Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4934
Title: Assessment of air and noise pollution on a tourism area in Ratchaburi’s old town
การประเมินมลพิษทางอากาศและมลพิษทางเสียง ในพื้นที่ท่องเที่ยวเมืองเก่าราชบุรี
Authors: Orachat INNURAK
อรฉัตร อินนุรักษ์
Rattapon Onchang
รัฐพล อ้นแฉ่ง
Silpakorn University
Rattapon Onchang
รัฐพล อ้นแฉ่ง
onchang_r@su.ac.th
onchang_r@su.ac.th
Keywords: มลพิษทางอากาศ
มลพิษทางเสียง
แบบจำลองคุณภาพอากาศ R-LINE
แบบจำลองทางเสียง SoundPLAN
เส้นทางการท่องเที่ยวแบบเดินเท้า
Air Pollution
Noise Pollution
R-LINE
SoundPLAN
Walking Street
Issue Date:  28
Publisher: Silpakorn University
Abstract: Ratchaburi old town has been designated as cultural heritage conservation area of in Thailand. A recent study has proposed building a walking route to promote cultural and environmental-friendly tourism in this area. This requires reroute traffic activities on certain roads in the area. Consequently, it increases vehicle amount in the neighboring streets and elevates both air and noise pollution which affects local citizens and tourists’ health. This study attempts to investigate changes of particulate air pollution (PM2.5 and PM1) and noise level (Ldn) due to the traffic rerouting in the area. The models called R-LINE (version 1.2) and SoundPLAN (version 5.0) were used as tools to simulate dispersions of PM2.5 and PM1, and propagation of noise from the traffic emissions, respectively. Two scenarios were set as follows: Scenarios 1; all vehicles used to drive on the walking street move to an appointed minor road, Scenarios 2; all vehicles on the walking street move outside the area. The changes of both pollutions can be obtained by comparing the models results of the scenarios with the results as of base case (present traffic activities). The two models’ performance evaluations were conducted prior to carrying out the simulations. Lastly, the co-changes of air and noise pollution were then assessed by means of Air–Noise Pollution Reduction Index (ANPr). For the model evaluation results, statistical analyses indicated that both models’ performances are acceptable. The results of scenario 1 indicated that PM2.5 and PM1 increased 0.3-11.4 % and 0.3-11.4 %, respectively, and Ldn working day increased 2.7-7.9 % and weekend increased 3.0-8.0 %, as compared to base case. These were the consequences of the number of vehicles on the walking street combined with those in the appointed minor road. For scenario 2, as compared to base case., the results showed that PM2.5 and PM1 decreased 2.6-5.6 % and 4.4-11.6 %, respectively, and Ldn working day decreased 0.1-20.6 % and weekend decreased 0.1-20.8 %. This is due to the number of vehicles on the walking street being excluded from the analysis. The ANPr values, obtained from combining the reductions of air and noise pollutions, indicated that scenario 2 - all vehicles present in the walking street move to outside the area - became more suitable. However, this recommends together with providing appropriate parking places with public transportation for the citizens and tourists to travel into the area.
เมืองเก่าราชบุรี เป็นพื้นที่ที่ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่อนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของประเทศไทย ปัจจุบันมีการศึกษาเพื่อพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวแบบเดินเท้า (Walking street) พื้นที่ เพื่อสร้างรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงเส้นทางการจราจรในพื้นที่ ส่งผลให้เกิดการเพิ่มขึ้นของยานพาหนะที่เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศและเสียงในถนนข้างเคียง ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและนักท่องเที่ยว การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของปริมาณฝุ่นละออง (PM2.5 และ PM1) และระดับเสียง (Ldn) จากการเปลี่ยนแปลงเส้นทางการจราจรดังกล่าวในพื้นที่ โดยใช้แบบจำลองคุณภาพอากาศ R-LINE (เวอร์ชัน 1.2) และ แบบจำลองทางเสียง SoundPLAN (เวอร์ชัน 5.0) โดยกำหนดกรณีศึกษา (Scenarios) ในการวิเคราะห์ ดังนี้ กรณีที่ 1 ให้ยานพาหนะในเส้นทางการท่องเที่ยวแบบเดินเท้าทั้งหมดไปวิ่งบนถนนเส้นรอง และ กรณีที่ 2 ให้ยานพาหนะในเส้นทางการท่องเที่ยวแบบเดินเท้าทั้งหมดอยู่นอกพื้นที่ โดยเปรียบเทียบกับกรณีฐาน (กิจกรรมการจราจรอยู่ในสถานการณ์ปัจจุบัน) พร้อมทั้งทำการประเมินประสิทธิภาพของแบบจำลอง อีกทั้งได้ประเมินผลการเปลี่ยนแปลงร่วมกันมลพิษทางอากาศและเสียง โดยใช้ดัชนีการลดมลพิษทางอากาศและเสียง (Air–Noise Pollution Reduction Index; ANPr) โดยผลการประเมินประสิทธิภาพของแบบจำลองทั้งสองพบว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ทางสถิติ และผลการวิเคราะห์ภายใต้กรณีที่ 1 ในถนนเส้นรองพบว่า PM2.5 และ PM1 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ถึง 11.4 และ ร้อยละ 0.4 ถึง 15.2 ตามลำดับ ส่วนระดับเสียง Ldn วันทำงาน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 ถึง 7.9 และวันหยุด เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 ถึง 8.0 เมื่อเทียบกับกรณีฐาน อันเนื่องมาจากปริมาณยานพาหนะจากเส้นทางการท่องเที่ยวแบบเดินเท้าถูกนำมารวมกับถนนเส้นรองทำให้แหล่งกำเนิดมลพิษเพิ่มมากขึ้นในถนนเส้นรอง ส่วนกรณีที่ 2 ในถนนเส้นหลักพบว่า PM2.5 ลดลงร้อยละ 2.6 ถึง 5.6 PM1 ลดลงร้อยละ 4.4 ถึง 11.6 และระดับเสียง Ldn วันทำงาน ลดลงร้อยละ 0.1 ถึง 20.6 และวันหยุด ลดลงร้อยละ 0.1 ถึง 20.8 จากกรณีฐาน อันเนื่องมาจากผลการลดลงของจำนวนยานพาหนะในถนนเส้นทางการท่องเที่ยวแบบเดินเท้า และจากการวิเคราะห์ค่า ANPr ที่นำผลของมลพิษทางอากาศและเสียงมาผนวกกัน พบว่ากรณีที่ 1 ที่เป็นการจัดการท่องเที่ยวแบบเดินเท้าโดยให้ยานพาหนะในเส้นทางดังกล่าวทั้งหมดอยู่นอกพื้นที่เป็นแนวทางที่เหมาะสมกว่า ทั้งนี้ควรมีการจัดหาสถานที่จอดรถและมีระบบขนส่งสาธารณะอย่างเหมาะสมเพื่อนำประชาชนหรือนักท่องเที่ยวเข้าสู่พื้นที่ได้อย่างสะดวก
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4934
Appears in Collections:Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
630720047.pdf9.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.