Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/5178
Title: THE DEVELOPMENT OF PHYSICS CURRICULUM BY USING INQUIRY-BASED LEARNING METHOD TO ENHANCE CRITICAL THINKING FOR STUDENTS IN GRADE 7, KOB HIGH SCHOOL, CAMBODIA
การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาฟิสิกส์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 วิทยาลัยกูบ ประเทศกัมพูชา
Authors: Sophann MAY
Sophann May
Siriwan Vanichwatanavorachai
ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย
Silpakorn University
Siriwan Vanichwatanavorachai
ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย
wantoo_@hotmail.com
wantoo_@hotmail.com
Keywords: การพัฒนาหลักสูตร
การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
Curriculum development
Inquiry-based learning
Critical thinking
Issue Date:  28
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purposes of this research were to 1. Develop a physics curriculum by using an inquiry-based learning method to enhance critical thinking for students in grade 7, Kob High School, Cambodia, 2. Study the effectiveness of the physics curriculum, including 2.1) Study students' critical thinking after studying, 2.2) Compare students' learning outcomes in physics course before studying and after studying, And 2.3) Study students’ satisfaction towards the inquiry-based learning method. The research procedures were 4 steps as follows: Step 1) Studying fundamental data, Step 2: Curriculum development, Step 3: Implementation of the physics curriculum, and Step 4: Evaluating and developing the physics curriculum. The sample group was twenty-six students in grade 7 at Kob High School, Cambodia, Semester 2, academic year 2023. The instruments of this research were comprised of a physics curriculum, lesson plans, questionnaires, interviews, critical thinking tests, learning outcome tests, and the students’ satisfaction questionnaires. Data were analyzed using research statistics, including content analysis, percentage, mean, and standard deviation, and the T-test Dependent. The results of this research were 1. The physics curriculum has 7 components: 1) Curriculum aims 2) Curriculum objectives 3) Course content 4) Course structure 5) Learning activities 6) Media and learning resources and 7) Measurement and Evaluation that consist of six inquiry-based learning steps as 1) Defining a problem or asking a question 2) Setting a hypothesis 3) Designing an experiment to prove the hypothesis 4) Testing the hypothesis 5) Result and 6) Evaluation. The quality of this physics curriculum was determined by 5 experts to be consistent and appropriate at the highest level. 2. The effectiveness of the physics curriculum was found that 2.1) the students had a good critical thinking level, 2.2) learning outcomes in physics after studying were higher than before studying with statistical significance at the .05 level, and 2.3) students’ satisfaction was at a high level.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1. พัฒนาหลักสูตรรายวิชาฟิสิกส์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 วิทยาลัยกูบ ประเทศกัมพูชา 2. ศึกษาประสิทธิผลของหลักสูตรรายวิชาฟิสิกส์ ได้แก่ 2.1) ศึกษาการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนหลังเรียน 2.2) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้รายวิชาฟิสิกส์ของนักเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ก่อนเรียนและหลังเรียน 2.3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ โดยมีการดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาหลักสูตร ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้หลักสูตรรายวิชาฟิสิกส์ ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลและปรับปรุงหลักสูตร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน  1 ห้องเรียนมีจำนวน 26 คน ที่ศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ในวิทยาลัยกูบ อำเภอโอ-จเริว จังหวัดบ็อนเตียย์เมียนเจ็ย ประเทศกัมพูชา เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย หลักสูตรรายวิชาฟิสิกส์ แผนจัดการเรียนรู้ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบวัดผลการเรียนรู้ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เนื้อหา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแบบทดสอบค่าที T-test Dependent ผลการวิจัยพบว่า 1. หลักสูตรรายวิชาฟิสิกส์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 วิทยาลัยกูบ ประเทศกัมพูชา มีองค์ประกอบ 7 องค์ประกอบ คือ 1) เป้าประสงค์ของหลักสูตร 2) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร 3) เนื้อหาวิชา 4) โครงสร้างรายวิชา 5) กิจกรรมการเรียนรู้ 6) สื่อและแหล่งเรียนรู้ และ 7) การวัดและประเมินผล ประกอบด้วยขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 6 ขั้นตอน คือ 1) การกำหนดปัญหาหรือตั้งคำถาม 2) การตั้งสมมติฐาน 3) การออกแบบทดลองเพื่อพิสูจน์สมมติฐาน 4) การทดสอบสมมติฐาน 5) สรุปผล และ6) การประเมินผล พร้อมทั้งหาคุณภาพของหลักสูตรโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน พบว่า หลักสูตรนี้มีความสอดคล้องและความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด 2. ประสิทธิผลของหลักสูตรรายวิชาฟิสิกส์มีดังนี้ 2.1) นักเรียนมีการคิดอย่างมีวิจารณญาณ อยู่ในระดับดี 2.2) ผลการเรียนรู้รายวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.3) ความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ อยู่ในระดับมาก
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/5178
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
640620020.pdf12.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.