Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/94
Title: การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนวัดโพรงมะเดื่อ (ศรีวิทยากร)
Other Titles: ACADEMIC ADMINISTRATION OF WATPRONGMADUA SCHOOL
Authors: เฟื่องศิลา, กิ่งแก้ว
FUENGSILA, KINGKAEW
Keywords: การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนวัดโพรงมะเดื่อ (ศรีวิทยากร)
ACADEMIC ADMINISTRATION
Issue Date: 10-May-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อทราบ 1) การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนวัดโพรงมะเดื่อ (ศรีวิทยากร) 2) แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนวัดโพรงมะเดื่อ (ศรีวิทยากร) ประชากร คือ ผู้บริหารและครูโรงเรียนวัดโพรงมะเดื่อ (ศรีวิทยากร) จานวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนวัดโพรงมะเดื่อ (ศรีวิทยากร) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก 11 ด้าน โดยเรียงลาดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย คือ การวัดผล ประเมินผลและดาเนินการเทียบโอนผลการเรียน การจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา การคัดเลือกหนังสือ แบบเรียนเพื่อใช้ในสถานศึกษา การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา การพัฒนาหรือการดาเนินการเกี่ยวกับการให้ความเห็นการพัฒนาสาระหลักสูตรท้องถิ่น การนิเทศการศึกษา การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การแนะแนว การจัดทาระเบียบและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับงานด้านวิชาการของสถานศึกษา การพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ และอยู่ในระดับปานกลาง 6 ด้าน โดยเรียงลาดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย คือ การวางแผนงานด้านวิชาการ การประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น การส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงาน สถานประกอบการและสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา การส่งเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการ การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา และการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา 2. แนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนวัดโพรงมะเดื่อ (ศรีวิทยากร) ควรดาเนินการดังนี้ ควรมีการวางแผนพัฒนาหลักสูตร โดยให้ชุมชนและท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วม มีการจัดประชุมเพื่อให้ครูมีความรู้ความเข้าใจโครงสร้างหลักสูตรก่อนนาหลักสูตรไปใช้ ส่งเสริมให้ครูจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ นาภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามาช่วยในการจัดการเรียนการสอน ส่งเสริมให้ครูมีการวัดผล ประเมินผลตามสภาพจริง ทาวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน จัดหาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยตรงกับความต้องการของครูผู้สอน ควรสร้างเครือข่ายแห่งการเรียนรู้ระหว่างโรงเรียนและชุมชน ปฏิบัติการนิเทศภายในอย่างสม่าเสมอ ควรมีแผนพัฒนาปรับปรุงการประกันคุณภาพภายใน สร้างศูนย์บริการทางวิชาการให้แก่ชุมชนและควรสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านวิชาการเพื่อแลกเปลี่ยนการบริการทางวิชาการซึ่งกันและกัน The purposes of this study were to know 1) Academic administration of Watprongmadua School and 2) the guidelines for academic administration of Watprongmadua School. The populations of this study were administrators and teachers of Watprongmadua School totally 30 respondents. The instrument was a questionnaire about the academic administration. The statistics used in data analysis were frequency (f), percentage (%), arithmetic mean (μ), standard deviation () and content analysis. The findings of this study were as follows : 1) Academic administration of Watprongmadua School in overall was rated at a high level, when considered in each aspects were found that eleven aspedts at a high level : measurement and evaluation and transfer of equivalent grades, instruction practices in school, selection books for academic, school curriculum development, developing internal assurance system and educational standard, developing the openion for local curriculum, internal supervisory, instructional development, guidance, preparation of regulations and Practicality in academic, encouraging and improve the learning resource, Six aspects were a moderate level : academic planning, cooperate in academic development with others, academic promotion and support for individual families organizations and work units and related institutions, promoting the community to strong in academic, Improving student’s quality by classroom research, and the development of instructional media innovation and technology. 2) The guidelines for academic administration development of Watprongmadua School were : planing for curriculum development, meeting to know the curriculum struction before use, teaching namely the structure of school curriculum, encouraging teacher to teach with emphasis of student centered approach and by using local wisdom, encouraging teacher to use authentic evaluation, have a classroom research improving students'quality, providing educational media and innovations appropriate with teacher's need, it should regular supervisory meeting, it should have a plan for improving internal quality assessment, creating academic center service for community, formulating academic network for exchange knowledge and academic together.
Description: 55252302 ; สาขาวิชาการบริหารการศึกษา -- กิ่งแก้ว เฟื่องศิลา
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/94
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
26.55252302 กิ่งแก้ว เฟื่องศิลา.pdf4.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.