Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/57
Title: การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้โครงงานร่วมกับเทคนิคการสืบเสาะ หาความรู้ ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสร้างนวัตกรรม และจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Other Titles: THE DEVELOPMENT OF INSTRUCTIONAL SCIENCE MODEL BY USING PROJECT-BASED LEARNING THROUGH INQUIRY-BASED LEARNING BY FLIPPED CLASSROOM APPROACH TO ENHANCE CREATIVE INNOVATION ABILITY AND SCIENTIFIC MINDS OF NINTH GRADE STUDENTS
Authors: เพียงดวงใจ, นภาภรณ์
PIANGDUANGJAI, NAPAPORN
Keywords: รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
โครงงาน
การสืบเสาะหาความรู้
แนวคิดห้องเรียนกลับด้าน/นวัตกรรม/ จิตวิทยาศาสตร์
แนวคิดห้องเรียนกลับด้าน
นวัตกรรม
จิตวิทยาศาสตร์
SCIENCE INSTRUCTIONAL MODEL
PROJECT
INQUIRY-BASE LEARNING
FLIPPED CLASSROOM
INNOVATION
SCIENTIFIC MINDS
Issue Date: 28-Jul-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1)พัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้โครงงานร่วมกับเทคนิคการสืบเสาะหาความรู้ ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสร้างนวัตกรรม และจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กาหนด 80/80 และ2)ประเมินประสิทธิผลของ รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้โครงงานร่วมกับเทคนิคการสืบเสาะหาความรู้ ตามแนวคิดห้องเรีย นกลับด้าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 จานวน 3 คน ที่ศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 255 โรงเรียนรัตนราษฎร์บารุง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้โครงงานร่วมกับเทคนิค การสืบเสาะหาความรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน คู่มือการใช้รูปแบบ หน่วยและแผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิทยาศาสตร์เรื่อง โลกดาราศาสตร์และอวกาศ แบบประเมินความสามารถในการสร้างนวัตกรรม แบบประเมิน จิตวิทยาศาสตร์ และแบบสอบถามความคิดเห็นต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้โครงงานร่วมกับเทคนิค การสืบเสาะหาความรู้ ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าสถิติร้อยละ(%) ค่าเฉลี่ย( X ) ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน(S.D.) หาค่าทีแบบไม่อิสระ(t-test for dependent samples)และการวิเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1.รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้โครงงานร่วมกับเทคนิคการสืบเสาะหาความรู้ ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสร้างนวัตกรรมและจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีชื่อว่า “SCIENCE Model” มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ การที่ผู้เรียนเป็นผู้สร้างนวัตกรรมขึ้นเองอย่างมีระบบ โดยอาศัยการแสวงหาความรู้ ด้วยการสืบเสาะหาความรู้ และผู้เรียนมีบทบาทสาคัญในการเรียนรู้ผ่านสื่อและเทคโนโลยี ได้ตลอดเวลาทุกสถานที่โดยมีครูทาหน้าที่แนะนำ ช่วยเหลือ สนับสนุน 2) วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ความสามารถในการสร้างนวัตกรรมและจิตวิทยาศาสตร์ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 6 ขั้น คือ (1) ขั้นกระตุ้นผู้เรียน(Stimulation: S) (2)พิจารณาสาเหตุ(Consideration and Cause: S) (3) สืบเสาะแสวงหา(Inquiry: I) (4) สารวจและตรวจสอบ(Exploration and Examine: E)(5)บันทึกและอภิปราย(Note and Discussion: N) และ(6) สรุปและขยายความรู้(Conclusion and Elaboration: CE) 4)การวัดและประเมินผล 3 ด้าน คือ ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้านความสามารถในการสร้างนวัตกรรม และด้านจิตวิทยาศาสตร์ และ5) เงื่อนไขสาคัญในการนารูปแบบไปใช้ให้ประสบผลสาเร็จ ประกอบด้วย ผู้เรียนต้องมีความสามารถและความพร้อมในการใช้และเข้าถึงเทคโนโลยีมีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ มีวินัยและมุ่งมั่นในการทางาน จัดสภาพแวดล้อมที่เอื้ออานวยต่อการแสวงหาความรู้ของผู้เรียน โดยพบว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้โครงงานร่วมกับเทคนิคการสืบเสาะหาความรู้ ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านมีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.00/80.21 2.