Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/749
Title: จินตภาพแห่งความศรัทธาและความเชื่อ : โครงการสร้างสรรค์จิตรกรรมเพื่อการตกแต่ง โรงแรม เซี่ยงไฮ้แมนชั่น กรุงเทพฯ
Other Titles: Image of faith and believe: painting project for interior decoration of Shanghai Mansion Hotel Bangkok
Authors: ปานคง, นายประพัฒน์
Pankong, Praphat
Keywords: จินตภาพแห่งความศรัทธาและความเชื่อ
โครงการสร้างสรรค์
จิตรกรรม
เพื่อการตกแต่ง
โรงแรมเซี่ยงไฮ้แมนชั่น กรุงเทพฯ
Image of faith and believe
project
painting
interior decoration
Shanghai Mansion Hotel Bangkok
Issue Date: 5-Aug-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้ เป็นกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะด้วยรูปแบบจิตรกรรมเพื่อการตกแต่งโรงแรมเซี่ยงไฮ้แมนชั่น กรุงเทพฯ โดยผู้วิจัยได้สร้างผลงานจิตรกรรมทั้งหมด 1 ชุด ผลงานแบ่งเป็นผลงานย่อย 6 ชิ้น ผลงาน ผลงานทั้งหมดมีแนวคิดในการสร้างสรรค์ที่หยิบยกแรงบันดาลใจจากความเชื่อ ความศรัทธา ในวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชาวไทยเชื้อสายจีนในย่านเยาวราช นำเสนอมุมมองด้านความดี ความงามของวัฒนธรรมจีน ถ่ายทอดออกมาเป็นงานสร้างสรรค์เชิงสัญลักษณ์ ให้ความรู้สึกสงบ สว่าง ผนวกความต้องการถ่ายทอดตามทัศนคติและอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดจากจินตนาการและประสบการณ์ส่วนตัว การสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมชุดนี้ เกิดจากการบูรณาการแนวความคิด ของสถาปนิกผู้ออกแบบโรงแรมกับแนวความคิดของผู้วิจัย แนวคิดของการออกแบบที่มีอยู่เดิมทำให้โรงแรมมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะในเรื่องของ สี ลวดลาย การใช้แสง ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากศิลปกรรมจีน เช่น ลวดลายการตกแต่งเฟอร์นิเจอร์ที่นำมาตกแต่ง เก้าอี้แบบจีน การใช้สีผนัง และการใช้แสงในการสร้างบรรยากาศ ข้าพเจ้าเคารพแนวคิดเดิมของสถาปนิก โดยไม่ไปเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสถาปัตยกรรมและการตกแต่ง เพียงแต่พิจารณาว่า มีพื้นที่ส่วนใดที่สามารถนำผลงานศิลปกรรมของข้าพเจ้าไปมีส่วนร่วมได้ นอกจากนี้ต้องพิจารณารูปแบบ ผลงานของข้าพเจ้าสามารถประสานกลมกลืนไม่ขัดแย้ง มีลักษณะส่งเสริมซึ่งกันและกันและดำรงความเป็น อัตลักษณ์ของวัฒนธรรมจีนไว้ ข้าพเจ้าเลือกที่จะใช้รูปวงกลม ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจาก “ประตูวงเดือน” ในงานสถาปัตยกรรมจีน โดยนำรูปแบบวงกลมของประตูวงเดือนมาพัฒนาแบบเป็นชิ้นส่วนย่อยเหมือนภาพต่อ โดยไม่คำนึงถึงสัดส่วนของวงกลมเดิม ซึ่งภายในชิ้นส่วนย่อยของวงกลมเหล่านั้นได้นำมาใส่รายละเอียดลวดลายจีนและการใช้สีตามรสนิยมจีนที่ประสานกับผนัง โดยใช้สีเหลือง แดง ส้ม ดำ เป็นสีหลัก และให้มีสีคู่ขัดแย้งเป็นสีน้ำเงินและม่วง ตลอดจนนำสาระเรื่องราวด้านความเชื่อความศรัทธาของชาวจีนนำเสนอสัญลักษณ์ทางวัตถุมงคลลักษณะต่างๆ การติดตั้งจึงมองผนังเป็นพื้นภาพ วงกลมแต่ละชิ้นได้นำไปใช้วิเคราะห์หาความสัมพันธ์กับขนาดพื้นที่ (พื้นภาพ) วิเคราะห์มุมมอง คำนึงถึงระยะการมองระหว่างคนดูกับผลงาน คำนึงถึงองศาตาการมอง และคำนึงถึงความรู้สึกของคนดูที่มีต่อผลงานควบคู่กัน ข้าพเจ้าได้แก้ปัญหาเรื่องความไม่เข้ากันของผลงานเป็นรายชิ้นและความไม่ประสานกลมกลีนระหว่างผลงานกับผนังติดตั้งภาพ ซึ่งเป็นรสนิยมและทักษะที่สะสมมา โดยการเคารพสถาปนิกผู้ออกแบบ และการถ่อมตนหรือลดอัตตาของข้าพเจ้าที่ไม่ได้นำเอาความชอบและทักษะที่ตนชำนาญเป็นที่ตั้ง ข้าพเจ้าได้พยายามและมีความเชื่อมั่นว่า ผลงานวิทยานิพนธ์ชุดนี้ประสบความสำเร็จและเป็นตัวอย่างของการแก้ปัญหาโครงการในลักษณะเดียวกันนี้ได้ในระดับหนึ่ง This Thesis is an artistic creation process in characteristics of painting to decorate Shanghai Mansion Hotel, Bangkok. The researcher created the series of 6 paintings under the concept and inspiration from the beliefs, faithfulness in the cultures and daily life of Thai-Chinese community in Yaowarat District, obviously presented in the perspective of virtue and beauty of Chinese cultures through the symbolic artworks, its reflecting to the peace of mind and illumination, involving the transmission to the opinion and emotion from the imagination and direct experience. All these series of paintings originated from the conceptual integration of an architect who designed the hotel and researcher. The primary concept of design presented to the specific identities of colors, patterns and lighting under an inspiration from the Chinese art, for instance; the patterned design of furniture: chairs in Chinese style, wall colors selection and light setting for creating an atmosphere. I unchanged any architectural structures and designs as the architect’s primary concept, nevertheless, I have just considered which spaces can install my artworks. Additionally, it is necessary to consider my artworks’ characteristics that have harmony, mutually conformity and chinese cultural identity’s existence. I preferred to use the rounded shape under my inspiration from the circular door in Chinese architectural work, integrating as the form of jigsaw pieces, regardless to the proportion of original shape, increasing the Chinese patterned design on those segments of circles to be harmonious with the wall, using the main colors; yellow, red, orange and the opposed colors; dark blue and purple, also reflecting to Chinese beliefs and faithfulness through several symbolic characteristics of sacred objects. The wall is background of each circular piece in the process of an installation which is necessary to analyze the balance of space, distance of viewer and artwork, also regarding to the dimension of vision, interaction and response of viewers. I absolutely solved the problems with my taste and skillful experience about each incongruous artwork, the dissonance of artworks and wall space. Especially, I humbled and decreased my ego, without any consideration under my pleasure and proficient skill so as to respect the architect who created the ideological designs. Importantly, I researched with an effort and confidence that this thesis will be success and useful as the sample of solving the similar problems.
Description: 54152309; สาขาวิชาประยุกตศิลป์ศึกษา --ประพัฒน์ ปานคง
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/749
Appears in Collections:Decorative Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
54152309 นายประพัฒน์ ปานคง.pdf13.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.