Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4985
Title: HEADDRESS: BECAME GENDER
เทริด เพศที่กลับกลาย
Authors: Wanchai NARONGCHAI
วันชัย ณรงค์ชัย
Phatyos Buddhacharoen
พัดยศ พุทธเจริญ
Silpakorn University
Phatyos Buddhacharoen
พัดยศ พุทธเจริญ
ballmangto@yahoo.co.th
ballmangto@yahoo.co.th
Keywords: เทริด
เพศสภาพ
headdress
reversed gender
Issue Date:  28
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This thesis “Reversed Gender” is based on the aesthetic concept of creating artwork with a subconscious that expressed the gender, I couldn’t express freely as another LGBTQ. Even though, in Thai society, LGBTQ have been asking for the acceptance or the equality nowadays, some families do accepted but any families don’t. Therefore, be myself has to express though the role of arts and culture of the south which is called “Nora”. Thai traditional dance performance that conveys the context of local identity people including the way of living especially language and traditional culture of local people that are integrated together with area, arts and culture which shown their identity. The beauty that is created the style reflection of life and is full of spirit. The influences allow the performer to convey thoughts and feelings, fully capture the emotional play. Another thing that reflects third gender’s emotional identity can be achieved according to the desire is Therid or headdress, which is the most important clothing of Nora. The awareness for those who put on and play as a role. The performance must convey emotions and feelings that be a traditions and myths through the symbolic headdress that does not distinguish the gender. Any genders can put it on. According to the traditional Nora legend, even though the wearer is male, but Nora’s makeup is very delicate and beautiful like a woman’s face. The performance is not clearly indicated the genders which is intended to convey the emotions and make a sense of young women. As mentions above, the audiences have more ideas that Nora’s performers can be groups of people with diverse sexualities who are neither male nor female. I have brought up the southern cultural performance art, "Nora", as a main point of expression, to reflect one's identity through feelings, emotions, and gestures. Alternative Gender identity or LGBTQ that act under the headdress of Nora’s performance is created my own identity form, I express cultural objects, performances, and concealment by make up the face and body, be harmonic along the mood and identity though the thought that cannot be revealed. Therefore, art is expressed by beauty that has been appeared on the emotions and feelings as the role.
