Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/785
Title: การพัฒนาการจัดการเรียนรู้เรื่ององค์ประกอบศิลป์ ตามรูปแบบการเรียนรู้เบรนเบสต์ด้วยเทคนิคซินเนคติกส์ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างสรรค์งานศิลปะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
Other Titles: THE DEVELOPMENT OF ART COMPOSITION LEARNING BY USING BRAIN-BASED LEARNING MODEL WITH SYNECTIC TECHNIQUES TO ENHANCE THE CREATIVITY OF GRADE 3 STUDENTS IN CREATING WORK OF ART
Authors: ประสบพิชัย, นิติพร
Prasobpichai, Nitiporn
Keywords: องค์ประกอบศิลป์
รูปแบบการเรียนรู้เบรนเบสต์ต์ และเทคนิคซินเนคติกส์
ความคิดสร้างสรรค์
ART COMPOSITION
BRAIN-BASED LEARNING MODEL WITH SYNECTIC TECHNIQUES
CREATIVITY
Issue Date: 23-Dec-2558
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการจัดการเรียนรู้เรื่ององค์ประกอบศิลป์ตามรูปแบบการเรียนรู้แบบเบรนเบสต์ ด้วยเทคนิคซินเนคติกส์ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างสรรค์งานศิลปะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) เปรียบเทียบผลต่างของคะแนนความคิดสร้างสรรค์ก่อนเรียน และหลังเรียนของกลุ่มควบคุมที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบปกติกับกลุ่มทดลอง และ3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลองที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้เรื่ององค์ประกอบศิลป์ตามรูปแบบการเรียนรู้เบรนเบสต์ด้วยเทคนิคซินเนคติกส์ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างสรรค์งานศิลปะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนาคประสิทธิ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนาคประสิทธิ์ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 60 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่มจากประชากรโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่มจากทั้งหมด 8 ห้อง เพื่อให้ได้ 2 ห้องเรียน จากนั้นทำการสุ่มแบบง่ายจาก 2 ห้องเรียนเพื่อให้ได้กลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนการสอนเรื่ององค์ประกอบศิลป์ตามรูปแบบการเรียนรู้เบรนเบสต์ด้วยเทคนิคซินเนคติกส์ 2) เครื่องมือประเมินคะแนนความคิดสร้างสรรค์ ประกอบด้วย แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ที่ใช้รูปภาพเป็นสื่อแบบ ก ของทอแรนซ์และแบบประเมินความคิดสร้างสรรค์จากชิ้นงานที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และ 3) แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากผลงานเรื่ององค์ประกอบศิลป์ สถิติที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test independent) ผลการวิจัยพบว่า 1. การจัดการเรียนการสอนเรื่ององค์ประกอบศิลป์ ตามรูปแบบการเรียนรู้เบรนเบสต์ด้วยเทคนิคซินเนคติกส์ มีประสิทธิภาพ E1/ E2 = 78.87 / 96.03 2. ผลการเปรียบเทียบผลต่างของคะแนนความคิดสร้างสรรค์ก่อนเรียน และหลังเรียนของกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง ตามการประเมินด้วยแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ของทอแรนซ์และการประเมินด้วยแบบประเมินความคิดสร้างสรรค์จากชิ้นงานสอดคล้องกัน พบว่า กลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลองมีผลต่างของคะแนนความคิดสร้างสรรค์ก่อนเรียน และหลังเรียนต่างกันอย่างมีนัยทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หลังเรียนของกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง พบว่ามีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 The objectives of this research were to 1) develop art composition learning by using brain-based learning model with Synectic techniques to enhance the creativity of grade 3 students in creating work of art, 2) compare the differences of the pretest and posttest creativity results of experimental and control group, and 3) compare the achievement of experimental and control group students after learning by using brain-based learning model with Synectic techniques to enhance the creativity of grade 3 students in creating work of art. The samples used in this research were 60 of grade 3 students of Nakprasith School in the first semester, the academic year 2558. Cluster random sampling was used in order to get 2 classrooms from 8 classrooms before using simple random sampling to select a control group and an experimental group. Research instruments used in this study were 1) instructional plan on art composition learning by using brain-based learning model with Synectic techniques, 2) creativity Evaluation tool consisting of Torrance tests of creative thinking figural form A and a creative thinking evaluation tool created by the researcher, and 3) The assessment of learning outcome tool created by the researcher. Statistics used in this study were percentage, average, standard deviation, and T test (t-test independent) The result of study were as follows: 1. The efficiency E1/ E2 of art composition learning by using brain-based learning model with Synectic was 78.87 / 96.03 2. The comparison of the differences between the pretest and posttest creativity results of experimental and control group, according to the creativity evaluation tool in which consists of Torrance tests of creative thinking and a creative thinking evaluation tool created by the researcher, revealed that there was statistical significant level at .05 difference between the creativity thinking of the experimental and control group 3. The study found that after the experiment, the achievement of the control group was statistical significance higher than the control group at .05 levels.
Description: 56901315 ; สาขาทัศนศิลปศึกษา -- นิติพร ประสบพิชัย
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/785
Appears in Collections:Painting Sculpture and Graphic Arts and Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56901315 นิติพร ประสบพิชัย.pdf7.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.