Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/5351
Title: | From the Breath of Ayutthaya in Phetchaburi Province to the Design of Creating Characters Process for Stop Motion Animation about Art and History ลมหายใจแห่งอยุธยาในจังหวัดเพชรบุรี สู่การออกแบบกระบวนการสร้างสรรค์ตัวละครสำหรับภาพยนตร์สต็อปโมชั่น แอนิเมชันแนวศิลปะและประวัติศาสตร์ |
Authors: | Manop IAMSAARD มานพ เอี่ยมสะอาด Pensiri Chartniyom เพ็ญสิริ ชาตินิยม Silpakorn University Pensiri Chartniyom เพ็ญสิริ ชาตินิยม CHARTNIYOM_P@SU.AC.TH CHARTNIYOM_P@SU.AC.TH |
Keywords: | สต็อปโมชั่น แอนิเมชัน การออกแบบตัวละคร อยุธยา เพชรบุรี ลมหายใจแห่งอยุธยา Stop Motion Animation Character Design Ayutthaya Phetchaburi Breath of Ayutthaya |
Issue Date: | 28 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | Research on From the Breath of Ayutthaya in Phetchaburi Province to the Design of Creating Characters Process for Stop Motion Animation about Art and History The objectives are 1) To create characters for a stop motion animation film from the late Ayutthaya history during the second fall of the capital 2) To develop the composition of materials used to create characters for stop motion animation films 3) Develop internal movement mechanisms for characters in the body and face 4) Create a stop motion film process. Animation showing the concept of creating characters related to the location. which is beneficial to the stop-motion animation film industry, including the study and understanding of history based on spirit.
This research used qualitative research methods. By collecting historical and artistic information from temples in Phetchaburi Province. and collect information from those involved in art, culture, design, and animation. This is to design characters and mechanical systems, including material elements. The results of the study found that 1) character design by studying the history of each person along with the interpretation of paintings and sculptures that appeared in the temple resulted in unique character characteristics. The researcher designed 18 characters. 2) Development of material composition with a variety of properties. It reflects the relationship with place and the spirit of the material and character movement characteristics. 3) Derive movement mechanisms from character characteristics and material elements, which has 4 movement patterns 4) The movement of the characters is the starting point towards the spiritual awareness of the material and the place. It can be conveyed through the process of creating movement to bring the characters to life and contain the history of the place. The researcher created an animation. Stop-motion technique, 5.30 minutes in length, shows the movement in relation to the source materials and murals. The end result can inspire designers who have roots in art and culture as inspiration, to see the importance of research from various fields of study towards creative integration. งานวิจัยเรื่อง ลมหายใจแห่งอยุธยาในจังหวัดเพชรบุรี สู่การออกแบบกระบวนการสร้างสรรค์ตัวละครสำหรับภาพยนตร์สต็อปโมชั่น แอนิเมชันแนวศิลปะและประวัติศาสตร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างสรรค์ตัวละครสำหรับภาพยนตร์สต็อปโมชั่น แอนิเมชัน จากประวัติศาสตร์อยุธยาตอนปลายในช่วงเหตุการณ์การเสียกรุงครั้งที่ 2 2) เพื่อพัฒนาองค์ประกอบของวัสดุที่ใช้สร้างสรรค์ตัวละครสำหรับภาพยนตร์สต็อปโมชั่น แอนิเมชัน 3) พัฒนากลไกการเคลื่อนไหวภายในตัวละครในส่วนของร่างกายและใบหน้า 4) สร้างกระบวนการทางภาพยนตร์สต็อปโมชั่น แอนิเมชันที่แสดงฐานความคิดการสร้างตัวละครที่สัมพันธ์กับสถานที่ อันเป็นประโยชน์ที่จะเกิดกับวงการภาพยนตร์สต็อปโมชั่น แอนิเมชัน รวมถึงการศึกษาและการทำความเข้าใจประวัติศาสตร์บนพื้นฐานจิตวิญญาณ การวิจัยในครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการเก็บข้อมูลทางประวัติศาสตร์และศิลปะจากวัดในจังหวัดเพชรบุรี และเก็บข้อมูลจากผู้เกี่ยวข้องทางด้านศิลปวัฒนธรรม การออกแบบ และด้านแอนิเมชัน เพื่อทำการออกแบบตัวละครและระบบกลไกรวมถึงองค์ประกอบของวัสดุ ผลการศึกษาพบว่า 1) การออกแบบตัวละครโดยศึกษาประวัติศาสตร์แต่ละบุคคลพร้อมกับการแปลความหมายของภาพเขียนและงานปั้นที่ปรากฏในวัดทำให้เกิดลักษณะตัวละครที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยผู้วิจัยได้ออกแบบตัวละครจำนวน 18 ตัวละคร 2) การพัฒนาองค์ประกอบของวัสดุที่มีความหลากหลายของคุณสมบัติ ซึ่งสะท้อนความสัมพันธ์กับสถานที่และจิตวิญญาณของวัสดุ และลักษณะการเคลื่อนไหวของตัวละคร 3) ได้กลไกการเคลื่อนไหวจากลักษณะตัวละครกับองค์ประกอบของวัสดุ ซึ่งมีรูปแบบการเคลื่อนไหว 4 รูปแบบ 4) การเคลื่อนไหวของตัวละครเป็นจุดเริ่มต้นไปสู่การรับรู้ถึงจิตวิญญาณของวัสดุกับสถานที่ สามารถถ่ายทอดด้วยกระบวนการสร้างความเคลื่อนไหวให้ตัวละครมีชีวิต รู้ถึงประวัติศาสตร์ของสถานที่ ผู้วิจัยได้สร้างแอนิเมชัน เทคนิคสต็อปโมชั่น ความยาว 5.30 นาที แสดงท่าทางการเคลื่อนไหวสัมพันธ์กับแหล่งวัสดุและจิตรกรรมฝาผนัง เพื่อสร้างแรงบันดาลใจแก่นักออกแบบที่มีรากเหง้าทางด้านศิลปวัฒนธรรมเป็นแรงบันดาลใจ มองเห็นความสำคัญของการศึกษาค้นคว้าจากหลากหลายศาสตร์สู่การบูรณาการร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/5351 |
Appears in Collections: | Decorative Arts |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
61158909.pdf | 17.12 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.