วิทยานิพนธ์หัวข้อ “เทริด เพศที่กลับกลาย” เป็นการสร้างสุนทรียภาพแห่งจิตใต้สำนึกของข้าพเจ้าซึ่งต้องการแสดงออกทางเพศสภาพ แต่ทว่าไม่สามารถแสดงออกเฉกเช่น บุคคลที่เป็นเพศที่สามได้โดยอิสระเสรี ถึงแม้ว่าเพศที่สามจะมีการเรียกร้องการยอมรับ หรือความเท่าเทียมอันจะเป็นการสะท้อนนัยถึงความเสมอภาคกันในสังคมไทยปัจจุบัน บางครอบครัวบางสังคมอาจจะมีการยอมรับกันบ้าง แต่ก็ไม่ได้เป็นการยอมรับในสังคมส่วนใหญ่หรือหรือในวงกว้าง ข้าพเจ้าจึงต้องอาศัยช่องทางอันเป็นเสมือนกุศโลบายการแสดงออกผ่านบทบาททางศิลปวัฒนธรรมของพื้นถิ่นภาคใต้ คือ การแสดง “มโนราห์หรือโนรา” ซึ่งเป็นการแสดงพื้นบ้านที่ถ่ายทอด เอกลักษณ์และอัตลักษณ์ความเป็นพื้นถิ่นของคนพื้นบ้าน รวมไปถึงการใช้ชีวิต วิถีความเป็นอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เช่น ภาษาและวัฒนธรรมประเพณีของคนพื้นถิ่นนั้นเป็นการหลอมรวมกันขึ้นด้วยบริบทแห่งพื้นที่ ศิลปะและวัฒนธรรม เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความมีอัตลักษณ์เฉพาะตน ความสวยงามที่สร้างรูปธรรมสะท้อนความเป็นรูปแบบของวิถีชีวิตและเปี่ยมไปด้วยจิตวิญญาณ โดนนัยของอิทธิพลเหล่านี้เป็นกลวิธีเชิงกุศโลบายที่ให้ผู้แสดงสามารถถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ของบทบาทได้อย่างเต็มที่ จึงทำให้ข้าพเจ้าซึมซับ ได้สัมผัสท่วงท่า ลีลาการแสดงออกต่าง ๆ ในการแสดง เพราะบุคคลที่แสดงนั้นส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเพศชาย แต่สามารถแสดงออกได้ถึงอารมณ์ของหญิงสาวที่ค่อนข้างสมจริงทั้งด้วยบทบาทจากการแสดงหรือแม้แต่ความรู้สึกจากภายในจิตใจ ดังนั้นแล้วการแสดงมโนราห์จึงเป็นศิลปะแห่งการร่ายรำที่เปี่ยมไปด้วยอารมณ์ความรู้สึก ท่วงท่าและลีลาที่งดงามในแบบพื้นถิ่น อีกนัยหนึ่งสิ่งที่สะท้อนความเป็นตัวตนทางอารมณ์ ความเป็นเพศที่สามได้ตามความรู้สึกที่ต้องการคือ “เทริด” อันเป็นเครื่องประดับศีรษะของนักแสดงมโนราห์ที่สำคัญซึ่งแฝงนัยยะแห่งการกระตุ้นเชิงจิตวิญญาณ สร้างความตระหนักให้แก่ผู้ที่สวมใส่ เปรียบเป็นเสมือนบทบาทหน้าที่ที่ต้องถ่ายทอดอารมณ์และความรู้สึกที่สะท้อนความเป็นขนบประเพณีพื้นถิ่น และมายาคติทางเพศสภาพผ่านสัญญะ “เทริด” ที่ไม่จำแนกผู้สวมใส่ว่ามีเพศสภาพเป็นเพศใด ไม่ได้กำหนดว่าจะเป็นเพศชาย หรือ เป็นเพศหญิง ดังนั้นการตีความเพศสภาพโดยสัญญะนี้ใครก็สามารถสวมใส่ได้ ตามมายาคติในพิธีโนรา และยังรวมไปถึงนัยยะการแต่งหน้าของโนราด้วย แม้ผู้สวมใส่จะมีเพศสภาพเป็นชาย หากแต่การแต่งหน้ากลับมีความละเมียดละไมและงดงามเฉกเช่นผู้หญิง บริบทสมมติที่ไม่ชี้ชัดว่าหมายถึงเพศใดนี้ อันเป็นเจตนาที่มุ่งหมายเพียงการสื่ออารมณ์ความรู้สึกและจริตแห่งหญิงสาว ซึ่งคนทั่วไปที่ได้รับชมการแสดงมโนราห์ จึงมีความคิดที่ว่า ผู้แสดงมโนราห์ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศหรือเพศสภาพที่ไม่ใช่ทั้งผู้ชายและผู้หญิง ทั้งนี้ข้าพเจ้าจึงได้หยิบยกศิลปะการแสดงทางวัฒนธรรมพื้นถิ่นภาคใต้คือ “มโนราห์หรือโนรา” มาเป็นสื่อกลางในการแสดงออกทางสุนทรียภาพ เพื่อสะท้อนนัยถึงอัตลักษณ์ตัวตนผ่านความรู้สึก อารมณ์ การแสดงออกทางท่าทาง จิตใจที่แฝงเร้นจริตความเป็นเพศสภาพ หรือ เพศทางเลือก ผ่านบริบทการสวมบทบาททางการแสดงมโนราห์ ซึ่งได้สร้างจากตัวตนของข้าพเจ้า จากภายในจิตใจที่ต้องการสื่อออกมา โดยผ่านวัตถุทางศิลปวัฒนธรรมการแสดง รวมไปถึงการปกปิดเชิงอำพราง หรือการตกแต่งหน้าตา ร่างกาย ให้สอดคล้องกับอารมณ์ ตัวตนที่ต้องการนำเสนอผ่านกระบวนการทางความคิด หรือการนำเสนอตัวตนของตนเองที่ไม่สามารถแสดงออกได้อย่างที่ต้องการจึงต้องอาศัยกุศโลบายสื่อทางทัศนศิลป์งานศิลปะภาพพิมพ์เป็นตัวแสดงออกถึงความงามอันสะท้อนอารมณ์ความรู้สึกในบทบาทโดยเจตนา
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/4985
Appears in Collections:Painting Sculpture and Graphic Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
620120026.pdf7.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.