Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/729
Title: การศึกษาเปรียบเทียบสถาปัตยกรรมวัดเเก้วเเละวัดหลง จังหวัดสุราษฎร์ธานี กับสถาปัตยกรรมจันทิ ชวาภาคกลาง ประเทศอินโดนีเซีย
Other Titles: ARCHITECTURE OF CANDI IN SOUTHERN THAILAND AND CENTRAL JAVA, INDONESIA
Authors: สุวัฒนโชติกุล, วราภรณ์
Suwatchotikul, Waraporn
Keywords: เศรษฐศาสตร์วัฒนธรรม
จามปา
ศรีวิชัย
ไชยา
จันทิ
CULTURAL ECONOMICS
CHAMPA
SRIVIJAYA
CHAIYA
CANDI
Issue Date: 22-Jul-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: สถาปัตยกรรมศรีวิชัยในเมืองไชยานั้น นอกจากพระบรมธาตุไชยาแล้วยังมีสถาปัตยกรรมวัด แก้วและวัดหลง ที่แม้ปัจจุบันจะเหลือเพียงทรากอาคาร แต่ด้วยร่องรอยทางสถาปัตยกรรมที่ปรากฏ โดยเฉพาะ “สถูปเจดีย์แบบเอวคอด” ที่ประดับอยู่บนชั้นหลังคา อันถือเป็นรูปแบบศิลปะที่เชื่อมโยง ได้กับ “จันทิ” สถาปัตยกรรมศรีวิชัยของราชวงศ์ไศเลนทร์ในชวาภาคกลาง องค์ประกอบทาง สถาปัตยกรรมที่ส าคัญดังกล่าว ท าให้เกิดข้อสรุปในทางวิชาการตรงกันว่า สถาปัตยกรรมศรีวิชัยใน เมืองไชยา อันได้แก่ พระบรมธาตุไชยา และกลุ่มสถาปัตยกรรมวัดเวียง วัดแก้ว วัดหลงนั้น ถูกสร้าง ขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 14-15 โดยมีรูปแบบศิลปะที่เชื่อมโยงได้กับศิลปะศรีวิชัยของราชวงศ์ไศเลนทร์ ในชวาภาคกลาง การศึกษานี้ได้ใช้กระบวนการสันนิษฐานรูปแบบสถาปัตยกรรม มาวิเคราะห์ สถาปัตยกรรมศรีวิชัยในเมืองไชยา จนน ามาสู่ข้อสันนิษฐานใหม่ที่ต่างไปจากเดิมว่า พระบรมธาตุไชยา น่าจะถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12-13 ด้วยรูปแบบศิลปะจามแห่งอาณาจักรจามปา แต่มาถูกปรับแปลงให้เป็นสถาปัตยกรรมศรีวิชัยในพุทธศตวรรษที่ 14-15 โดยเพิ่มองค์ประกอบที่เป็น สถูปเจดีย์บนชั้นหลังคาทุกชั้นรวมทั้งบนยอดสูงสุดของอาคาร เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นช่วงเวลาเดียวกับ ที่มีการก่อสร้างกลุ่มสถาปัตยกรรมวัดเวียง วัดแก้วและวัดหลงบนพื้นที่เมืองไชยา ทั้งนี้พบว่าวัดแก้ว และวัดหลงซึ่งปัจจุบันยังเหลือร่องรอยให้ศึกษาได้บางส่วนนั้น มีแบบแผนการก่อสร้างเป็นแบบศิลปะ ชวา-ศรีวิชัย แต่รายละเอียด ฝีมือเชิงช่างและองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมมีรูปแบบศิลปะจามที่ ผสมผสานความเป็นท้องถิ่นไชยา นอกจากนี้ เมื่อท าการศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรมพระบรมธาตุไชยา วัดแก้วและวัดหลงควบคู่ไปกับการศึกษาหลักฐานด้านอื่นๆ อาทิ จารึก จดหมายเหตุจากจีน ศิลปวัตถุ และลักษณะที่ส าคัญทางภูมิศาสตร์ของเมืองไชยา ผ่านกรอบการศึกษาของทฤษฎีทางสังคมแนว วิพากษ์อย่าง “เศรษฐศาสตร์วัฒนธรรม” ได้น ามาสู่ข้อสันนิษฐานใหม่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ศรีวิชัยใน เมืองไชยาว่า “ก่อนที่ไชยาจะถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรศรีวิชัยในพุทธศตวรรษที่ 14 นั้น พื้นที่แห่งนี้น่าจะเคยเป็นส่วนหนึ่งหรืออยู่ใต้อิทธิพลของอาณาจักรจามปามาก่อน” Candis at Phra Borommathat Chaiya and Wat Kaeo and Wat Long, Suratthani were chosen as case studies because they were Srivijayan architecture found in Thailand. Candi at Wat Kaeo and Wat Long had some similarities with Candi Kalasan in central Java in a cruciform plan and decorated stupas found in an archaeology site. Furthermore, according to Wat Semamuang inscription, they were built around 775 CE. or in 778 CE., according to Kalasa inscription. Scholars generally conclude that Phra Borommathat Chaiya and Wat Kaeo and Wat Long built in 8th-9th centuries, coincide with Srivijayan art style. However, the study suggests that Phra Borommathat Chaiya probably was built in 6th-7th centuries. The traditional construction plan, elements, details and skilled technique had unique characteristics and related to Cham art. Only elements of curve-base shape stupas on the top of the building associated with Srivijayan art and were probably added later. Parallel period, candi at Wat Kaeo and Wat Long were built in the 8th century. The stupas influence of Srivijayan art which associated with Candi Kalasan in central Java such as architectural plans and elements on the top of the buildings. Nevertheless, architectural details and technique can be related to Cham art and indicate that they were adopted and transformed into Chaiya local art style. Unique characteristics of Candi in southern Thailand were analysed through reconstruction process and other evidences. They lead to propose a hypothesis that “Before Chaiya was a part of Srivijaya in 8th century, it was probably under the influence of Champa kingdom.”
Description: 56052206 ; สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม --วราภรณ์ สุวัฒนโชติกุล
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/729
Appears in Collections:Architecture

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56052206 วราภรณ์ สุวัฒนโชติกุล.pdf56052206 ; สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม -- วราภรณ์ สุวัฒนโชติกุล58.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.