Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/704
Title: แนวทางการบรรเทาผลกระทบจากปรากฏการณ์เกาะความร้อนของเมืองในพื้นที่ความหนาแน่นสูง: กรณีศึกษาถนนสีลม
Other Titles: THE CONCEPT FOR MITIGATING URBAN HEAT ISLAND IN HIGH DENSITY : CASE STUDY OF SILOM ROAD
Authors: ธีร์ธวัชวงศ์, ณภัสสร
Theetawatwong, Napassorn
Keywords: ปรากฏการณ์เกาะความร้อน
ถนนสีลม
URBAN HEAT ISLAND
SILOM ROAD
Issue Date: 19-Apr-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางที่เป็นไปได้ในการบรรเทาผลกระทบจากปรากฏการณ์เกาะความร้อนในพื้นที่ที่มีความหนาแน่นสูงโดยรวบรวมข้อมูลทฤษฎี แนวทางการปฏิบัติ รวมทั้งการสัมภาษณ์ความคิดเห็นกลุ่มตัวอย่าง เพื่อเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมในการบรรเทาผลกระทบจากปรากฏการณ์เกาะความร้อน โดยมีพื้นที่สีลมเป็นพื้นที่กรณีศึกษาซึ่งกลุ่มตัวอย่างในการทำวิจัย ได้แก่ ตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐ ตัวแทนจากหน่วยงานเอกชน และนักวิชาการทางด้านผังเมือง โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-Structured Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ การสำรวจพื้นที่ การวิเคราะห์พื้นที่เพื่อการออกแบบ และการสัมภาษณ์ ผลการวิจัย พบว่า แนวทางในการบรรเทาผลกระทบเกาะความร้อนที่สามารถนำไปใช้ในทางปฏิบัติ ได้แก่ การออกแบบถนนและทางเดินเท้ารวมทั้งการปลูกต้นไม้บนพื้นที่ว่างของเมืองวิธีการทำหลังคาเขียว (Green Roof) และการเพิ่มสวนสาธารณะบนพื้นที่ว่าง นอกเหนือจากแนวทางที่สามารถนำไปใช้ได้จริงข้างต้นยังมีแนวทางอื่น ๆ ที่สามารถบรรเทาผลกระทบจากปรากฏการณ์เกาะความร้อนได้ ไม่ว่าจะเป็นการปลูกต้นไม้ในพื้นที่ว่างระหว่างอาคาร การใช้ระบบหลังคาเย็น การใช้วัสดุปูพื้นที่ถนนที่ช่วยลดอุณหภูมิ ตลอดจนการคำนึงถึงระบบภายในอาคาร ระบบขนส่งมวลชนภายในพื้นที่เมือง รวมทั้งมาตรการทางกฎหมายที่จะเป็นแนวทางในการนำไปใช้จริงต่อไป ผลการศึกษานี้สามารถนำไปไปประยุกต์ใช้กับพื้นที่อื่น ๆ เพื่อเป็นแนวทางในการบรรเทาผลกระทบจากปรากฏการณ์เกาะความร้อนในพื้นที่เมือง The instruments employed in this research are survey, area analysis and design and semi-structured interview. As for data collection, there are three sectors were selected as interviewees; they consist of government organization, private agencies and urban planning scholars. The interview is open-ended questions about the comments on the mitigation of urban heat island compiled from studies and related documents. Comments on the guidelines for its implementation and other approaches that can be applied to urban high density are included. The results indicated that there are several potential approaches for urban heat island mitigation, which are the redesign of roads and sidewalks, planting trees in the open space across the city, green roof (roofs with a vegetated surface and substrate) and more green space in the urban areas. Moreover, there are other alternative approaches to remedy, which are planting trees in the spaces between buildings, the use of cool roof system, the use of pavement for lowering urban temperature, the building systems mechanic and effective mass transit in urban areas. Importantly, a legal measure is a suggestion to bring all above mentioned approaches into implementation. To be concluded, these research findings are beneficial to mitigate urban heat island effects and also can be utilized as basis for reducing urban heat island effects in other studies.
Description: 56051202; สาขาวิชาการออกแบบชุมชนเมือง --ณภัสสร ธีร์ธวัชวงศ์
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/704
Appears in Collections:Architecture

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56051202 ณภัสสร ธีร์ธวัชวงศ์.pdf6.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.