Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4950
Title: CONTEMPORARY ART OF EMBROIDERY : AESTHETICS OF PATTERNS AND FREEDOM OF CULTURE-DYNAMICS OF CRAFTS MASTERS OF SIAM
ศิลปกรรมปักประดับร่วมสมัย : สุนทรียคติแห่งรูปรอยและการข้ามพ้นเสรีภาพทางวัฒนธรรมเพื่อสร้างสรรค์พลวัตของแบบแผนครูช่างสยาม
Authors: Prayut SIRIKUL
ประยุทธ ศิริกุล
Supavee Sirinkraporn
สุภาวี ศิรินคราภรณ์
Silpakorn University
Supavee Sirinkraporn
สุภาวี ศิรินคราภรณ์
SIRINKRAPORN_S@SU.AC.TH
SIRINKRAPORN_S@SU.AC.TH
Keywords: ศิลปกรรมปักประดับร่วมสมัย / สุนทรียคติแห่งรูปรอย / เสรีภาพทางวัฒนธรรม / พลวัตแบบแผนครูช่างสยาม / สมเด็จครู
CONTEMPORARY ART OF EMBROIDERY / AESTHETICS OF PATTERNS / FREEDOM OF CULTURE / DYNAMICS OF CRAFTS MASTERS OF SIAM / SOMDEJ KRU
Issue Date:  28
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The research and creation of contemporary art of embroidery is a synthesis of knowledge from the heritage of the ancient world of art that combined with the design of Prince Narisara Nuvadtivongs. The expressive nature of his works that were initiated from limitations indicates the next step of Thai art in the future. It is the "pattern of Somdej Kru" which relates to and reflects societies, resulting in stories along the path of history that express the creative framework in thinking method. His works highlight the idea of goodness as the creator’s inspiration to express with the goal to uplift the minds of the viewers. The result of the study shows the analysis that can be summarized into 3 creative processes as follows: 1. Initiative mind and following tradition 2. Breaking tradition by combining reaction and compromise 3. Creating a balance between what is visible and what is invisible. All of these brings about knowledge and principles of Somdet Khru’s pattern that has been developed into the design of contemporary embroidery art, as well as knowledge management in the form of transferring inventive technology to make knowledge become apparent. This shows the dynamic of development and changes on thinking level by integrating across intellectual heritage of culture in order to utilize the obtained knowledge to build on the past, adjust the present, and create new values in the future; and for the utmost benefit of research, which is “to extend the spirit of traditional Thai crafts masters’ wisdom”.
การวิจัยและสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมปักประดับร่วมสมัยคือการสังเคราะห์องค์ความรู้ จากมรดกภูมิปัญญาอดีตโลกทัศน์ทางศิลปะผนวกกับผลงานทรงออกแบบในฝีพระหัตถ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ โดยลักษณะการแสดงออกทางผลงาน ที่มีจริตริเริ่มจากข้อจำกัดชี้ให้เห็นถึงการก้าวต่อไปของศิลปะไทยในอนาคตเป็น “แบบแผนอย่าง สมเด็จครู” อันมีความสัมพันธ์สอดคล้องสะท้อนสภาพสังคมก่อเกิดเป็นปฏิสัมพันธ์ต่อกันเป็น เรื่องราวไปตามรายทางแห่งประวัติศาสตร์ แสดงให้เห็นถึงกรอบวิธีการสร้างสรรค์ในระดับวิธีคิด โดยมุ่งเน้นที่ความคิดความดีเป็นตัวนำฝีมือของผู้สร้างสรรค์เพื่อการแสดงออกโดยมีเป้าหมาย ในการยกระดับจิตใจผู้ชมเป็นสำคัญ ผลการศึกษาแสดงการวิเคราะห์ที่สามารถสรุปประเด็น การสร้างสรรค์ได้ 3 กระบวนการ ดังนี้ 1. จริตริเริ่มและสืบขนบ 2. แหวกขนบด้วยผสานปฏิกิริยาและ การรอมชอม 3. การสร้างดุลยภาพระหว่างสิ่งที่มองเห็นและสิ่งที่มองไม่เห็น เกิดองค์ความรู้และหลักการสร้างสรรค์แบบแผนอย่างสมเด็จครู ซึ่งนำมาพัฒนาสู่การออกแบบศิลปกรรมปักประดับ ร่วมสมัย และเป็นการจัดการองค์ความรู้ในรูปแบบของการถ่ายทอดเทคโนโลยีการประกอบสร้าง เพื่อผลักดันให้องค์ความรู้ปรากฏเป็นที่ประจักษ์ เห็นถึงพลวัตการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลง ในระดับวิธีคิดด้วยการบูรณาการข้ามศาสตร์มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เพื่อนำองค์ความรู้ที่เกิดจากการศึกษาไปต่อยอดจากอดีตปรับปัจจุบันสร้างคุณค่าใหม่ในอนาคต และเพื่อประโยชน์สำคัญสูงสุดของการวิจัยคือ “การยืดอายุภูมิปัญญาแบบแผนครูช่างของไทยที่มีมาแต่เดิม”
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4950
Appears in Collections:Decorative Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
630430052.pdf7.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.