation, occasionally adapt or rarely adapt because they had conducive factors to life. Therefore the potential of resilience adaptation to drought depend on their capitals and life conditions of the farmers.
งานศึกษาเรื่อง “ชีวิตในความแล้ง: การปรับตัวของเกษตรกรบ้านห้วยอ้อย อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพลวัตการจัดการภัยแล้งของชุมชนบ้านห้วยอ้อย ซึ่งสัมพันธ์อยู่กับบริบททางเศรษฐกิจและสังคมของแต่ละยุคสมัย 2) ศึกษาเงื่อนไขทางสังคม เงื่อนไขทางเศรษฐกิจ และเงื่อนไขทางเกษตรกรรมเกษตรกรครัวเรือนตัวอย่าง และ 3) ศึกษาภาวะยืดหยุ่นในการปรับตัวต่อภัยแล้งของเกษตรกรรายย่อยบ้านห้วยอ้อย ซึ่งส่งผลต่อการวางแผนการดำรงชีวิต การประกอบอาชีพ การวางแผนเพาะปลูกและการจัดการหนี้สินในแต่ละครัวเรือน ผู้ศึกษาได้ดำเนินการศึกษาโดยใช้วิธีการทางมานุษยวิทยา ทั้งการสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์เชิงลึก ควบคู่กับการใช้แบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลมาประกอบการวิเคราะห์ร่วมกับแนวคิดความยืดหยุ่นในการปรับตัว (Resilience Adaptation) เพื่อตอบคำถามการวิจัยที่ว่า เกษตรกรบ้านห้วยอ้อยมีความยืดหยุ่นในการปรับตัวหรือมีความสามารถในการฟื้นตัวภายใต้สถานการณ์ภัยแล้งอย่างไร ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรแต่ละครัวเรือนมีปัจจัยและเงื่อนไขในชีวิตแตกต่างกัน มีความสามารถและทักษะความรู้ในการจัดการแปลงเกษตรแตกต่างกัน และสามารถเข้าถึงแหล่งน้ำได้แตกต่างกัน ดังนั้น ปัจจัยเหล่านี้จึงส่งผลต่อระดับความสามารถในการปรับตัว บ้างปรับตัวได้อย่างเข้มข้น เพราะมีปัจจัยที่บีบบังคับ บ้างปรับตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปหรือปรับตัวบ้างไม่ปรับตัวบ้าง และอีกกลุ่มคือปรับตัวน้อย เพราะมีปัจจัยและต้นทุนที่เอื้อต่อการใช้ชีวิต ดังนั้น พวกเขาจะมีศักยภาพการรับมือภัยแล้งที่ยืดหยุ่นหรือไม่จึงขึ้นอยู่กับต้นทุนที่เป็นเงื่อนไขในชีวิตของเกษตรกรเหล่านี้
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4681
Appears in Collections:Archaeology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
620320017.pdf6.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.