ประสิทธิผลของรูปแบบพบว่า 2.1)ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่องโลกดาราศาสตร์และอวกาศ ของนักเรียน หลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้โครงงานร่วมกับเทคนิคการสืบเสาะหาความรู้ ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2)ความสามารถในการสร้างนวัตกรรม หลังใช้รูปแบบ การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้โครงงานร่วมกับเทคนิคการสืบเสาะหาความรู้ ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านอยู่ในระดับสูง 2.3)จิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียน หลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้โครงงานร่วมกับเทคนิคการสืบเสาะ หาความรู้ ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านอยู่ในระดับมากที่สุด และ2.4)ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้โครงงานร่วมกับเทคนิคการสืบเสาะหาความรู้ ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านในภาพรวมพบว่าขั้นตอนในการจัดการเรียนรู้ส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ควบคู่กับการพัฒนาจิตวิทยาศาสตร์ในด้านต่าง ๆของตนเองเนื่องจากกิจกรรมในห้องเรียนเป็นการทากิจกรรมกลุ่ม มีสื่อให้ศึกษาได้ทุกที่ทุกเวลาและยังสามารถแก้ปัญหาการขาดเรียนได้ The purposes of this research were to: 1) develop and determine an efficiency of instructional science model by using project-based learning through inquiry-based learning by flipped classroom approach to enhance creative innovation ability and scientific minds of ninth grade students, and evaluate the efficiency of instructional science model in level 80/80. 2) evaluate the effectiveness by using project-based learning through inquiry-based learning by flipped classroom approach the samples comprised of 39 ninth grade students in the second semester of the academic year 2015 at Ratanaratbumrung School. Research instruments consisted of instructional science model by using project-based learning through inquiry-based learning by flipped classroom approach, a handbook for the model, units and lesson plans, 2) evaluate the effectiveness of learning outcome test forms “Astrophysics and Space”, creative innovation ability assessment forms, scientific minds assessment forms, and questionnaire opinion in model. Statistical approaches used for data analysis were mean, percentage, standard deviation, dependent t-test, and content analysis. The results were as follows: 1. The instructional science model by using project-based learning through inquiry-based learning by flipped classroom approach, creative innovation ability and scientific minds of ninth grade students called “SCIENCE Model” consisted of five elements. There were 1) principle: the student innovators with science-based knowledge with an inquiry for knowledge. And play an important role in learning through media and technology. anytime, anyplace with the teacher acting as coach.; 2) objective: developing learning outcome test“Astrophysics and Space”, creative innovation and scientific minds of ninth grade students; 3)the learning process which had six steps, (1)Stimulation : S (2)Consideration and Cause : S (3)Inquiry : I (4)Exploration and Examine : E (5)Note and Discussion : N and(6)Conclusion and Elaboration : CE); 4)the 3-part assessments on learning outcome test, creative innovation and scientific minds; and 5)the important conditions for success of SCIENCE Model successfully which consisted of the students must be capable and ready to use and must have accesses to technology; must have responsibility, integrity, discipline and commitment to work.; The environment is designed to support the learning. As a result, the efficiency of the SCIENCE Model was 80.00/80.21 2. The effectiveness of the SCIENCE Model indicated that after using the SCIENCE Model, 2.1) learning outcome on“Astrophysics and Space” was higher significance than before the instruction at .05 level, 2.2) the students’ creative innovation ability were at the high level, 2.3) the students learning styles had a high level of scientific minds. and 2.4) the opinion of students that, the SCIENCE Model helped developing their learning and scientific minds since the class activities were in group and the media can be accessed anytime, anywhere, Moreover, it was able to help class absenteeism issues.
Description: 56253403 ; สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ -- นภาภรณ์ เพียงดวงใจ
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/57
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
14.56253403 นภาภรณ์ เพียงดวงใจ.pdf8.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.