Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/506
Title: การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนในกลุ่มสระยายโสม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2
Other Titles: PARTICIPATIVE ADMINISTRATION OF SCHOOL IN SRAYAISOM GROUP UNDER SUPHANBURI PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA 2
Authors: ขำเมธา, เทวพร
Kammata, Thewaporn
Keywords: การบริหารแบบมีส่วนร่วม
PARTICIPATIVE ADMINISTRATION
Issue Date: 28-Apr-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1. การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนกลุ่มสระยายโสม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 2.ผลการเปรียบเทียบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนในกลุ่มสระยายโสม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 เมื่อจำแนกตามสถานภาพ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา โดยใช้โรงเรียนในกลุ่มสระยายโสม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 เป็นหน่วยวิเคราะห์ กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียน 13 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 2 คน และ ครู จำนวน 2 คน รวมทั้งสิ้น 52 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารแบบมีส่วนร่วมตามแนวคิดของสวอนเบอร์ก (Swansburg) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าที และ การวิเคราะห์ค่าเอฟ ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนในกลุ่มสระยายโสม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ความผูกพันที่จะปฏิบัติ ความเป็นอิสระต่อความรับผิดชอบในงาน การตั้งเป้าหมายและวัตถุประสงค์ร่วมกัน และการไว้วางใจกัน 2. ผลการเปรียบเทียบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนในกลุ่มสระยายโสม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 เมื่อจำแนกตามสถานภาพ พบว่า ระดับการศึกษาและตำแหน่งหน้าที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนอายุ เพศและประสบการณ์ พบว่าไม่แตกต่างกัน The purposes of the research were to determine : (1) the participative administration of school in Srayaisom group under Suphanburi primary educational service Area 2 (2) the comparison of participative administration of school in Srayaisom group under Suphanburi primary educational service Area 2 when divided by the statuses of the sample of research were 13 primary schools . The sample of research thirteen primary schools in Srayaisom group under primary educational service Area 2 and the respondents of research from each school were 2 administrators and 2 teachers, totally 52 respondents. The instrument was employed by a questionnaire concerning to the participative administration based on Swansburg’s. The statistical analysis were frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, t-test and F-test (One – way ANOVA). The findings were follows: 1. The participative administration of school in Srayaisom group under Suphanburi primary educational service Area 2, as whole and as individual were found at the high level: ranking from the highest to the lowest by arithmetic mean : commitment, autonomy, goals and objectives one another respectively and trust. 2. The comparison between participative administration of School in Srayaisom group under Suphanburi primary educational service Area 2 when divided by statuses of the sample found that education and position were significant at the level of .01 but age, gender and experience were not significant.
Description: 54252351 ; สาขาวิชาการบริหารการศึกษา -- เทวพร ขำเมธา
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/506
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
54252351นางสาวเทวพร ขำเมธา.pdf3.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.